ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,320 รายการ

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.  สารานุกรมนาฏกรรมโขน.  กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยภา, 2565.  224 หน้า.  ภาพประกอบ.             จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565  ภายในเล่ม ประกอบด้วย พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯที่มีต่อการแดงโขนของไทย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนาฏกรรมโขน เรื่องรามเกียรติ์โดยสังเขป และ ชุดการแสดงจากนาฏกรรมโขน เรียงตามอักษร ก-ฮ ตั้งแต่ กา,ระบำ - โอรสทศเศียรสูงส่ง, ระบำ ท้ายเล่ม ภาคผนวก             อ           792.503           ร421ส           ฉ.02             ห้องค้นคว้า           เดือน ก.ย..66    


วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๔.๐๐ น.  นางสาวปุณณภา สุขสาคร ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ และนางวรรณภา ปะวิโน บรรณารักษ์ชำนาญการ เข้าร่วมประชุมหารือความร่วมมือด้านวิชาการร่วมกับเครือข่ายห้องสมุดประชาชนในอาเซียน ASEAN Public Libraries Information Network (APLiN) ผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting



วันอาทิตย์ที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๓๐ น. นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๒๐ คน อาจารย์ ๑ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางสาวอาภาภรณ์ เปล่งปลั่งศรี นักวิชาการวัฒนธรรม ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


วันอาทิตย์ที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. หลักสูตรภาษาไทยและการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นำนักศึกษารายวิชาคติชนวิทยา ชั้นปีที่ ๒ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม “โครงการเก็บข้อมูลภาคสนามในรายวิชาคติชนวิทยา สำหรับนักศึกษาหลักสูตรภาษาไทยและการสื่อสาร” จำนวน ๕๐ คนเข้าชมและเก็บข้อมูลในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตชาวบ้านของจังหวัดสุรินทร์ ที่มีความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยมีนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับและบรรยายให้ความรู้


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เปิดให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมนิทรรศการ ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๖ มีผู้เข้าชมทั้งสิ้น ๗๓๒ คน โดยปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙ อย่างเคร่งครัด



การขับเคลื่อนเมืองโบราณศรีเทพเข้าสู่บัญชีแหล่งมรดกโลก ​​ตามนโยบายรัฐบาลในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านวัฒนธรรม โดยเพิ่มจำนวนแหล่งมรดกโลก ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการสำรวจและผลักดันการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 - 2564 และสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยส่งเสริมบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในกรอบความร่วมมือต่าง ๆ ในเวทีโลก โดยเฉพาะอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2562 เรื่องการเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม เห็นชอบและรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้ เห็นชอบเอกสารนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพ ภายใต้ชื่อ The Ancient Town of Si Thep เพื่อบรรจุในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก และรับทราบการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการนำเสนอแห่งมรดกทางวัฒนธรรม เพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ในการเสนอเรื่องนี้คณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรมซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธาน จึงมีคำสั่งที่ 2/2563 ลงวันที่ 10 มกราคม 2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลก โดยมีนายบวรเวท รุ่งรุจี อดีตอธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานคณะทำงาน การประชุมคณะทำงานเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมกองโบราณคดี ชั้น 5 อาคารกรมศิลปากร เทเวศร์ ที่ประชุมพิจารณาคุณค่าความสำคัญของเมืองโบราณศรีเทพ มีความโดดเด่นเป็นพิเศษในประเด็น ต่อไปนี้​ 1. การเลือกชัยภูมิที่ตั้งของชุมชน การกำหนดพื้นที่ใช้สอย การพัฒนาเมืองที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 2. เป็นศูนย์รวมความหลากหลายทางความเชื่อและศาสนา 3. มีลักษณะเด่นทางศิลปกรรมอันเป็นเอกลักษณ์และมีความต่อเนื่อง จึงมีมตินำเสนอรายละเอียดบรรจุในบัญชีขั้นต้น ตามเกณฑ์ (Criteria) ที่ 2 และ 3 ดังนี้ ​เกณฑ์ที่ 2 คือ แสดงให้เห็นถึงการแลกเปลี่ยนที่สำคัญอันมีคุณค่าของมนุษย์ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งหรือภายในพื้นที่วัฒนธรรมของโลก ในการพัฒนาด้านสถาปัตยกรรม หรือทางเทคโนโลยี งานศิลปกรรมที่สำคัญ การวางผังเมือง และการออกแบบภูมิทัศน์  ​​เกณฑ์ที่ 3 คือ เป็นเอกลักษณ์ หรือเป็นประจักษ์พยานที่โดดเด่นของประเพณีวัฒนธรรมหรืออารยธรรม ที่ยังคงอยู่หรือที่สูญหายไปแล้ว   ​​คณะทำงานขับเคลื่อนการนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลก ดำเนินการจัดทำเอกสารนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพขึ้นบัญชีแหล่งมรดกโลกแล้วเสร็จและนำส่งยังศูนย์มรดกโลกเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2565 จากนั้นได้รายงานความก้าวหน้าในการประชุมคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม ครั้งที่ 1/2565 วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2565 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 8 อาคารกรมศิลปากร เทเวศร์ กรุงเทพมหานคร โดยกรมศิลปากร เตรียมพร้อมในการตรวจเมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) ได้มอบหมายให้ทาง Dr. Jigna Desai ผู้เชี่ยวชาญชาวอินเดีย เป็นผู้ตรวจประเมินด้านเทคนิคเมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ระหว่างวันที่ 12 - 17 กันยายน 2565 และในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 ระหว่างวันที่ 10 - 25 กันยายน 2566 ณ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) ในฐานะองค์กรที่ปรึกษาจะได้เสนอให้เมืองโบราณศรีเทพ ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม จนกระทั่งที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 ที่ขยายออกมา พิจารณาให้ความเห็นชอบให้เมืองโบราณศรีเทพเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมซึ่งมีคุณค่าอันโดดเด่นเป็นสากลตามเกณฑ์ (ii) และ (iii) ในวันอังคารที่ 19 กันยายน 2566 จึงเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 4 ซึ่งเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของประเทศไทยในรอบ 30 ปี



