ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,698 รายการ
ประติมากรรมรูปสิงห์วัสดุ : ปูนปั้น อายุ/สมัย : ทวารวดี (อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗) ขนาด : กว้าง ๙๖ เซนติเมตร สูง ๑๔๖ เซนติเมตร สถานที่พบ : ไปรษณีย์กลางอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ปัจจุบัน : จัดแสดง ณ ห้องศาสนาและความเชื่อทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์_ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ ประติมากรรมรูปสิงห์ เป็นประติมากรรมรูปแบบหนึ่งที่พบมากในวัฒนธรรมทวารวดี นิยมนำมาใช้ประดับส่วนฐานและทางเข้าของสถาปัตยกรรมหรือสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนา รวมทั้งยังนิยมทำเป็นประติมากรรมลอยตัวขนาดเล็ก เช่น ประติมากรรมนูนสูงประดับฐานเจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม, ลวดลายสลักบนหินฐานเสาธรรมจักร จังหวัดนครปฐม, ประติมากรรมลอยตัวขนาบเจดีย์ทิศ วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม ,ประติมากรรมดินเผารูปสิงห์ขนาดเล็ก พบที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น ประติมากรรมรูปสิงห์ขนาดใหญ่ชิ้นนี้ เป็นประติมากรรมนูนสูงอยู่ในท่านั่ง อ้าปากกว้าง แสดงเขี้ยวขนาดใหญ่ ตากลมโต มีแผงคอเป็นรูปสามเหลี่ยม และมีขนขมวดเป็นลอนเรียงต่อกันเต็มลำตัว ด้านหลังเรียบ คาดว่าได้รับแรงบันดาลใจจากอิทธิพลศิลปะเขมรในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ และน่าจะเคยใช้ประดับอยู่ที่ฐานเจดีย์ หรือ ด้านหน้าศาสนสถานในวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งอยู่บริเวณไปรษณีย์กลางอำเภอเมืองลพบุรี แต่ในปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยโบราณสถานแล้ว มีการศึกษาความหมายของสิงห์ไว้มากมาย เช่น การค้ำจุนศาสนา, การแสดงถึงอำนาจพละกำลัง เป็นตัวแทนของผู้พิทักษ์และความดี เป็นต้น สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าชมประติมากรรมรูปสิงห์ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ได้ทุกวันพุธถึงวันอาทิตย์ เวลา ๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. + + + + + + + + + + + + ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์อ้างอิง ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารดี วัฒนธรรมทางศาสนา ยุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. พิมพ์ ครั้งที่ ๒ นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
ชื่อเรื่อง : Conservation and revitalization of vernacular architecture and ICOMOS – CIAV annual meeting 1997ผู้แต่ง : กรมศิลปากรปีที่พิมพ์ : 25๔๐สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : สำนักหอสมุดแห่งชาติจำนวนหน้า : ๖๒๘ หน้า Conservation and revitalization of vernacular architecture and ICOMOS – CIAV annual meeting 1997 มีเนื้อหา เกี่ยวกับการประชุม การอนุรักษ์และการฟื้นฟูสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ในแต่ละภูมิภาคทั่วโลก โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้มีความสามารถด้านสถาปัตยกรรม และได้เสนอในที่ประชุม เกี่ยวกับ ประวัติของสถาปัตยกรรมท้องถิ่นนั้นๆ รวมทั้งการอนุรักษ์ การประยุกต์ใช้ให้เข้ากับยุคสมัย
ผู้แต่ง : สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2508
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พ.ต.อ. (พิเศษ) ทรง บุรานนท์
หนังสือกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ เป็นหนังสือที่กรมสมเด็จพรปรมานุชิตชิโนรส ทรงพระนิพนธ์ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าด้วยสำนวนโวหาร นับเป็นหนังสือชั้นเอกในกวีนิพนธ์เรื่องหนึ่ง ประกอบด้วยเนื้อความโอวาทานุสาสนี สำหรับสตรีที่จะพึงปฏิบัติต่อสามี เป็นคติสำหรับกุลสตรีที่พึงปฏิบัติ
ชื่อเรื่อง โพธิปกฺขิยธมฺม (โพธิปักขิยธรรม เผด็จ)สพ.บ. 145/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 74 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา -- หัวข้อธรรม บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง จตุวีก (จตุวีก)สพ.บ. 239/2ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 56 หน้า กว้าง 5.2 ซ.ม. ยาว 58.6 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา รวมเรื่อง
