ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,664 รายการ
“ล้านนา” ดินแดนที่มีอาณาเขตอยู่บริเวณแถบภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมขอบเขต ๘ จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน เป็นอาณาจักรที่มีความเป็นมาและประวัติศาสตร์อันยาวนาน ถือเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง ด้วยพบหลักฐานวัตถุทางวัฒนธรรม ทั้งเครื่องมือเครื่องใช้และผลงานศิลปกรรมตามแหล่งโบราณคดีต่างๆ รวมถึงมีวัฒนธรรมและประเพณีพื้นเมืองที่สะท้อนให้เห็นถึงศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของท้องถิ่น หรือที่เรียกว่า ศิลปวัฒนธรรมล้านนา อันเป็นภูมิปัญญาของคนล้านนา ด้วยความเจริญรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมล้านนาจากอดีตกาลจนถึงปัจจุบัน เอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นอย่างหนึ่งที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งนับว่าเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาติคือ งานช่างล้านนา จากการศึกษาเอกสารโบราณทางประวัติศาสตร์ กฎหมาย ศาสนา ภาษาและวรรณกรรม ทั้งจารึก พงศาวดาร ตำนาน คัมภีร์ใบลาน และวรรณกรรมพื้นบ้าน ปรากฏหลักฐานว่ามีการกล่าวถึงวิชาชีพช่างและงานช่างฝีมือหลายแขนงของล้านนาโบราณ
"ช่างล้านนา" ถือเป็นวิชาชีพที่มีมาตั้งแต่โบราณ ดังจะเห็นได้จากหลักฐานที่ปรากฏในเอกสารโบราณ ทั้งจารึก พงศาวดาร ตำนาน คัมภีร์ใบลาน และวรรณกรรมพื้นบ้านมากมาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของช่างในสังคมล้านนาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน นับเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอันเป็นสมบัติล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ สั่งสม และสืบทอดมาถึงคนรุ่นต่อรุ่น ที่ควรค่าแก่การสืบทอดและรักษาให้องค์ความรู้ภูมิปัญญาของช่างล้านนาทั้งในอดีตและปัจจุบันนี้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืน เพราะงานช่างล้านนาไม่ได้แค่อาชีพของคนในท้องถิ่นเท่านั้น หากแต่ยังเป็นองค์ความรู้และภูมิปัญญาดั้งเดิมที่สะท้อนอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะของท้องถิ่นและประเทศชาติด้วยเช่นกัน
เรียบเรียงโดย นางสาวสุคนธ์ทิพย์ จันทะลุน บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
จันทบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติมากมาย ทั้งน้ำตก ทะเล หาดทราย เมื่อตอนที่แล้วได้แนะนำ หาดทรายที่สวยงาม คือ หาดคุ้งวิมาน มีอีก 2 หาดที่อยู่ในระยะทางไม่ไกลจากหาดคุ้งวิมานมากนัก คือ หาดแหลมเสด็จ และ หาดจ้าวหลาว หาดแหลมเด็จ เป็นหาดทรายขาวสะอาดยางเหยียดสุดสายตา เป็นหาดทรายต่อเนื่องกับหาดคุ้งวิมาน อยู่ในท้องที่ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ แยกจากถนนสุขุมวิทไปตามเส้นทางเดียวกับหาดคุ้งวิมาน เมื่อเข้าไปประมาณ 16 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกแยกซ้ายมือไปแหลมเด็จอีก 11 กิโลเมตร เมื่อเข้าไปได้ประมาณ 3 กิโลเมตร เส้นทางจะวกวนขึ้นไหล่เขา มองเห็นพื้นดินที่เรียกว่า “แหลมเสด็จ” ยื่นออกไปในทะเล แบ่งทะเลออกเป็น 2 ด้าน ด้านซ้ายเป็นชายหาด เรียกแหลมเสด็จ ด้านขวาเป็นคุ้งน้ำเวิ้งว้างกว้างใหญ่เรียกว่า “อ่าวคุ้งกระเบน” สุดปลายแหลมเสด็จจะมีภูเขาขนาดกลางปิดสกัดปลายแหลมไว้ หาดแหลมเสด็จมีความยาวต่อเนื่องกับหาดจ้าวหลาว นับความยาวรวมกันได้ 10 กิโลเมตร หาดทรายทางด้าน แหลมเสด็จจะชัน เล็กน้อย และจะค่อยๆลาดออกไปในทะเลจนถึงหาดจ้าวหลาว หาดจ้าวหลาว เป็นหาดทรายขาวสวยที่น้ำจะใสกว่าหาดแหลมเสด็จ ทรายสะอาดเป็นสีแดง ชาวจันทบุรีนิยมมาพักผ่อนกันมากโดยเฉพาะในวันหยุดสุดสัปดาห์ หาดจ้าวหลาวมีรีสอร์ทที่พักมาก มีถนนเลียบทะเลตลอดจนไปสุดปลายทางที่ปากน้ำแหลมสิงห์ หาดทั้งสองหาดนี้เหมาะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ มีบรรยากาศเงียบสงบ จะกางเต๊นท์พักแรมในยามค่ำคืนก็ได้ ----------------------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี___________________________________________________________________