           วันอังคารที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ น. พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เป็นประธานแถลงข่าวการประกาศขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพ  เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยมีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม ร่วมแถลงข่าว ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร             องค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ได้ประกาศให้เมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๔๕ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๐ – ๒๕ กันยายน ๒๕๖๖ ณ กรุงริยาร์ด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เนื่องจากคุณค่าอันโดดเด่นเป็นสากล กล่าวคือ เมืองโบราณศรีเทพเป็นเมืองสำคัญสมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ หรือประมาณ ๑,๐๐๐ - ๑,๔๐๐ ปี แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการสำคัญทางประวัติศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเวลาดังกล่าว รวมพื้นที่นำเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลก จำนวน ๘๖๖.๔๗๑ เฮกตาร์ หรือประมาณ ๕,๔๑๕ ไร่ ประกอบด้วยแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม ๓ แหล่ง ที่มีความเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กัน    มีความครบถ้วน สมบูรณ์ และคงความเป็นของแท้ดั้งเดิม ได้แก่ เมืองโบราณศรีเทพ โบราณสถานเขาคลังนอก และโบราณสถานถ้ำเขาถมอรัตน์ ภายใต้คุณค่าตามเกณฑ์ของยูเนสโก ประกอบด้วย เกณฑ์ข้อที่ ๒ แสดงถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนคุณค่าของมนุษย์ในช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง หรือพื้นที่ในวัฒนธรรมใด ๆ ของโลก ผ่านการพัฒนาด้านสถาปัตยกรรม หรือทางเทคโนโลยี การวางแผนผังเมืองหรือการออกแบบภูมิทัศน์ และเกณฑ์ข้อที่ ๓ เป็นพยานหลักฐานที่ยอดเยี่ยม หรือหาที่เสมอเหมือนไม่ได้ของประเพณี วัฒนธรรม หรือวัฒนธรรมที่ยังคงอยู่ หรือสูญหายไปแล้ว             พล           ตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ในฐานะหน่วยประสานงานกลางอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ได้ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม เสนอเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลก และในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๔๕ ณ กรุงริยาร์ด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ของไทย  โดยเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ ๗ ของไทย ถือเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง การขับเคลื่อนแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ เป็นแหล่งมรดกโลก จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการหวงแหน และอนุรักษ์ทรัพยากรที่เป็นทุนที่สำคัญที่สร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ และก่อให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ด้านการท่องเที่ยว ผมขอส่งต่อความยินดีในครั้งนี้กับทุกภาคส่วน และขอเชิญชวนให้ทุกคนไปสัมผัสความสวยงามของเมืองโบราณศรีเทพ แหล่งมรดกโลกแห่งใหม่ของไทย            นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช กล่าวว่า การที่เมืองโบราณศรีเทพ ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลก ทางวัฒนธรรมโดยองค์การยูเนสโกในครั้งนี้ ทำให้ประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นเป็น ๔ แหล่ง ได้แก่ นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกในพุทธศักราช ๒๕๓๕ นับเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี แหล่งมรดกวัฒนธรรมของประเทศไทย คือ เมืองโบราณศรีเทพจึงได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกอีกครั้ง ภารกิจของรัฐบาล ยังไม่สิ้นสุดเพียงการเฉลิมฉลองการประกาศให้เมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลกเท่านั้น กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ได้จัดทำแผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เพื่อรองรับการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองโบราณศรีเทพภายหลังจากการได้รับการประกาศเป็นมรดกโลก โดยแผนฯ ดังกล่าวได้ผ่านการทำประชาพิจารณ์ และการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชนในพื้นที่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะครอบคลุม ทั้งเรื่องการอนุรักษ์ การปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม แผนบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว การจัดทำแผนชุมชนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นในด้านการอนุรักษ์           ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ได้ประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๔ กันยายน ๒๕๖๖ นอกจากนี้ยังจัดแสดงนิทรรศการ เรื่อง ศรีเทพกับมรดกโลก ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๖ ถึง ๑๔ มกราคม ๒๕๖๗ เพื่อเผยแพร่เรื่องราว คุณค่า และความสำคัญของเมืองโบราณศรีเทพ ให้ประชาชนคนไทยทุกคน ตลอดจนนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ร่วมเฉลิมฉลองการประกาศขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลกในครั้งนี้  



           กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “การศึกษางานโบราณคดีในต่างประเทศกับการพัฒนางานโบราณคดีในประเทศไทย” วิทยากร นายธีรศักดิ์ ธนูศิลป์ นักโบราณคดีชำนาญการ กองโบราณคดี ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร  บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ขอเชิญสักการะ พระคเณศ ๑,๔๐๐ ปี เนื่องในเทศกาล "วันคเณศจตุรถี" ตั้งแต่วันที่ ๒๐ - ๒๘ กันยายน ๒๕๖๖ ซึ่งวันคเณศจตุรถี เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองวันประสูติของพระคเณศ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นวันที่พระคเณศจะทรงเสด็จลงมายังโลกมนุษย์ เพื่ออวยพรแก่ผู้เลื่อมใสที่ทำพิธีบูชาพระองค์            สำหรับพระคเณศแห่งเมืองศรีมโหสถนี้ พบที่โบราณสถานหมายเลข ๒๒ กลางเมืองศรีโหสถ อายุกว่า ๑,๔๐๐ ปี พระคเณศ เป็นเทพเจ้าซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมนับถือมากในศาสนาฮินดูในฐานะเทพแห่งอุปสรรค ที่ชาวฮินดูเมื่อจะประกอบพิธีทางศาสนา จะต้องบูชาพระคเณศก่อน พระคเณศ จึงกลายเป็นเทพแห่งความรู้และความเฉลียวฉลาด เทพอักษรศาสตร์และวรรณคดี และเทพแห่งศิลปวิทยา            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี เปิดให้เข้าชม วันพุธ ถึงวันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. (หยุด วันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. ๐๓๗ ๒๑๑ ๕๘๖


วันอังคารที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๑๕.๐๐ น. พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ   รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานคณะกรรมการ  แห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เป็นประธานแถลงข่าวการประกาศขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพ  เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยมีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม อธิบดีกรมศิลปากร รองอธิบดีกรมศิลปากร ร่วมแถลงข่าว ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  องค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ได้ประกาศ  ให้เมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๔๕ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๐ – ๒๕ กันยายน ๒๕๖๖ณ กรุงริยาร์ด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ประกอบด้วยแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม ๓ แหล่ง ที่มีความเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กัน มีความครบถ้วน สมบูรณ์ และคงความเป็นของแท้ดั้งเดิม ได้แก่ เมืองโบราณศรีเทพ โบราณสถานเขาคลังนอก และโบราณสถานถ้ำเขาถมอรัตน์ ภายใต้คุณค่าตามเกณฑ์ของยูเนสโก ประกอบด้วย เกณฑ์ข้อที่ ๒ แสดงถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนคุณค่าของมนุษย์ในช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง หรือพื้นที่ในวัฒนธรรมใด ๆ ของโลก ผ่านการพัฒนาด้านสถาปัตยกรรม หรือทางเทคโนโลยี การวางแผนผังเมืองหรือการออกแบบภูมิทัศน์ และเกณฑ์ข้อที่ ๓ เป็นพยานหลักฐานที่ยอดเยี่ยม หรือหาที่เสมอเหมือนไม่ได้ของประเพณี วัฒนธรรม หรือวัฒนธรรมที่ยังคงอยู่ หรือสูญหายไปแล้ว   พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม     ในฐานะหน่วยประสานงานกลางอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ได้ดำเนินการขับเคลื่อนแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติเป็นมรดกโลกมาอย่างต่อเนื่อง ครั้งนี้ ได้ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม เสนอเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลก และในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๔๕ ณ กรุงริยาร์ด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ของไทย  โดยเมืองโบราณศรีเทพ เป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ ๗ ของไทย ถือเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ที่ประเทศไทยได้มีแหล่งมรดกโลกแห่งใหม่อย่างต่อเนื่อง ต่อจากพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน การขับเคลื่อนแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ เป็นแหล่งมรดกโลก จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการหวงแหน และอนุรักษ์ทรัพยากรที่เป็นทุนที่สำคัญที่สร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ และก่อให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ด้านการท่องเที่ยว ผมขอส่งต่อความยินดีในครั้งนี้กับทุกภาคส่วน และขอเชิญชวนให้ทุกคน ไปสัมผัสความสวยงามของเมืองโบราณศรีเทพ แหล่งมรดกโลกแห่งใหม่ของไทย


  บรรณานุกรม รายชื่อหนังสือสถาบันพระปกเกล้าใหม่ ห้องค้นคว้า เดือน สิงหาคม 2566    หมวด 300  สังคมศาสตร์ นิยม รัฐอมฤต.  การเสริมสร้างพรรคการเมืองให้เข้มแข็งเป็นสถาบันของประชาชน.             กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2564.  ( 324.2 น641ก ) สถาบันพระปกเกล้า.  ความท้าทายธรรมาภิบาลศตวรรษที่ 21.  กรุงเทพฯ: สถาบัน, 2564.            ( 351.593 ป159ค )   @@@@@@@@@@