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อผู้แต่ง สมพร อยู่โพธิ์
ชื่อเรื่อง พระพุทธรูปปางต่างๆ
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่สิบสอง
สถานที่พิมพ์ นครหลวง
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์สามมิตร
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๕
จำนวนหน้า ๑๕๒ หน้า
หมายเหตุ คุณหญิงโพยม เสนีณรงค์ฤทธิ์ (โพยม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานกฐินสามัคคี ณ วัดสวนป่าน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ ๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๕
หนังสือพระพุทธรูปปางต่าง ๆ นี้ นายสมพร อยู่โพธิ์ ภัณฑารักษ์เอก กองโบราณคดี กรมศิลปกร ได้อุตสาหะ ค้นคว้าเรียบเรียงขึ้นจากเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ นอกจากจะให้ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธรูปปางต่างๆ รวมทั้งสิ้น ๕๖ ปาง ซึ่งสร้างขึ้นตามคติที่เชื่อถือกันอยู่ในประเทศไทยแล้ว ยังให้ความรู้เรื่องพระพุทธประวัติ เพราะพระพุทธรูปทุกปางสร้างขึ้นตามเหตุการณ์ต่างๆ ในพระพุทธประวัติ ซึ่งบางตอนก็เป็นเรื่องที่ไม่มีผู้ทราบแพร่หลายทั่วไป
#เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในการส่งเสริมกิจการขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติพุทธศักราช๒๕๒๐
+++วันพืชมงคล เป็นวันที่กำหนดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเป็นพิธีที่มีมาแต่โบราณเพื่อเป็นสิริมงคลเมื่อเริ่มเพาะปลูกทั้งยังเสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกรและถือว่าเป็นวันเกษตรกรอีกด้วย พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ หลังจากที่ว่างเว้นไปหลายปี ในปีพ.ศ. ๒๕๐๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมการข้าว (เดิม) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำพันธุ์ข้าวต่างๆ มาปลูกทดลองในบริเวณสวนจิตรลดา โดยในปีแรกพระองค์ท่านทรงขับรถไถนาควายเหล็กเพื่อเตรียมเพาะปลูกข้าว ตลอดทั้งทรงหว่านข้าว และทรงเก็บเกี่ยวข้าวด้วยพระองค์เอง
+++เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในการส่งเสริมกิจการขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. ๒๕๒๐
ผลิตขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นที่ระลึกเพื่อส่งเสริมกิจการขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (F.A.O) พ.ศ. ๒๕๒๐ จำนวน ๒ ชนิดราคา คือ ราคา ๑๕๐ บาท และราคา ๑ บาท ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงหว่านข้าว โดยมีพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงพระเยาว์ประทับยืนด้านช้าง ในแปลงนาสาธิตสวนจิตรลดา
___________________________________________
+++อ้างอิง
++++โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี . สถาบันพระมหากษัตริย์กับการปลูกข้าวในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๓, จากเว็บไซต์: http://www.rspg.or.th/special_articles/hrs_rice/rice_6.htm
+++ธนารักษ์, กรม. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในสมัยรัชกาลที่ 9. สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๓, จากเว็บไซต์: http://trdservice.treasury.go.th/coin2.php
+++ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเพื่อส่งเสริมกิจการองค์การอาการและเกษตรแห่งสหประชาชาติ. (๒๕๒๐, 4, พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๙๔ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๑๗.
+++ศิลปากร,กรม. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย. กรุงเทพฯ :กรม, ๒๕๖๐.
ตำรายาและขนาน ชบ.ส. ๑๒๐
พระครูวิจิตรธรรมรัตน์ เจ้าอาวาสวัดนามะตูม ต.นามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๓ มิ.ย. ๒๕๕0
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.34/1-2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)