ชื่อเรื่อง นิราศเมืองเพชรของสุนทรภู่ ผู้แต่ง สุนทรภู่ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณคดีเลขหมู่ 895.9112 ส798นลสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์รุ่งเรื่องธรรมปีที่พิมพ์ 2504ลักษณะวัสดุ 36 หน้าหัวเรื่อง นิราศภาษา ไทย บทคัดย่อ/บันทึกกล่าวถึงเมืองเพชร สุนทรภู่ได้รับคำสั่งให้ไปหาสิ่งของที่เมืองเพชรบุรี สุนทรภู่จึงแต่งนิราศเมืองเพชร
ชื่อเรื่อง ภตฺตทนานิสํสกถา (ฉลองตักบาตร)
สพ.บ. 353/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา พระพุทธเจ้า ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (ปุคฺคลปญฺญตฺติ-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.48/1-7ค
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.247/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 5 x 58.5 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 115 (203-216) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : สิงฺคาลสุตฺต(สิงคาลสูตร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เมืองศรีมโหสถ เมืองโบราณในจังหวัดปราจีนบุรีที่มีพัฒนาการตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๑ หรือกว่า ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว ร่วมสมัยกับวัฒนธรรมฟูนัน ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกง ติดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ศรีมโหสถจึงเป็นทั้งเมืองท่าการค้าที่ติดต่อกับดินแดนโพ้นทะเล ศูนย์กลางการคมนาคมของบ้านเมืองตอนใน และเมืองชายฝั่งทะเลใกล้เคียง เมืองโบราณแห่งนี้จึงมีความหลากหลายในด้านศิลปวัฒนธรรม และความเชื่อทางศาสนา ที่เดินทางมาพร้อมกับผู้คนจากต่างแดน ทั้งนี้ พบหลักฐานในการประดิษฐานพระพุทธศาสนา และศาสนาฮินดูที่เก่าแก่ที่สุดเป็นลำดับต้นของประเทศไทย ดังนี้ รอยพระพุทธบาทคู่ที่เก่าที่สุด รอยพระพุทธบาทคู่ โบราณสถานสระมรกต ตำบลโคกไทย อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรีประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๓ (๑,๓๐๐ - ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว) รอยพระพุทธบาทคู่สลักลึกลงในพื้นศิลาแลง ลักษณะฝ่าพระบาทเสมือนรอยเท้ามนุษย์จริงตามธรรมชาติ ทั้งรูปร่างและความยาวของนิ้วพระบาทที่ไม่เสมอกัน กึ่งกลางรอยพระพุทธบาทสลักเป็นรูปธรรมจักรมีกากบาทไขว้ ตรงจุดตัดกากบาทเป็นหลุมสันนิษฐานว่าเป็นหลุมสำหรับปักฉัตร กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๓ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นรอยพระพุทธบาทคู่ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง และเป็นร่องรอยหลักฐานการนับถือพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งทั้งในเมืองศรีมโหสถ และดินแดนประเทศไทย พระพุทธรูปที่เก่าที่สุด พระพุทธรูปปางสมาธิ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑- ๑๒ (๑,๔๐๐ – ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว) พระพุทธรูปปางสมาธิแกะสลักจากหินทราย พบในบ่อน้ำหน้าอาคารประดิษฐานรอยพระพุทธบาท โบราณสถานสระมรกต ตำบลโคกไทย อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ลักษณะของพระพักตร์ และองค์พระพุทธรูปมีรูปแบบที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมฟูนันและศิลปะอินเดียแบบอมราวดี พระคเณศที่เก่าที่สุด พระคเณศหินทราย ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๒ (๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว) พระคเณศ เทพเจ้าสำคัญองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์ และฮินดู เป็นโอรสของพระศิวะ กับนางปารวตี (พระอุมา) มีลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแตกต่างจากเทพเจ้าองค์อื่น คือ มีเศียรเป็นช้างขณะที่ร่างกายเป็นมนุษย์ พระคเณศ ได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าผู้รอบรู้ และได้รับการยอมรับนับถือในฐานะ เทพเจ้าแห่งศิลปวิทยา และเทพเจ้าแห่งอุปสรรค ผู้สร้างและขจัดอุปสรรคทั้งปวง พระคเณศศิลาองค์นี้ พบเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๑๕ จากโบราณสถานหมายเลข ๒๒ หรือโบราณสถานกลางเมืองศรีมโหสถ เมืองโบราณสมัยทวารวดี พระคเณศลักษณะเหมือนช้างธรรมชาติและไม่ทรงเครื่องประดับ เทียบรูปแบบได้กับพระคเณศสมัยก่อนเมืองพระนครในศิลปะเขมร อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ถือได้ว่าพระคเณศองค์นี้ เป็นพระคเณศที่เก่าแก่องค์หนึ่งในบรรดาพระคเณศที่พบในประเทศไทย และมีขนาดสูงที่สุด คือ ราว ๑.๗๐ เมตร-----------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นางสาววัชรี ชมภู ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี-----------------------------------------------------------
ชื่อเรื่อง : พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 1 ชื่อผู้แต่ง : พระยาทิพากรวงศ์, เจ้า ปีที่พิมพ์ : 2504 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาจำนวนหน้า : 230 หน้า สาระสังเขป : พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 1 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เล่มนี้ มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 3 และพระราชประวัติ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2367-2381
“…ส่วนตัวเมืองนครราชสีมานั้น ก็มีความเชื่อใจว่า #ถ้าไม่ตายเสียก่อนคงจะได้ไปเห็น เป็นการแน่ใจมากกว่าประเทศยุโรป ซึ่งไม่เชื่อว่าโรคภัยไข้เจ็บจะปล่อยให้ไปได้..”
.
พระราชหัตถเลขาที่กล่าวถึงข้อความดังกล่าว ระบุปี รัตนโกสินทรศก ที่ ๑๑๐ หรือตรงกับ ปี ๒๔๓๔ ซึ่งทุกท่านๆ ทราบหรือไม่ ? ครับ ว่าจริงๆแล้ว หลังจากนั้น ๖ ปี ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จไปทวีปยุโรปเป็นครั้งเเรก ในปี ๒๔๔๐ ก่อนจะได้เสด็จมา #เมืองนครราชสีมา ของเราเสียอีก
.
หลังจากเสด็จกลับจากยุโรปได้ ๓ ปี พระองค์พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์จึงได้เสด็จพระราชดำเนิน เมืองนครราชสีมา ในคราวเปิด เปิดทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีระยะทางทั้งสิ้น ๒๖๕ กิโลเมตร งบประมาณรวมทั้งสิ้น ๑๗,๕๘๕,๐๐๐ บาท ในวันที่ ๒๑ธันวาคม ปี ๒๔๔๓ โดยเดินทางถึงเมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นศูนย์กลางมณฑลลาวกลาง ในช่วงเย็นของวันเดียวกัน และประทับพักแรมเพื่อตรวจราชการ เยี่ยมเยี่ยนราษฎร ตลอดจนทอดพระเนตรโบราณสถาน จนถึงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ปี ๒๔๔๓ จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับพระนคร โดยรถไฟ รวมเวลากว่า ๔ วัน ๓ คืน ซึ่งการเสด็จพระราชดำเนินมาเมืองนครราชสีมาในครั้งนี้ นับเป็น #ครั้งแรกและครั้งเดียวตลอดรัชสมัย จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปี ๒๔๕๓
.
