ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,618 รายการ
ชื่อเรื่อง ภิกฺขุปาติโมกฺข (ปาติโมกข์แปล)สพ.บ. 236/2ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 74 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา -- บทสวดมนต์ พุทธศาสนา -- สังฆกรรม
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.91/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 5 x 56 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 54 (122-128) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (พระอภิธัมมสังคิรี-พระสมันตมหาปัฎฐาน) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ขอมภาษา : บาลี-ไทยบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฏฐาน)สพ.บ. 160/6ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 20 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 56.5 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์ พระอภิธรรม
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดน้อยชมภู่ ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
พระพุทธรูปนั่งปางแสดงธรรม มีพระมัสสุ
สำริด สูง ๒๓ เซนติเมตร
ศิลปะทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ (ประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว)
พบจากเจดีย์หมายเลข ๑๓ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
พระพุทธรูปนั่ง ปางแสดงธรรม พระเศียรใหญ่ พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระนาสิกใหญ่งุ้ม พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระโอษฐ์หนาอมยิ้ม มีพระมัสสุอยู่เหนือขอบพระโอษฐ์ พระกรรณยาวเจาะเป็นช่อง เม็ดพระศกเล็ก พระอุษณีษะทรงกรวย พระรัศมีรูปดอกบัวตูม ครองจีวรห่มเฉียง จีวรเรียบบางแนบพระวรกาย ขอบสบงเป็นแนวที่บั้นพระองค์ มีชายสังฆาฏิอยู่เหนือพระอังสาซ้าย พระหัตถ์ขวายกขึ้นระดับพระอุระ แสดงวิตรรกะมุทรา (ปางแสดงธรรม) พระหัตถ์ซ้ายหงายขึ้นยึดชายจีวรไว้เหนือระดับพระเพลา ประทับนั่งขัดสมาธิราบอย่างหลวมๆ พระบาทซ้ายอยู่บนพระบาทขวา
พระพุทธรูปองค์นี้แสดงถึงสุนทรียภาพและความนิยมแบบพื้นเมืองอันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะทวารวดี ได้แก่ พระขนงที่ต่อกันเป็นรูปปีกกา และการแสดงวิตรรกะมุทรา เริ่มปรากฏอิทธิพลศิลปะเขมรขึ้น เห็นได้จากรูปแบบพระพักตร์สี่เหลี่ยม และพระพุทธรูปมีพระมัสสุเหนือขอบพระโอษฐ์ นอกจากนั้นรูปแบบพระรัศมีและสังฆาฏิที่พาดเหนือพระอังสาซ้ายนั้น เป็นอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบปาละ ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๗ (ประมาณ ๙๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) ดังนั้นจึงอาจกำหนดอายุพระพุทธรูปองค์นี้ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ (ประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว)
การทำพระมัสสุหรือไรมัสสุ ในประติมากรรมสมัยทวารวดี น่าจะได้รับอิทธิพลโดยตรงจากศิลปะเขมร เนื่องจากการทำพระมัสสุนั้นมักปรากฏในกลุ่มเทวรูป และประติมากรรมภาพบุคคลหรือยักษ์ เริ่มตั้งแต่ศิลปะเขมร สมัยบาแค็ง (ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ หรือประมาณ ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว) เป็นต้นมา ทั้งนี้นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า การทำพระมัสสุหรือไรมัสสุในพระพุทธรูป อาจเกิดจากความเคยชินของช่างในการสร้างประติมากรรมที่เป็นเทวรูปก็เป็นได้
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๒.
