ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,749 รายการ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/3ฉ เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อผู้แต่ง สมาคมคหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์.ชื่อเรื่อง วารสารคหเศรษฐศาสตร์ ฉบับ อนุสรณ์ งานชุมนุมแม่บ้าน ครั้งที่ ๘ครั้งที่พิมพ์ -สถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชปีที่พิมพ์ ๒๕๐๘จำนวนหน้า ๖๗ หน้า รายละเอียด
วารสารคหเศรษฐศาสตร์ ฉบับ อนุสรณ์ งานชุมนุมแม่บ้าน ครั้งที่ ๘ เป็นวารสารที่มีจุดประสงค์ เพื่อเผยแพร่ ให้ความรู้ทางวิชาการต่างๆ สำหรับแม่บ้าน และเพื่อการศึกษาค้นคว้า ของนักเรียน นักศึกษา ซึ่ง ฉบับนี้ ให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารบำรุงสมอง การประกันภัย และศิลปะในการเป็นพ่อแม่ เป็นต้น
50Royalinmemory ๓ มีนาคม ๒๔๒๕ (๑๔๐ ปีก่อน) – วันประสูติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ [เจ้าฟ้าชั้นพิเศษ]
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) กับกับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง “สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ” (พระนามเดิม : สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนาถ) ดำรงพระอิสริยยศ “สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ภายหลังทิวงคตเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๔๖๓ มีพระโอรสพระองค์เดียว ทรงเป็นต้นราชสกุล จักรพงษ์ ณ อยุธยา (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๙๒.)
Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๒๒ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖
(เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)
เลขทะเบียน : นพ.บ.385/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 16 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 144 (40-47) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ลำวิสุทธิยา--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.527/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 62 หน้า ; 5 x 48 ซ.ม. : รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 176 (267-279) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ลำสินไชย--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฺธกถา ขุทฺทกนิกายฏฺธกกา (ธมฺมฺปทขั้นปลาย)อย.บ. 241/18หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 64 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง พระธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาดก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทสพร-นครกัณฑ์) อย.บ. 423/5ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน ชาดกบทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ทองทึบ รักทึบ ลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
องค์ความรู้ตอนแรกที่นำเสนอในวันนี้มีชื่อว่า “ Ep.1 เมืองโบราณยะรัง : เมืองโบราณสำคัญในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้” ซึ่งจะเป็นการปูพื้นฐานเรื่องเมืองโบราณยะรังก่อนจะไปใน Ep ต่อไป ซึ่งเนื้อหาจะเป็นอย่างไรนั้นเชิญติดตามรับชมกันได้เลยค่ะ
--------------------------------------------------------------------------
Ep1 เมืองโบราณยะรัง : เมืองโบราณสำคัญในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้
Ep 2 เมืองโบราณยะรัง = ลังกาสุกะ?
Ep 3 เมืองโบราณยะรัง : การดำเนินงานทางด้านโบราณคดี
Ep 4 เมืองโบราณยะรัง : โบราณสถานและโบราณวัตถุชิ้นพิเศษ
EP 5 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาตำแหน่งที่ตั้งโบราณสถานด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ (Li-DAR)
Ep 6 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาชายฝั่งทะเลโบราณอ่าวปัตตานี
--------------------------------------------------------------------------
อ้างอิง
การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้, ศูนย์. ลุ่มน้ำตานี, ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2525
เขมชาติ เทพไชย, รายงานการสำรวจขุดค้นทางด้านโบราณคดี บริเวณเมืองโบราณยะรังและใกล้เคียง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี, สงขลา : โครงการโบราณคดีประเทศไทย(ภาคใต้) กองโบราณคดี
กรมศิลปากร, 2528
เขมชาติ เทพไชย, “การวิจัยทางโบราณคดี ณ บริเวณเมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานี”, เอกสารหมายเลข 11 การสัมมนาวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้ครั้งที่ 1 ณ โรงแรมไทยโฮเต็ล นครศรีธรรมราช 18-20 กันยายน 2532
ชูสิริ จามรมาน, รายงานผลการวิจัยเรื่องการวิจัยข้อมูลทางศิลปะและโบราณคดี ณ เมืองโบราณที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เพื่อศึกษาเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์, นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม, 2528
พรทิพย์ พันธุโกวิท, การศึกษาประติมากรรมสมัยทวารวดี ณ เมืองโบราณ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,2530
ภัคพดี อยู่คงดี, รายงานสังเขปผลการปฏิบัติงานทางวิชาการ โครงการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองยะรัง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2531 และครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2532
ศิริพร ลิ่มวิจิตรวงศ์, รายงานการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านประแวในปีพ.ศ.2541
ศิลปากรที่ 11 สงขลา, สำนัก. รายงานผลการดำเนินงานโครงการศึกษาและขยายฐานความรู้เมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2561, เอกสารอัดสำเนา, 2561
ศิลปากรที่ 11 สงขลา, สำนัก. พัฒนาการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ 3 จังหวัดชายแดนใต้,สมุทรสาคร : บริษัท บางกอกอินเฮาส์ จำกัด,2565
สว่าง เลิศฤทธิ์, การสำรวจขุดค้นทางด้านโบราณคดีบริเวณเมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี, ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2530
อนันต์ วัฒนานิกร, แลหลังเมืองตานี, ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2528
อิบรอฮิม ซุกรี(เขียน), หะสัน หมัดหมาน(แปล) ประพน เรืองณรงค์(เรียบเรียง), ตำนานเมืองปัตตานี (Sejarah Kerajaan Melayu Pattani), ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2525
ขอเชิญรับชม Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน "พระพุทธรูปสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ"
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน "พระพุทธรูปสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ" วิทยากร นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ (โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ), นางกาญจนา โอษฐ์ยิ้มพราย ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.
ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันต่อต้านยาเสพติดโลก 26 มิถุนายน”
ด้วยสภาพปัญหายาเสพติดที่ส่งผลให้มีผู้ได้รับความเดือดร้อนทั้งทางตรง และทางอ้อมเป็นจำนวนมาก ทำให้นานาประเทศพยายามร่วมมือกัน เพื่อหาทางหยุดยั้งปัญหายาเสพติด องค์การอนามัยโลกได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้จัดตั้งองค์กรพิเศษขึ้นเพื่อประสานความพยายามในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของประเทศต่างๆ ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกในองค์กรนี้ด้วย คือ คณะกรรมการยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ “วันต่อต้านยาเสพติดโลก”
การจัดตั้งองค์กรเกิดขึ้นจากการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and licit Trafficking : ICDAIT) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่างวันที่ 17-26 มิถุนายน 2530 ที่ประชุมได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ขอให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี เป็น "วันต่อต้านยาเสพติโลก" (International Day Against Drug Abuse and Illicit Trafficking)
“วันต่อต้านยาเสพติดโลก” เป็นสัญญลักษณ์ของการแสดงเจตนารมย์ร่วมกันของประเทศต่างๆทั่วโลกในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติด ที่ประชุมสมัชชาใหญ่มีมติเห็นชอบในการประชุมเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2530 ประเทศต่างๆจึงกำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายน เป็น “วันต่อต้านยาการใช้ยาในทางที่ผิดและการลักลอบค้ายาเสพติด”
สำหรับประเทศไทยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ วันที่ 14 มิถุนายน 2531 กำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันต่อต้านยาเสพติด มีกิจกรรมตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา
อ้างอิง : บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
ชื่อเรื่อง: ประเพณีเก่าของไทย ๑.ประเพณีเนื่องในการเกิดและการเลี้ยงลูก ผู้แต่ง: พระยาอนุมานราชธน ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๙๒สถานที่พิมพ์: พระนครสำนักพิมพ์: โรงพิมพ์ไทยเขษมจำนวนหน้า: ๑๐๖ หน้า เนื้อหา: ประเพณีเก่าของไทย ๑.ประเพณีเนื่องในการเกิดและการเลี้ยงลูก พระยาอนุมานราชธนได้เรียบเรียงและมอบให้ไว้เป็นสมบัติของหอสมุดแห่งชาติตั้งแต่เมื่อครั้งอยู่ในตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพซึ่งจัดพิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ นางเตชเสนา (จันทร์ เตชะเสน) ภริยาของพันเอกหลวงเตชเสนา ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ ต้นฉบับขออนุญาตกรมศิลปากรในการนำมาจัดพิมพ์แจก โดยเรื่องประเพณีเนื่องในการเกิดและการเลี้ยงลูกนี้ เป็นหนังสืออยู่ในชุดประเพณีเก่าของไทย เนื้อความเริ่มตั้งแต่การตั้งครรภ์ ตอนเจ็บท้องคลอด การคลอด การอยู่ไฟ เรื่องเกี่ยวกับเด็ก การฝังรก แม่ซื้อ ทำขวัญและโกนผมไฟเด็ก การเลี้ยงลูก เพื่อให้ผู้ที่ได้ศึกษา ค้นคว้าได้ความรู้และรับทราบเกี่ยวกับประเพณีเนื่องในการเกิดและการเลี้ยงลูกของไทยในอดีต ที่รายละเอียดบางอย่างยังคงมีการถ่ายทอด สืบต่อและถือปฏิบัติจนถึงในปัจจุบันนี้เช่นกัน เลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๑๐๘๙เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๒๓หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