ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,698 รายการ
โครงการค้นคว้าเอกสารประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเขตแดนสยาม – อังกฤษ
๑. ชื่อโครงการ
โครงการค้นคว้าเอกสารประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเขตแดนสยาม-อังกฤษ ณ สหราชอาณาจักร
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อเป็นการสนับสนุนกระทรวงการต่างประเทศในการกำหนดท่าทีของฝ่ายไทยในการเจรจาปัญหาเขตแดนระหว่างไทยกับเมียนมาร์
๒.๒ เพื่อศึกษาดูงานด้านจดหมายเหตุของหอจดหมายเหตุแห่งชาติอังกฤษ
๓. กำหนดเวลา
วันที่ ๖ – ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
๔. สถานที่
สถานที่ในการดำเนินโครงการค้นคว้าเอกสารประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเขตแดนสยาม-อังกฤษ ณ สหราชอาณาจักร ประกอบไปด้วย
- National Archives
- British Library
๕. หน่วยงานผู้จัด
กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ
๖. หน่วยงานสนับสนุน
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
กลุ่มแผนงาน โครงการและวิเทศสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร
๗. กิจกรรม
สำหรับกิจกรรมในการดำเนินโครงการค้นคว้าเอกสารประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเขตแดนสยาม-อังกฤษ ณ สหราชอาณาจักร ประกอบไปด้วย
๗.๑ คณะผู้แทนไทย ได้เข้าศึกษาและค้นคว้าข้อมูลเอกสารประวัติศาสตร์ ณ British Library โดยขั้นตอนการเข้าค้นคว้าต้องกรอกแบบฟอร์มการขอเข้าใช้เอกสารเพื่อทำบัตรประจำตัว (Reader Pass) ซึ่งได้กำหนดอายุการใช้งานของบัตรประจำตัว ๓ ปี
๗.๒ คณะผู้แทนไทย ได้เข้าศึกษาและค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุ ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (National Archives) ซึ่งมีขั้นตอนการกรอกแบบฟอร์มการขอเข้าใช้เอกสารจดหมายเหตุ และขอมีบัตรประจำตัว ซึ่งมีกำหนดการอายุใช้งาน ๓ ปี
๘. คณะผู้แทนไทย
โครงการค้นคว้าเอกสารประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเขตแดนสยาม-อังกฤษ ณ สหราชอาณาจักร ประกอบไปด้วยคณะผู้แทนจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และกระทรวงการต่างประเทศ จำนวน ๕ คน ดังนี้
๘.๑ นางสาวนัยนา แย้มสาขา ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
๘.๒ นางสาวกรพินธุ์ ทวีตา นักจดหมายเหตุ ชำนาญการพิเศษ
๘.๓ นายนิรันดร์ บุญจิต เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ
๘.๔ นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ
๘.๕ นายณธวัช วรรณโกวิท เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ
๙. สรุปสาระของกิจกรรม
คณะผู้แทนไทย ได้เดินทางไปค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการปักปันเขตเดนสยามกับเมียนมาร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และศึกษาดูงานเกี่ยวกับจดหมายเหตุ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
๙.๑ การศึกษาค้นคว้าข้อมูล
การเข้าศึกษาและค้นคว้าข้อมูลใน British Library และ National Archives โดยเน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับเมียนมาร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เอกสารที่เก็บรักษาและให้บริการ ณ หน่วยงานทั้งสองแห่ง เป็นเอกสารที่มีความคล้ายคลึงกัน และเชื่อมโยงกันในรูปแบบเอกสารจดหมายเหตุประเภทลายลักษณ์และแผนที่ เอกสารลายลักษณ์ ได้แก่ จดหมายโต้ตอบระหว่างกงสุลอังกฤษในกรุงเทพกับรัฐบาลสยาม กงสุลอังกฤษในกรุงเทพฯกับรัฐบาลอังกฤษ รายงานการทูตของกงสุลอังกฤษที่กรุงเทพฯ และเมืองเชียงใหม่ เช่น รายงานบันทึกการสำรวจของข้าหลวงอังกฤษและเจ้าหน้าที่อังกฤษเกี่ยวกับการปักปันเขตแดนสยาม – พม่า, หนังสือโต้ตอบระหว่างสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์กับข้าหลวงใหญ่อังกฤษที่ประเทศอินเดีย, เอกสารประเภทแผนที่แสดงการปักปัน, หนังสือมีไปมาระหว่างข้าราชการไทยกับข้าราชการอังกฤษ เกี่ยวกับการทูต การค้า ระเบียบข้อบังคับของสยาม สนธิสัญญาระหว่างประเทศทั้งสอง, เรื่องเขตแดนสยาม – มาเลเซีย, ทางรถไฟสาย Singora – Kedah, เส้นทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – โคราช, ความสัมพันธ์ระหว่าง Mr. Knox และรัฐบาลสยาม, การเจรจาในเรื่องต่างๆ ระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลอังกฤษ เป็นต้น
๙.๒ การศึกษาดูงาน