การเสด็จพระราชดำเนินเมืองนครราชสีมาในครั้งนี้ นอกเหนือจากพระราชภารกิจตรวจราชการส่วนราชการต่างๆ และเยี่ยมเยียนพสกนิกร แล้ว พระองค์ยังเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโบราณสถานหลายแห่ง อาทิ ศาลหลักเมือง วัดกลางนคร (วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร) สถานพระนายณ์ รวมไปถึง กำแพงเมือง ประตูเมือง ซึ่งอยู่ในเขตเมืองนครราชสีมาแล้ว ในวันที่ ๒๔ ธันวาคม ปี ๒๔๔๓ พระองค์ เหล่าพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพารได้เสด็จพระราชดำเนินไปยัง โบราณสถานปราสาทพนมวัน ซึ่งตั้งอยู่นอกเมืองนครราชสีมาด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นระยะทางกว่า ๑๕ กิโลเมตร
.
โดยรายละเอียดการเดินทางดังกล่าวถูกบันทึกไว้ ความว่า “… #แล้วเสด็จทรงม้าพระที่นั่งไปประพาสวัดพนมวัน ทอดพระเนตรอันเป็นของโบราณ ทำด้วยศิลาแลงแท่งใหญ่ๆ ประดับซ้อนขึ้นไป แล้วทรงจารึกพระบรมนามาภิไธยเป็ยอักษรย่อ จ.ป.ร. ในแผ่นศิลาฝาผนังวิหาร และมีอักษรว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประพาส เมื่อ รัตนโกสินทรศก ๑๑๙” แลลงวันตามจันทรคติ วัน ๒ เดือน ๒ ขึ้น ๔ ค่ำ พุทธศักราช ๒๔๔๓
.
ซึ่งแม้ในขณะนี้ เราจะยังไม่พบภาพถ่ายเก่าเพื่อยืนยันเหตุการณ์ให้ชัดเจนในคราวล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนินในช่วงเวลานั้น แต่จารึกพระปรมาภิไธยย่อ พร้อมด้วยข้อความดังกล่าว เป็นประจักษ์พยานถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ชัดเจนเป็นอย่างดี เพราะการจารึกในลักษณะปรากฏในอีกหลายสถานที่ที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปถึง
.
ด้วยเพราะกิจการรถไฟ จึงทำให้ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5
ได้เสด็จพระราชดำเนิน เมืองนครราชสีมา ได้ตามพระราชประสงค์ และยังได้เสด็จทอดพระเนตรปราสาทพนมวัน ในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยอีกด้วย ดังที่กล่าวไปแล้วในข้างต้นว่าการเสด็จพระราชดำเนินเมืองนครราชสีมาของพระองค์ในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวตลอดรัชสมัย
นับตั้งแต่วันที่ ๒ เมษายน ปี ๒๕๖๔ เป็นต้นมา กรมศิลปากร ได้เริ่ม เปิดจำหน่ายบัตรเข้าชมโบราณสถานปราสาทพนมวันเป็นครั้งแรก ในราคา ๑๐ บาท สำหรับชาวไทย และราคา ๕๐ บาท สำหรับชาวต่างชาติ หากมีโอกาสแวะเวียนมายังเมืองนครราชสีมา ก็อยากให้เข้ามาเยี่ยมชมกับนะครับ เพราะในปัจจุบันได้ดำเนินการบูรณะด้วยวิธีอนัสติโลซิส เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา
แหล่งอ้างอิง
พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทาน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงใหญ่เมืองนครราชสีมา ร.ศ.110 หรือ พ.ศ.2434
กรมศิลปากร, รวมเรื่องเมืองนครราชสีมา เรื่อง การเสด็จพระราชดำเนินเปิดทางรถไฟ (กรุงเทพฯ: พระนคร, 2511), น. 104-116.