ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,759 รายการ
ประยุทธ สิทธิพันธ์. แผ่นดินพระมงกุฎเกล้าฯ. พิมพ์ครั้งที่ ๑. พระนคร : สำนักพิมพ์ธรรมเสวี, ๒๕๐๐. ๗๑๙ หน้า.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพัชรินทราบรมราชินี พระพันปีหลวง ประสูติ ๑ มกราคม ๒๔๒๓ และสวรรคตเมื่อ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ มีพระราชหฤทัยที่เที่ยงธรรมสุจริต สำเร็จการศึกษาวิชาพลเรือนจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และการทหารบกจากโรงเรียนแซนเฮิสต์ ประเทศอังกฤษ มีพระปรีชาสมารถทางอักษรศาสตร์และวรรณคดี ๒๐๐ กว่าเรื่อง จึงปรากฎพระนาม “ธีรราช” และมีนามปากกาอีกหลายชื่อ เช่น รามจิตติ อัศวพาหุ ศรีอยุธยา พันแหลม น้อยลา และนายแก้วนายขวัญ ทรงทำนุบำรุงด้านการทหาร การเมือง การเสือป่า และลูกเสือ และการศึกษา จัดตั้ง”จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” พระราชนิพนธ์ที่รู้จักกันทั่วไป เช่น เสือป่า ปลุกใจเสือป่า หัวใจนักรบ เมืองไทยจงตื่นเถิด มัทนพาธา เสด็จเยี่ยมราษฎรตามหัวเมืองทุกหัวเมือง และยังเสด็จมลายู สิงคโปร์ ทรงโปรดสุนัข “ย่าเหล” ซึ่งถูกยิงตาที่นอกประตูพระบรมมหาราชวังด้านวัดพระเชตุพน เกิดคณะปฏิวัติที่ต้องการเปลี่ยนการปกครอง ชื่อว่า “คณะปฏิวัติ ร.ศ.๑๓๐” และวางแผนปลงพระชนม์เมื่อคราวเสด็จกลับจาการซ้อมรบที่สนามจันทร์แต่ปฏิวัติไม่สำเร็จ เมื่อคราวสงครามโลกได้นำชาติไทยเข้าสงครามค่ายพันธมิตร และทรงต้อนรับจอมพลออฟเฟร็ด ผู้บัญชาการกองทัพทั่วไปคนแรกของสัมพันธมิตร สนพระทัยในเรื่องโขนและเป็นยุคที่โขนรุ่งโรจน์สุดขีด คนไทยอาศัยคนจีนทำงานเพราะเป้นคนขยันอดทน ทรงออกหนังสือพิมพ์ “ดุสิตสมิต” ทรงตั้งดุสิตธานีขึ้นตามพระมโนคติ เพื่อให้คนไทยได้เห็นระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย
หนังสือดีน่าอ่าน
หนังสือ “พระพุทธรูปปางต่าง ๆ” จัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร (พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ.๒๕๕๘) ให้ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธรูปปางต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น ๗๐ ปาง เช่น ปางมหาภิเนษกรมณ์ ปางมารวิชัย ปางนาคปรก ปางปฐมเทศนา ปางห้ามสมุทร และปางประทานพร โดยการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูป ซึ่งสร้างขึ้นตามเหตุการณ์ต่างๆ ในพระพุทธประวัติ รวมทั้งการคลี่คลายคติความเชื่อในการสร้างพระพุทธรูปจากอินเดียมาสู่ไทยและพุทธศิลป์ที่ปรากฏในไทยที่มีพัฒนาการมาถึงปัจจุบัน
สามารถดาวน์โหลดหนังสือในรูปแบบ PDF ได้ที่ : https://www.finearts.go.th/.../O5Ng4jpONBGmwqJQIHnqKZu4rB...