พนมบุตร จันทรโชติ และคณะ. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๐.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
วัดฆ้องชัยเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือในเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร แผนผังของตัววัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ภายในวัดใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง อาคารสิ่งก่อสร้างที่สำคัญของวัดประกอบด้วยวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพื้นที่ ปัจจุบันเหลือเฉพาะส่วนฐานอาคารที่เป็นแบบการก่อฐานสูง โดยฐานล่างทำเป็นฐานหน้ากระดานแต่มีการยืดให้สูงถึงระดับพื้นวิหารมีระยะถึง ๓.๑๐ เมตร จนดูเหมือนเป็นผนังอาคาร เหนือฐานหน้ากระดานก่อเป็น ฐานบัวลูกแก้วอกไก่ มีมุขเด็จทั้งด้านหน้าและด้านหลัง บันไดสร้างขนาบมุขเด็จทั้งด้านหน้าและด้านหลัง วิหารมีขนาด ๙ ห้อง เสารับเครื่องบนหลังคาเป็นเสาศิลาแลงแปดเหลี่ยม ไม่ปรากฏหลักฐานของการก่อผนัง จึงสันนิษฐานว่าเป็นอาคารโถง ภายในอาคารปรากฏแท่นอาสน์สงฆ์ทางด้านทิศใต้ของผนังอาคารและมีฐานชุกชีที่ประดิษฐานชิ้นส่วนฐานพระพุทธรูปในอิริยาบถนั่งอยู่บริเวณกลางโถงอาคารวิหารระหว่างห้องที่ ๖ - ๗ เจดีย์ประธานอยู่ถัดจากวิหารไปทางด้านทิศตะวันตก มีลักษณะเป็นฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยม ต่อด้วยชั้นฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยมซ้อนกัน ๓ ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานปัทม์แปดเหลี่ยม ประกอบด้วยชั้นฐานบัวคว่ำ ชั้นท้องไม้และชั้นฐานบัวหงาย ส่วนยอดเจดีย์ที่ถัดขึ้นไปพังทลาย ไม่ปรากฏรูปทรงเดิมที่แน่ชัด ซึ่งฐานเจดีย์ประธานของวัดฆ้องชัยนั้น มีความคล้ายกับฐานเจดีย์ประธานของวัดพระนอนที่อยู่ในเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชรเช่นกัน จึงสันนิษฐานได้ว่าส่วนยอดของเจดีย์ประธานของวัดฆ้องชัยอาจมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบเดียววัดพระนอน จากการขุดแต่งทางโบราณคดีบริเวณฐานอาคารวิหารได้พบชิ้นส่วนของประติมากรรมดินเผา รูปมกร หรือมกรสังคโลก ความสูง ๑๑๐ เซนติเมตร เขียนลายสีดำบนน้ำดินสีขาว แหล่งเตาเมืองเก่าสุโขทัย มกร (Makara) เป็นคำที่ใช้เรียกในภาษาสันสกฤต ถือว่าเป็นสัตว์มงคลตามความเชื่อที่ปรากฏในตำนานเทพนิยาย โดยมีร่างกายที่เป็นการผสมกันระหว่างสัตว์บกและสัตว์น้ำ เช่น มีงวงเหมือนช้าง แต่มีปากเหมือนจระเข้และมีหางแบบปลา ในเทวตำนานของศาสนาฮินดู มกร ถือว่าเป็นพาหนะของพระวรุณ เทพเจ้าแห่งฝน ดังนั้น มกร จึงถือเป็นสัตว์ที่ใช้แทนสัญลักษณ์ของน้ำที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ประติมากรรมรูปมกรจึงมีความนิยมที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของงานสถาปัตยกรรม โดยประดับที่บริเวณราวบันได หรือชายคาของอาคาร เพื่อให้เกิดความสวยงามและสวัสดิมงคลกับอาคารนั้น ๆ ปัจจุบันประติมากรรมดินเผารูปมกร ที่พบจากวัดฆ้องชัย จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร วัดฆ้องชัยจึงเป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรที่มีความสำคัญยิ่ง จากหลักฐานของงานช่างฝีมือที่ปรากฏให้เห็นในด้านสถาปัตยกรรมและความเชื่อความศรัทธาที่ปรากฏในงานประติมากรรม ล้วนแล้วแต่เป็นประจักษ์พยานของความเจริญรุ่งเรืองในอดีตของแผ่นดินเมืองกำแพงเพชรได้เป็นอย่างดี-----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร-----------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: บริษัทบางกอก อินเฮ้าส์จำกัด, ๒๕๖๑. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๑. อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. รายงานการขุดแต่งโบราณสถาน วัดฆ้องชัย. ม.ป.ท., ๒๕๒๖.
ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๘๘
เจ้าอาวาสวัดนาจอมเทียน ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.30/1-2
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
...วันนั้น (๒๒ ตุลาคม ๒๔๕๓) บรรยากาศเงียบเหงามาก บนพระที่นั่งก็สงัด โดยปกติเวลาใกล้เที่ยงจะมีผู้คนเดินขวักไขว่ เพราะพระเจ้าอยู่หัวบรรทมตื่นแล้ว.....แต่วันนี้ไม่มีเสียงอะไรเลยแม้แต่เสียงพูดกัน ผู้เขียนได้แต่สันนิษฐานว่าคงทรงประชวรหนัก...
...ขอทวนกล่าวถึงฝ่ายผู้เขียนว่า ในระยะนั้นต้องนอนพักในเวลากลางวันเพื่อรับเวรในเวลากลางคืน เฉพาะในวันนี้หลับไม่ลงเพราะใจเป็นห่วงและทุกคนก็นั่งจับเจ่าเหงาหงอยตาจ้องไปทางชั้น ๓ ของพระที่นั่งอัมพรสถาน...
...จนพลบค่ำจึงจำเป็นต้องบังคับตัวเองให้นอน เพราะอีกไม่ช้าก็ต้องไปรับเวร ในที่สุดก็หลับไป มาตกใจตื่นเพราะมีตัวอะไรมากัดหัวแม่เท้าจนเลือดไหล พร้อมกันก็ได้ยินเสียงหนูประมาณว่าหลายสิบตัวยกขบวนกันวิ่งไปวิ่งมาเหนือฝ้าเพดานในอาคารที่ผู้เขียนอยู่.....พวกหนูยังส่งเสียงร้องกุกๆๆ ตลอดเวลา ผู้เขียนเคยได้ยินผู้ใหญ่เล่ากันว่าเมื่อหนูร้องกุกๆ จะมีเหตุไม่ดีเกิดขึ้น...
...ขณะนั้นเวลาประมาณ ๒๓ นาฬิกา เห็นจะได้ บรรยากาศเงียบสงัด.....แต่เมื่อมองไปยังพระที่นั่งอัมพรฯ ซึ่งมองเห็นพระบัญชรชั้น ๓ ถนัด ทันใดนั้นผู้เขียนก็เห็นดวงดาวหนึ่งส่องแสงสว่างลอยอยู่ในระดับเดียวกับพระแท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้เขียนคะเนได้เพราะเคยขึ้นเฝ้าเวลาเสวยเนืองๆ ดาวนี้มีแสงสว่างมากยิ่งกว่าดาวใดๆ ที่ผู้เขียนเคยเห็นและมีหางพาดยาวไปทางพระที่นั่งอนันตสมาคมคล้ายแสงไฟฉายใหญ่ๆ จึงทราบว่าเป็นดาวหางเฮลี่ (Haileys Comet) ที่โจษจันกันในขณะนั้น ผู้เขียนยืนพิงประตูไม่อาจเคลื่อนไหวได้อยู่พักหนึ่ง จึงได้สติว่าต้องไปเปลี่ยนเวร...