นางสาวนัยนา แย้มสาขา ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และนางสาวกรพินธุ์ ทวีตา นักจดหมายเหตุชำนาญการพิเศษ ได้ศึกษาดูงาน Digitization ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติอังกฤษ อาทิเช่น การสแกนไมโครฟิล์มลงซีดี เพื่อเป็นฐานข้อมูลและสามารถให้บริการด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากในปัจจุบันครุภัณฑ์ไมโครฟิล์มมีการผลิตน้อยลง และให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และให้บริการเอกสารจดหมายเหตุด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจดหมายเหตุเพิ่มมากขึ้น เพราะมีความสะดวก และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว การบริหารจัดการเรื่องการสแกนเอกสารจดหมายเหตุโดยใช้ระบบการการจ้างบริษัทให้เข้ามาดำเนินการสแกนเอกสารจดหมายเหตุตามคำร้องขอของสำนักพิมพ์ต่างๆ ที่มีความประสงค์จะจัดพิมพ์เอกสารจดหมายเหตุออกจำหน่ายเพื่อเผยแพร่ ทั้งนี้บริษัทต้องเข้ามาดำเนินการในหอจดหมายเหตุแห่งชาติภายใต้การควบคุม ดูแล ของเจ้าหน้าที่ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รวมทั้งบริษัทที่เข้ามาดำเนินการอนุรักษ์ ซ่อมแซมต้นฉบับที่ชำรุด โดยใช้บุคลากรที่เชี่ยวชาญการอนุรักษ์ดำเนินการซ่อมแซมเอกสารก่อนการสแกน ปัจจุบันมีบริษัทเข้ามาดำเนินการ ๗ บริษัท ตามความต้องการจัดพิมพ์เอกสารจดหมายเหตุของ ๕ หน่วยงาน ทั้งนี้นโยบายการจัดลำดับเอกสารจดหมายเหตุที่จะดำเนินการสแกนขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ค้นคว้าและผู้ร้องขอ เอกสารชุดสำคัญที่มีผู้สนใจ เพื่อศึกษาค้นคว้า และเพื่อจัดพิมพ์ เช่น เอกสารเกี่ยวกับตระกูล เอกสารด้านการทหาร
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
จากการเดินทางไปค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุที่เกี่ยวกับประเทศไทย ใน British Library และ National Archives ร่วมกับคณะเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ พบว่า เอกสารสำคัญที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายด้านต่างๆ ของประเทศ การบริหารบ้านเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เก็บรักษาอยู่ในหน่วยงานดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ดังนั้นหากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติจะได้ดำเนินโครงการรวบรวม จัดทำรายการ และจัดทำสำเนาเอกสารจดหมายเหตุเหล่านั้น มาเก็บและให้บริการจะช่วยเติมเต็มข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ขาดหายไป และการได้เข้ามาศึกษาดูงาน ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติอังกฤษ ทำให้ได้เรียนรู้และได้ประสบการณ์ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการเอกสารจดหมายเหตุ และการให้บริการเอกสารจดหมายเหตุ อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ค้นคว้าสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว
นางสาวกรพินธุ์ ทวีตา ผู้สรุปรายงานการเดินทางไปราชการ
***บรรณานุกรม***
พระยาสีหราชฤทธิไกร (ทองคำ สีหอุไร (พระสุวรรณรัศมี)
นิทานเทียนสุภาษิต (ทองคำ สีหอุไร) (พระสุวรรณรัศมี) ภาคที่ 8 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายบุญชัยตัณฑ์วิไล ณ เมรุวัดศรีบุรีรัตนาราม อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี วันที่ 2 เมษายน พุทธศักราช 2509
พระนคร
โรงพิมพ์พ.พิทยาคาร
2509
วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์ที่สำคัญและมีชื่อเสียงมาแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เดิมเรียกว่า วัดยายศรีจันทร์ หรือ วัดยายสีจันทร์
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง ทาน แง่ศาสนา พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 28 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง การตาย อานิสงส์ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 22 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากพระครูวิมลสังวร วัดแค ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.60/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 3.7 x 53 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 39 (382-387) ผูก 1หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
วันนี้ (วันพุธที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๓) เวลา ๐๙.๐๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดี กรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านรักษาความปลอดภัยโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุของคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรณีเกิดเหตุภัยพิบัติด้านอัคคีภัย เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ณ ห้องประชุมอาคารคลังกลาง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ คลองห้า จังหวัดปทุมธานี รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยเฉพาะกลุ่มทะเบียนคลัง พิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ ซึ่งมีหน้าที่บริหาร จัดการ ดูแลรักษาความปลอดภัยโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จำนวนไม่น้อยกว่า ๘๐,๐๐๐ รายการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติต่าง ๆ ตลอดจนหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ล้วนเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่บริหารจัดการ ดูแลรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เอกสารเก่าอันทรงคุณค่าของชาติให้อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม มั่นคง และปลอดภัย