เปียโน เป็นเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด (Keyboard Instruments) มีลิ่มนิ้วหรือแป้นนิ้วสำหรับเคาะหรือดีดให้ค้อนไปตีสาย ทำให้เกิดเป็นเสียงขึ้นมา พัฒนามาจากเครื่องดนตรีในสมัยก่อนหลายชนิดมาประกอบเข้าด้วยกัน เช่น พัฒนาระบบสายมาจากคลาวิคอร์ด รูปร่างและระบบแป้นนิ้วจากฮาร์ฟสิคอร์ด ความพิเศษของเปียโนนั้นสามารถทำให้เสียงดังขึ้นและเบาลงได้ในตัวเอง จึงเป็นที่มาของชื่อเดิมที่เรียกว่า Piano Forte เปียโนหลังแรกดัดแปลงและประดิษฐ์โดย บาโตลัมมิโอ คริสโตเฟอรี่ (Bartolommeo Cristofori, ๑๖๕๕ – ๑๗๓๐) ชาวอิตาลี ภายหลังได้พัฒนาไปเป็นเปียโนขนาดต่างๆ มีการสร้างขึ้นเพื่อความสวยงามตระการตา เพื่อใช้เป็นทั้งเครื่องดนตรีและเครื่องประดับตกแต่งบ้าน สำหรับประเทศไทยนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนว่ามีการนำเปียโนเข้ามาเมื่อ ยุคสมัยใด แต่ก็พบหลักฐานว่าในสมัยรัชกาลที่ ๔ มิชชันนารีได้มีการนำเปียโนเข้ามาใช้กันแล้ว สมัยนั้นคนไทยเรียกกันว่า “หีบเพลง” หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร สำนักหอสมุดแห่งชาติ เก็บรักษาเครื่องดนตรีที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ไว้หลายชนิด หนึ่งในนั้นคือ “เปียโนจุฑาธุช” หรือเปียโนคู่ (Double Piano) ซึ่งเป็นเปียโนที่มีความเก่าแก่และหายาก มีอายุมากกว่าร้อยปี แม้พิพิธภัณฑ์ เครื่องดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุโรปหลายแห่ง เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และเนเธอร์แลนด์ ก็ไม่พบว่าได้เก็บรักษาและจัดแสดงเปียโนลักษณะดังกล่าวนี้ไว้ เปียโนคู่หลังนี้ เดิมเป็นพระราชทรัพย์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย พระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ ๖ จึงนิยมเรียกว่า “เปียโนจุฑาธุช” ทรงสั่งซื้อเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ ๒๔๕๙ เพื่อใช้เป็นการส่วนพระองค์เมื่อครั้งยังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และได้นำขนส่งทางเรือมายังประเทศไทยเมื่อท่านได้สำเร็จการศึกษาแล้วภาพโฆษณา Piano-Double Pleyel จากนิตยสาร “L’illustration” ในปี ค.ศ. ๑๘๙๗ เป็นเปียโนคู่ที่ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรโดย Gustave Lyon ลักษณะรูปทรงของเปียโนคู่จากภาพโฆษณานี้ มีความใกล้เคียงกับเปียโนจุฑาธุชเป็นอย่างมาก เปียโนจุฑาธุช เป็นหนึ่งในเปียโนที่ผลิตขึ้นเป็นคอลเลคชันพิเศษของเพลเยล (Pleyel) กล่าวกันว่าผลิตขึ้นเพียง ๘ หลังเท่านั้น โดยแต่ละหลังจะมีหมายเลขกำกับ ซึ่งหมายเลขของเปียโนคู่หลังนี้ คือหมายเลข ๑๕๒๙๑๙พัฒนาขึ้นโดย กุสตาฟว์ ลิญง (Gustave Lyon) นักประดิษฐ์เปียโนและผู้สืบทอดกิจการผลิตเปียโนของเพลเยล โดยมีแนวคิดในการออกแบบเปียโนเพื่อให้นักเปียโนสองคนสามารถบรรเลงเปียโนตัวเดียวกันพร้อมกันได้ เปียโนคู่หลังนี้คาดว่าผลิตในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๓๙ (ค.