...ชั้น ๓ เงียบกริบ ได้ยินแต่เสียงคล้ายเสียงกรนมาจากห้องพระบรรทม.....เนื่องจากผู้เขียนไม่เคยเห็นอาการเจ็บในขณะหนัก ซึ่งภาษาสมัยใหม่เรียกว่าเข้าขั้นโคม่า ดังนั้นเมื่อได้ยินเสียงคล้ายเสียงกรนจึงนึกว่าในหลวงทรงสบายขึ้นแล้ว และกำลังบรรทมหลับสนิท จึงดีใจเป็นอันมากนึกว่าจะนอนให้สบายเสียที และได้ล้มตัวลงนอนที่ปลายพระบาทสมเด็จ.....มารู้ตัวตกใจตื่นเมื่อได้ยินเสียงร้องเซ็งแซ่.....เห็นคนจำนวนมากมายกำลังหมอบซบกับพื้นเป็นกองๆ ไม่ทราบว่าใครเป็นใคร.....เมื่อผู้เขียนทราบว่าเสียงเซ็งแซ่ข้างต้นเป็นเสียงร้องไห้ของคนจำนวนมากพร้อมๆ กัน จึงทราบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว
...ต่อมาผู้เขียนได้รับหมายให้ไปเป็นนางร้องไห้ ให้ไปตั้งแต่ ๘ โมงเช้าในวันนั้น โดยแต่งชุดขาวทั้งชุด.....ผู้เขียนได้ไปนั่งร้องไห้อยู่ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท การร้องไห้นั้นแท้จริงเป็นการร้องเพลงอย่างเศร้าที่สุด เกิดมาผู้เขียนก็เพิ่งเคยได้ยิน ขณะนั้นผู้เขียนอายุในราว ๑๙ - ๒๐ และรู้สึกว่าเพลงร้องไห้นี้ช่างเศร้าเสียนี่กระไร...
เนื้อความส่วนหนึ่งจากหนังสือ อัตชีวประวัติ หม่อมศรีพรหมา กฤดากร (สำนักพิมพ์สารคดี)
ชื่อเรื่อง อาการวตฺตสุตฺต (อาการวัตตสูตร)
สพ.บ. 371/1กประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 50 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 59 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา เทศน์มหาชาติ คาถาพัน ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
จารึกอักษรขอมจำนวน ๔ บรรทัด คำอ่าน-แปล พิมพ์เผยแพร่ในสาส์นสมเด็จ ฉบับวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕ และประชุมจดหมายเหตุ สมัยอยุธยา (ภาค ๑) พ.ศ. ๒๕๑๐ ประวัติการพบปรากฏในบันทึกเรื่องการซ่อมรักษาวัดพระศรีสรรเพชญ ในพระราชวังโบราณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕–๒๔๗๖ (เอกสารกองโบราณคดี) ความว่า “มูลเหตุที่จะซ่อมรักษา (พระเจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์) คราวนี้ เกิดขึ้นจากมีผู้ร้ายลอบขุดพระสถูปองค์กลางขึ้นก่อน ได้ของไปมาก จับตัวหัวหน้าผู้ร้ายได้ รับสารภาพ ศาลตัดสินจำคุก ๕ ปี หัวหน้าผู้ร้ายนี้เองเป็นผู้ยืนยันว่า องค์ข้างด้านตะวันออก ยังมีของบรรจุไว้ข้างในอีกมาก ทางเทศาภิบาลจึงขอให้ทางราชบัณฑิตสภาขุดค้นเสีย โดยชี้แจงว่า ถ้าทิ้งไว้ก็จะเป็นเหตุให้มีการลักขุดกันไม่หยุดหย่อน” ในการขุดค้นได้พบสถูปพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูป พระพิมพ์และวัตถุ อื่น ๆ จำนวนมาก ส่วนเจดีย์องค์กลางที่คนร้ายลักลอบขุดได้ของสำคัญ คือ จารึกลานทอง ที่คนร้ายทำตกทิ้งไว้ ความว่า “ในองค์กลางที่ผู้ร้ายลักขุดนั้น มีสถูปศิลาเช่นเดียวกัน สิ่งของที่มีราคาผู้ร้ายเอาไปหมด ทิ้งไว้แต่สถูปหินชั้นนอกเท่านั้น แต่ผู้ร้ายได้ทิ้งของสำคัญไว้อย่าง ๑ คือ ลานทองจารึกหนังสือขอม เป็นสุพรรณบัฏทรงตั้งมเหสีองค์ ๑ เป็นมงคลเทวีศรีวรแก้ว ศักราช ใช้มหาศักราช ตรงในแผ่นดินพระรามาธิบดีที่ ๒” ปัจจุบันจารึกลานทองดังกล่าว เก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา------------------------------------------------------------------ผู้เขียน : เด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