ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,616 รายการ

           กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ เอาใจเหล่าทาสแมวทั้งหลาย ที่ไม่สะดวกหรือไม่สามารถเดินทางมาชมนิทรรศการ เรื่อง "วิฬาร์วิลาส: การเดินทางของแมวในวิถีไทย" ณ ห้องวชิรญาณ 2 - 3 สำนักหอสมุดแห่งชาติ จึงได้จัดทำนิทรรศการในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยนิทรรศการมีเนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นมาของแมว แมวในอารยธรรมต่าง ๆ แมวในประเทศไทย ความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณีไทยที่เกี่ยวกับแมว แมวในราชสำนัก แมวมงคลของไทย เอกสารโบราณว่าด้วยตำราแมว และวันสำคัญที่เกี่ยวกับแมว            ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ https://www.nlt.go.th/service/1938


วันศุกร์ที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐นกองโบราณคดีร่วมคณะอธิบดีกรมศิลปากรลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก








วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๖          บุคลากรหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ร่วมพิธีทำบุญเนื่องในโอกาสครบรอบ ๓๔ ปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันก่อตั้งหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ วันที่ ๓๑ สิงหาคม ของทุกปี ณ ห้องประชุม หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่  


แนะนำหนังสือ  ช่างฝรั่งในกรุงสยาม : ต้นแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวงช่างฝรั่งในกรุงสยาม : ต้นแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง เป็นหนังสือที่รวบรวม เกี่ยวกับช่างตะวันตกที่เข้ามารับราชการ ปฎิบัติหน้าที่สถาปนิกในกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับสถาปนิกตะวันตกที่เข้ามามีบทบาทในกรุงสยาม ได้แก่ โยอาคิม แกรซี, จอห์น คลู, สเตฟาโน คาร์ดู และ โจเซฟ ฟารันโด ซึ่งทั้ง 4 ช่างได้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรสยามในช่วงต้นของราชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงสำคัญในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย ระหว่างการรับรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก หนังสือเล่มนี้เป็นการศึกษากระบวนการของความเปลี่ยนแปลงในสถาปัตยกรรมไทยผ่านชีวิตและผลงานของช่างทั้ง 4 คน เป็นการศึกษาเบื้องต้นของการเข้าสู่ยุคใหม่ของสถาปัตยกรรมไทย ด้วยความเชื่อที่ว่าสถาปัตยกรรมเกิดขึ้นด้วยกระบวนการทางสังคม ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายปัจจัยอ่านได้ที่  ห้องหนังสือทั่วไปสอง หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่แนะนำโดย  จารุภา  อินยะบุตร


แนะนำหนังสือเรื่อง  บ้าหาเบี้ยสมัยโบราณมีการใช้เปลือกหอย เบี้ย แทนเงินตราสำหรับการซื้อขาย ก่อนจะพัฒนามาเป็นโลหะ มนุษย์รู้จักใช้โลหะเป็นสื่อแลกเปลี่ยนสินค้า ต่อมาก็พยายามจะจัดรูปแบบโลหะให้เป็นลักษณะต่างๆ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน จนไปจบลงที่ "เหรียญ" เหรียญกษาปณ์อาจกล่าวได้ว่าเป็นพัฒนาการขั้นสูงสุดของการใช้โลหะในการแลกเปลี่ยนสินค้า เฉพาะในประเทศไทย "บ้าหาเบี้ย"  เป็นหนังสือบทความของอาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว ซึ่งนำข้อมูลจากการค้นคว้า และตรวจสอบเกี่ยวกับประวัติแรกเริ่มของการใช้เหรียญในประวัติศาสตร์โลกแหล่งที่มา รูปภาพประกอบประเภทเงินตราต่างๆ ที่ใช้เป็นวัตถุในการซื้อขายในอดีตอ่านได้ที่  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่แนะนำโดย  นางสาวจารุภา  อินยะบุตร


สแกนคิวอาร์โค้ดหรือคลิกที่ลิงก์เพื่ออ่าน  e-book ค่ะhttp://164.115.27.97/digital/items/show/17515...


แนะนำหนังสือเรื่อง โทษ(ส)ถานที่อยากไป โทษ(ส)ถานที่อยากไป เป็นหนังสือที่บอกเล่าประสบการณ์ การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ อุซเบกิสถาน คาซัคสถาน อินเดีย (ในรัฐสิกขิมและรัฐอัสสัม) และ ภูฏาน ซึ่งถือว่ามีคนไปเยือนไม่มากนัก แต่เป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยสีสันวัฒนธรรมที่หลากหลายทางชาติพันธุ์ มากด้วยอารยธรรม และมิตรภาพที่อบอุ่น ควบคู่ไปกับการถ่ายทอดความรู้ทั้งทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม และชาติพันธุ์วิทยา ที่สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างทั้งทางศาสนา วัฒนธรรม และเชื้อชาติ แต่หลอมรวมและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ หาอ่านได้ที่ ห้องหนังสือทั่วไปสอง หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ แนะนำโดย จารุภา อินยะบุตร


แนะนำหนังสือเรื่อง พระมหามัยมุนี และเจดีย์สำคัญในพม่า พม่าหรือเมียนมาร์เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับอิทธิพลทางด้านพระพุทธศาสนาจากอินเดีย และนับถือพุทธศาสนามาอย่างยาวนาน จึงมีหลักฐานประจักษ์เป็นศาสนสถานเก่าแก่ และงานศิลปกรรมต่างๆ ศิลปกรรมในทางพุทธศาสนาของพม่าที่ได้รับการยกย่องว่ามีความสำคัญอย่างสูงสุด 5 แห่ง หรือที่เรียกกันว่า "5 มหาบูชาสถาน" ซึ่งประกอบด้วย 1. พระมหามัยมุนี (เมืองมัณฑเล) 2. เจดีย์ชเวดากอง (เมืองย่างกุ้ง) 3. เจดีย์ชเวมอดอ หรือพระธาตุมุเตา (เมืองหงสาวดี หรือพะโค) 4.เจดีย์ชเวซีคง (เมืองพุกาม) 5. เจดีย์ชเวสันดอ (เมืองแปร) หนังสือเล่มนี้ได้สืบค้นถึงที่มาของ "คติ 5 มหาบูชาสถาน" ดังกล่าว เบื้องต้นพบว่าน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหวทางการเมืองของพม่าเมื่อเกือบ 100 ปีมาแล้ว และสืบทอดต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน และได้อธิบายถึงมหาบูชาสถานเหล่านี้ไว้ทั้งหมด โดยได้แบ่งการอธิบายออกเป็นด้านต่างๆ คือ ด้านประวัติศาสตร์ ตำนานที่มา และศิลปกรรมอย่างเจาะลึก พร้อมเกร็ดที่น่าสนใจต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก อ่านได้ที่ ห้องหนังสือทั่วไปสอง หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ แนะนำโดย จารุภา อินยะบุตร


แนะนำหนังสือห้องเยาวชนโดยนางสาวจิรัฐิติกาล จักรคำ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาสารสนเทศศาสตร์และบรรณรักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่


Messenger