ศ. ๑๘๙๖) ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยบริษัทเพลเยล (Pleyel Company) ผู้มีชื่อเสียงในการผลิตเปียโนให้นักดนตรีชั้นนำระดับโลกมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๕๐ (ค.ศ. ๑๘๐๗) อาทิ Chopin, Debussy, Grieg, Mendelssohn, Ravel เป็นต้น ลักษณะพิเศษของเปียโนคู่หลังนี้คือเป็นเปียโนหลังเดียวแต่มีสองหน้า มีสายสองชุดที่ขึงแบบไขว้ โดยใช้ซาวน์บอร์ด (Soundboard) ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้กระจายเสียงของเปียโนร่วมอยู่ในโครงเปียโนเดียวกัน เมื่อพิจารณาจากลักษณะภายนอกคล้ายกับการนำเปียโนสองหลังมาหันหน้าชนกัน ผู้เล่นนั่งเล่นกันคนละฝั่ง โดยหันหน้าเข้าหากันลักษณะของสายสองชุดที่ขึงแบบไขว้ ภายในเปียโนคู่ ใช้ซาวน์บอร์ด (Soundboard) ร่วมในโครงเปียโนเดียวกัน ภายหลังเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลกฯ ทรงสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ จึงโปรดฯ ให้นำเปียโนหลังนี้ไปเก็บไว้ที่วังพญาไท ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งแผนกเครื่องสายฝรั่งหลวงขึ้นในกรมมหรสพหลวง ที่สวนมิสกวัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ จึงพระราชทานเปียโนคู่นี้ให้แก่วงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวงเพื่อใช้ในกิจการของวง โดยศาสตราจารย์พระเจนดุริยางค์เป็นผู้รับสนองพระราชดำริและใช้สอนถ่ายทอดวิชาดนตรีให้แก่ศิษย์ และได้ดูแลสืบเนื่องต่อกันมาตั้งแต่ครั้ง วงเครื่องสายฝรั่งหลวงขึ้นอยู่กับกรมมหรสพ จนมาเป็นวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร เปียโนหลังนี้จึงตกทอดเป็นสมบัติของกรมศิลปากร ใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนวิชาดนตรีสากลในโรงเรียนนาฏศิลป์อยู่ระยะหนึ่ง และต่อมาถูกส่งมอบให้อยู่ในความดูแลของกองการสังคีต ภายหลังเปียโนมีสภาพชำรุดทรุดโทรมมากจนไม่สามารถ ใช้การได้ จึงนำไปเก็บรักษาไว้บริเวณห้องฉากภายในโรงละครแห่งชาติสภาพของโครงร่างเปียโนคู่ที่มีร่องรอยของมดปลวก และชำรุดตามกาลเวลา ซ้าย : ความงดงามของไม้ฉลุที่ใช้สำหรับตั้งโน้ตของเปียโน ขวา : สภาพของค้อนเปียโนที่ได้รับความเสียหายจากปลวก ใน พ.ศ. ๒๕๓๓ กรมศิลปากรร่วมกับสมาคมกิจวัฒนธรรม ได้ดำเนินการบูรณะและซ่อมอนุรักษ์เปียโนคู่ โดยการบูรณะครั้งนี้ สมาคมกิจวัฒนธรรมได้มีการรณรงค์หาทุนจากการจัดกิจกรรมให้สาธารณชนได้มีโอกาสมี ส่วนร่วมในการช่วยทำนุบำรุงรักษาสมบัติของชาติด้วยการจัดรายการ “ช้างช่วยเปียโน” ขึ้น โดยฉายหนังเรื่อง “ช้าง” ซึ่งอาจารย์บรูซ แกสตัน แห่งวงดนตรีฟองน้ำ ได้แต่งเพลงประกอบภาพยนตร์และบรรเลงสดเหมือน การฉายหนังในอดีต เพื่อนำรายได้ไปสมทบทุนเป็นค่าใช้จ่ายในการบูรณะและซ่อมอนุรักษ์เปียโน การซ่อมอนุรักษ์เปียโนคู่ ได้ว่าจ้างบริษัท เอส.