ดังนั้นบุคลากรและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑสถานและจดหมายเหตุทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ ฝึกฝน มีแผนรองรับการเผชิญเหตุในกรณีเกิดภัยต่าง ๆ โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านรักษาความปลอดภัยโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ กรณีเกิดเหตุภัยพิบัติ ด้านอัคคีภัย ครั้งนี้ จึงเป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ให้มีความพร้อมในการรับมือกับอุบัติภัยดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งในการป้องกันและบรรเทาความเสียหายแก่โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และทรัพย์สินของทางราชการอันเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง ทั้งยังเป็นการสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยให้แก่งานพิพิธภัณฑสถานอีกด้วย โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านรักษาความปลอดภัยโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุของคลังกลาง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรณีเกิดเหตุภัยพิบัติด้านอัคคีภัย จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๓ โดยมีวิทยากรจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการผจญเพลิง ให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เช่น การดับเพลิงขั้นต้น การจัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย การจัดวางระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย การใช้งานระบบการดับเพลิงด้วยน้ำ การดับเพลิงด้วยสารสะอาด การรักษาความปลอดภัยด้วยกล้องวงจรปิด และ Door Access ฝึกซ้อมการจำลองสถานการณ์กรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมทุกคนจะสามารถนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติงานด้านป้องกันและบรรเทาเหตุฉุกเฉินกรณีเกิดเพลิงไหม้ โดยเฉพาะอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ชื่อผู้แต่ง ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชื่อเรื่อง พงศาวดารเรื่องไทยรบพม่าครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๖สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๗จำนวนหน้า ๑๑๔ หน้าหมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโท เฉลิม อินทะกนก ป.ช.,ป.ม.,ต.จ.ว. ณ เมรุวัดธาตุทอง วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๒๗ หนังสือพงศาวดารไทยรบพม่า เล่มนี้ ได้อธิบายเรื่องไทยรบกับพม่า ในครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ การทำสงครามครั้งที่ ๑ ถึง สงครามครั้งที่ ๗
ปราณ ปรีชญา. เสื่อจันทบูรกับรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ในรัชกาลที่ 7. จันท์ยิ้ม.(2):1;ต.ค.-พ.ย.2560.
เสื่อจันทบูรกับรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีในรัชกาลที่ 7 มีความสัมพันธ์กันยังไร ยังไม่อาจสรุปได้ชัดเจน เพียงแต่มีข้อมูลที่สอดรับกันเท่านั้นคือ เสื่อจันทบูรใช้ปูรองที่ประทับเสวยพระกระยาหารกลางวันเมื่อครั้นเสด็จทอดพระเนตรโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และมหัคฆภัณฑ์ เมื่อเดือนพฤษจิกายน 2500 และเป็นช่วงเดียวกับสมเด็จพระนางรำไพพรรณี พระบรมราชนีในรัชกาลที่ 7 ทรงฟื้นฟูเสื่อจันทบูรให้กลับมาเป็นหัตกรรมสัมมาชีพของชาวจันทบุรีอีกครั้ง
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ลิลิตพายัพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. พระนคร : มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2510. ลิลิตพายัพ นี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2448 ซึ่งในปีนั้นการสร้างทางรถไฟสายเหนือสำเร็จตลอดถึงเมืองนครสวรรค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปเปิดทางรถไฟที่สถานีรถไฟบ้านพาชี แล้วเลยเสด็จประพาสเมืองลพบุรี และมณฑลนครสวรรค์ อันเป็นที่สุดของทางรถไฟ ในการเสด็จเปิดทางรถไฟคราวนี้ ได้โปรดฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จไปประพาสหัวเมืองพายัพ โดยมีพระราชประสงค์ให้ทรงคุ้นเคยกับราชการหัวเมืองประเทศราชที่ห่างไกล ซึ่งเสด็จทางชลมารคที่สถานีปากน้ำโพ ไปขึ้นบกที่อุตรดิตถ์ และเสด็จโดยกระบวนม้าและช้างต่อไป
ชื่อผู้แต่ง : วิจิตรวาทการ,พลตรีหลวง
ชื่อเรื่อง : ธนาคารกสิกรไทย : การทอดกฐิน
ครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 14
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ บริษัท คณะช่าง จำกัด
ปีที่พิมพ์ : 2514
จำนวนหน้า : 76 หน้า
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานกฐินของธนาคารกสิกรไทย ณ วัดพรหมจริยาวาส อำเภอเมือง จ.นครสวรรค์
หนังสือเรื่องตำนานกฐินเล่มนี้พลตรีหลวงวิจิตรวาทการได้เรียบเรียงตั้งแต่ปีพ.ศ.2477เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรเป็นหนังสือที่กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับพิธีทอดกฐิน เพื่อพุทธศาสนิกชนนำไปปฏิบัติเป็นรูปแบบเดียวกัน