ยู. เปียโน ซัพพลาย์ จำกัด ซึ่งมีช่างซ่อมที่มีความชำนาญ ชาวฟิลิปปินส์ คือ นาย Carvates Reamillo เป็นผู้ซ่อม โดยสั่งอะไหล่เปียโนของ Renner นำเข้าจากประเทศเยอรมนี นอกจากนี้ยังมีการเดินทางไปศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมยังเมืองเลนินการ์ด ประเทศรัสเซีย และเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องสำหรับการอนุรักษ์ด้วย ในการซ่อมอนุรักษ์เปียโนได้พยายามรักษาสภาพเดิมให้คงอยู่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ใช้เวลาดำเนินการซ่อมนานถึง ๑๑ เดือน เมื่อแล้วเสร็จจึงได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่บริเวณชั้น ๒ ของโรงละครแห่งชาติ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๓๘ กรมศิลปากร ได้ส่งมอบเปียโนคู่ให้ไปเก็บรักษาไว้ที่ห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร สำนักหอสมุดแห่งชาติ เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า ด้านดนตรีต่อไปเปียโนจุฑาธุช ที่เก็บรักษาไว้ ณ อาคารห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร ปัจจุบันสำนักหอสมุดแห่งชาติ ได้เก็บรักษาเปียโนจุฑาธุช ไว้ ณ ห้องท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ ชั้น ๑ อาคารห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร สำนักหอสมุดแห่งชาติ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ วันจันทร์ - วันเสาร์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.------------------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นางสาวปริศนา ตุ้มชัยพร บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร สำนักหอสมุดแห่งชาติ------------------------------------------------------------------แหล่งข้อมูลอ้างอิง กัลยรัตน์ เกษมศรี. “เปียโนคู่และโครมาติก ฮาร์พ เครื่องดนตรีในห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร”. วารสารวิชาการหอสมุดแห่งชาติ. ๒,๑ (ม.ค. – มิ.ย. ๕๗) ๔๔ – ๔๖. “พบเปียโนโบราณ หนึ่งเดียวในโลก”. ไทยรัฐ. ๔๑, ๑๑๘๙๕ (๑๖ ส.ค. ๓๓), ๑, ๑๗. “เผยโฉมเปียโนคู่ประวัติศาสตร์ คืนสภาพสมบูรณ์”. บ้านเมือง. ๒๐, ๑๐๓๗๘ (๑๕ มิ.ย. ๓๔), ๑๕. สมาคมกิจวัฒนธรรม. มหรสพดนตรี “ช้าง” โดยวงฟองน้ำ. กรุงเทพฯ: สมาคมกิจวัฒนธรรม, ๒๕๓๓. สุกรี เจริญสุข. “เปียโนคู่โบราณของกรมศิลปากร”. ศิลปวัฒนธรรม. ๑๒,๑ (พ.ย. ๓๓), ๙๐ – ๙๕. Corbin, Paul. Pianographie n°1 Le double-Pleyel pneumatique de Gustave Lyon. [Online]. Retrieved 17 March 2021 from https://www.pianosparisot.com/wp-content/uploads/ 2017/02/Pianographie-n%C2%B01.pdf. Facteurs de pianos en France. Ignace Pleyel Brevets. [Online]. Retrieved 18 March 2021 from http://www.lieveverbeeck.eu/Pleyel_Brevets.htm. The spirit of innovation. [Online]. Retrieved 18 March 2021 from https://www.pleyel.com/en/ the-beautiful-story/the-spirit-of-innovation.
ชื่อเรื่อง ปฐมสมฺโพธิกถา (ปถมสมโพธิ์พุทธปูชา-ธาตุวิภชนปริวตฺต)
สพ.บ. 352/30ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 58 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา พระพุทธเจ้า วรรณกรรมพุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เกียรติประวัติอันดีงามของท่านจึงเป็นความภาคภูมิใจของชาวนครศรีธรรมราชด้วยส่วนหนึ่ง และตัวท่านเองก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับจังหวัดนครศรีธรรมราชตั้งแต่วัยเยาว์ ดั่งเช่น ชื่อ“เปรม” นั้นก็ได้ ท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช (แบน คณฺฐาภรณเถร เปรียญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้ตั้งชื่อให้ ดังที่ปรากฏในคำไว้อาลัยของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากหนังสือรัตนธัชมุนีอนุสรณ์ ที่ได้จัดพิมพ์เนื่องในงาน พระราชทาน เพลิงศพพระรัตนธัชมุนี ณ เมรุวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๓ ความตอนหนึ่งว่า ....อนึ่ง ท่านเจ้าคุณและบิดาของกระผมเป็นศิษย์ร่วมอุปัชฌาย์อาจารย์เดียวกัน และบิดาของกระผมเป็นผู้กราบนมัสการขอให้ท่านเจ้าคุณตั้งชื่อให้กระผม จึงนับได้ว่า ท่านเจ้าคุณเป็นผู้มีพระคุณต่อกระผมเป็นส่วนตัวด้วย.....-------------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นายบัณฑิต พูนสุข นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์-------------------------------------------------------------ข้อมูลอ้างอิง วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช. เกิดถิ่นใต้. นครศรีธรรมราช : ศูนย์การพิมพ์พลชัย, พ.ศ. ๒๕๒๙. เทศบาลเมืองทุ่งสง. พระรัตนธัชมุนี (แบน คณ.ฐาภรโน). สืบค้นเมื่อ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๔, จาก :ttps://www.tungsong.com/Nakorn/Person/praratภาพจาก- หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์. ภาพส่วนบุคคล นายชวลิต อังวิทยาธร ภ นรม ๑ สบ ๑.๑/๑๒ ภาพพระรัตนธัชมุนี (แบน คณฺฐาภรณเถร เปรียญ) ถ่ายเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗- หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์. ภาพส่วนบุคคล นายชวลิต อังวิทยาธร ภ นรม ๑ สบ ๑.๓.๑/๕๙(๑) ภาพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงจุดไฟชนวน พระราชทานเพลิงศพ พระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช (แบน คณฺฐาภรณเถร เปรียญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร ถ่ายเมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๓- หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์. ภาพส่วนบุคคล นายชวลิต อังวิทยาธร ภ นรม ๑ สบ ๑.๓.๑/๖๐ ภาพพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี และสมเด็จพระเจ้า ลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ลง จากเมรุพิเศษ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร หลังจากทรง ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช (แบน คณฺฐาภรณเถร เปรียญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ถ่ายเมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๓ - รวมประวัติสามพระรัตนธัชมุนี อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช(แบน คณฺฐาภรณเถร เปรียญ) วัดพระ มหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช ๑๔ กันยายน ๒๕๒๓. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๒๓.เอกสารจดหมายเหตุหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์. เอกสารสำนัก นายกรัฐมนตรี นรม.๑.๑.๕.๑/๕๒ เรื่องคำไว้อาลัยท่านเจ้าคุณ พระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช (๒๑ – ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๒๓)
เลขทะเบียน : นพ.บ.247/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 5 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 115 (203-216) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สิงฺคาลสุตฺต(สิงคาลสูตร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
รำตงนอกจากจะเป็นสื่อกลางเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีแล้วยังเป็นการส่งเสริมให้สังคมของชาวกะเหรี่ยงเติมเต็มทางด้านวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ศิลปะการแสดงพื้นบ้านนี้ยังมีลักษณะเด่นและความน่าสนใจในด้านที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา โดยมุ่งเน้นไปที่หลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งนี้เพื่อให้ชาวกะเหรี่ยงทั้งหลายได้ซึมซับเอาคุณค่าความดีงามในคติธรรม ตลอดจนแนวทางในการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่ชาวกะเหรี่ยงนับถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคติธรรมเรื่องการสร้างความสามัคคี อันเป็นการสร้างค่านิยมที่ดีให้กับกลุ่มชน อีกทั้งยังเป็นทางออกและทางต่อสู้สำหรับความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนเป็นการกล่อมเกลาจิตใจและปลูกฝังความดีงามให้กับลูกหลาน วันนี้แม้มีเพียงแค่คนกลุ่มน้อยที่จะได้ชมการแสดงรำตงของชาวกะเหรี่ยง แต่สำหรับพี่น้องชาวกะเหรี่ยงเองแล้ว การแสดงรำตงถือเป็นภูมิปัญญาที่เชื่อมโยงคนในชุมชนให้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น เชื่อมโยงคนกับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติที่แสดงถึงภูมิปัญญาในการเรียนรู้และอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เป็นวิถีการแสดงออกที่สอดคล้องกับความเป็นไปในสังคม การแสดงรำตงที่นำไปแสดงในทุกครั้งจะต้องผ่านการสร้างสรรค์ด้วยความประณีตบรรจง รูปแบบของการแสดงต้องผ่านกระบวนการอันละเอียดอ่อน ทั้งนี้เพื่อให้คุณค่าของงานเป็นการตอบสนองผู้สร้างสรรค์ที่ต้องการมอบสิ่งดีๆให้กับสังคมสมกับเจตนารมณ์ของผู้สร้างงานที่มิได้หวังผลทางด้านธุรกิจอื่นใด สิ่งสำคัญอีกประการของความสำคัญในการแสดงรำตง คือ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นชุมชนนักอนุรักษ์ ทั้งในด้านเอกลักษณ์และจารีตประเพณี การแสดงรำตงยังคงปรากฏถึงจารีตปฏิบัติ อันถือเป็นธรรมเนียมสำคัญได้แก่ การบูชาในสิ่งที่ควรแก่การบูชา ในที่นี้คือ การบูชาแม่พระโพสพในพิธีกรรมทำบุญข้าวใหม่ ซึ่งชาวกะเหรี่ยงให้ความสำคัญในฐานะที่เป็น เทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมโดยตรง ดังนั้นพวกเขาจึงทำการบูชาด้วยการมอบสิ่งที่ดีต่อผู้มีพระคุณ และถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาในสังคม-----------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นางภควรรณ คุณากรวงศ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ-----------------------------------------------------------ข้อมูลอ้างอิง ณัฐกานต์ บุญศิริ. การแสดงพื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง : กรณีศึกษารำตงบ้านใหม่พัฒนา อำเภอสังขละบุรี จังหวัด กาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. ปรียา ดวงเที่ยง (และคนอื่นๆ). การแสดงรำตงของชาวไทยเชื้อสายกระเหรียงโป บ้านห้วยดินดำ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. ศิลปนิพนธ์ ( ศศ.บ) สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. 2551. สรุปผลการจัดกิจกรรม : การจัดพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงบ้านตะเพินคี่. สุพรรณบุรี : ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอด่านช้าง. 2550. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) “รำตง วัฒนธรรมกะเหรี่ยง” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.prapayneethai.com (วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564) สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี. การแสดงรำตง.. สุพรรณบุรี : สำนักงานฯ , 2550.
ชื่อเรื่อง สุพรรณบุรีเมื่อวันวานผู้แต่ง กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN 974-417-521-4หมวดหมู่ ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ เลขหมู่ 959.373 ศ528สสถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์รุ่งศิลป์การพิมพ์ปีที่พิมพ์ 2545ลักษณะวัสดุ 124 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง สุพรรณบุรี – ประวัติศาสตร์ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก กรมศิลปากร โดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี ได้จัดโครงการรวบรวมและอนุรักษ์ภาพถ่ายเก่าจังหวัดสุพรรณบุรีขึ้น เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมายุ 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542