ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,241 รายการ


ชื่อวัตถุ รองเท้า ทะเบียน ๒๗/๒๕/๒๕๓๖ อายุสมัย รัตนโกสินทร์ วัสดุ(ชนิด) ไม้กำมะหยี่ ดิ้นเงินและทอง ประวัติที่มา เป็นรองเท้าของมารดา คือ นางสิวโง้ยตัณฑวณิช ใช้ในการร่วมมือพิธีสำคัญรวมทั้งใส่กับชุดยะหย่า ซึ่งใช้ในงานต่างๆ สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง “รองเท้า” รองเท้ามีลักษณะเป็นร้องเท้าแตะแบบปัก มีส้นเตี้ย ส่วนหัวของรองเท้าปักด้วยกำมะหยี่ ดิ้นเงิน และดิ้นทองลายปักมีลักษณะคล้ายดอกไม้ ร้องเท้ารูปแบบนี้เรียกภาษามลายูว่า Kasutseretรองเท้ารูปแบบนี้มีพัฒนาการมาจากรองเท้าแบบปักไม่มีส้น เป็นรองเท้าที่ปักด้วยเส้นด้ายซึ่งเป็นไหมสีต่างๆ ลวดลายที่ปักเป็นลายดอกไม้และสัตว์มงคลต่างๆ เช่น ปลา ค้างคาว ผีเสื้อ เป็ด และกวาง เป็นต้น รองเท้าปักด้วยดิ้นเงินและทอง เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้หญิงชาวบาบ๋าคำว่า บาบ๋า เป็นคำที่ชาวภูเก็ตใช้เรียกลูกหลานที่เกิดจากพ่อชาวจีนและแม่ชาวพื้นเมืองโดยใช้เรียกทั้งผู้ชายและผู้หญิง ต่างจากในแถบประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งมีกลุ่มลูกผสมชาวจีนและชาวพื้นเมืองอยู่เป็นจำนวนมากเช่นเดียวกับในเกาะภูเก็ต แต่ในประเทศเหล่านี้ใช้คำว่า บาบ๋า เรียก ลูกชาย และใช้คำว่า ย่าหยา เรียก ลูกสาว สำหรับรองเท้าปักรูปแบบนี้นิยมทั้งในสิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งหญิงชาวภูเก็ตคงรับความนิยมรองเท้ารูปแบบนี้มาจากแถบมะละกาและปีนัง ทั้งนี้ ในอดีตหญิงสาวที่เตรียมตัวจะออกเรือนต้องเก่งงานเย็บปักถักร้อย “รองเท้า” เป็นส่วนหนึ่งในเครื่องแต่งกายในวันแต่งงาน ซึ่งหญิงสาวต้องทำร้องเท้าเพื่อใช้สวมในงานมงคลสมรสด้วยตนเอง ร้องเท้าแตะปักด้วยดิ้นเงินและทองที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางเก็บรักษาเป็นของนางสิวโง้ยตัณฑวณิชใช้สวมใส่ในงานพิธีสำคัญต่างๆ โดยใส่กับชุดยะหย่าร้องเท้าแตะปัก(Kasutseret) จึงเป็นตัวแทนที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชาวบาบ๋าภูเก็ตในเรื่องของการแต่งกายได้เป็นอย่างดี เอกสารอ้างอิง - ฤดี ภูมิภูถาวร. “ร้องเท้าเข้าชุดสะดุดสายตา,” ภูเก็ตภูมิ ๓, ๑ (เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๒):, ๖๔ – ๖๗. - ฤดี ภูมิภูถาวร. วิวาห์บาบ๋า. ภูเก็ต : บริษัท เวิลด์ออฟเซ็ทพริ้นติ้ง จำกัด, ๒๕๕๓.


วันศุกร์ที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ น. นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ ๑ โรงเรียนอนุบาลปราสาทศึกษาคาร ตำบลกังแอน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ นักเรียนจำนวน ๒๖๔ คน คุณครูจำนวน ๑๕ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมี นายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ นางสาวอาภาภรณ์ เปล่งปลั่งศรี นักวิชาการวัฒนธรรม และพนักงานประจำห้องทุกคน ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม






ประเพณีทำศพแบ่งเป็น 11 ขั้นตอนคือ1. การบอกหนทาง2. การอาบน้ำศพ3. การแต่งตัวศพ4. การมัดศพ5. โลงและการเบิกโลง6. เครื่องประกอบโลง7. การตั้งศพ8.การนำศพออกจากบ้าน9. การเผาศพ10. ข้างขึ้นเผาคี่ ข้างแรมเผาคู่11.การเดินสามหาบแปรรูปและเก็บอัฐิ



๑.      ชื่อโครงการ    โครงการ“บรรพชาสามเณร บวชศีลจาริณี และปฏิบัติธรรม ณ แดนพุทธภูมิ สังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย และเนปาล” ๒.      วัตถุประสงค์ ๒.๑ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และหลักการในการดำเนินชีวิตจากธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ดีแล้ว ณ สังเวชนียสถานและพุทธสถานสำคัญในประเทศอินเดีย ๒.๒ เพื่อปลูกศรัทธาที่มั่นคงในพระพุทธศาสนาจากการได้จาริกแสวงบุญ ณ ดินแดนพุทธภูมิและพุทธสถานต่างๆ ในประเทศอินเดีย ตามหน้าที่ของพุทธมามกะ ๒.๓ เพื่อสร้างสื่อการสอนและสื่อประชาสัมพันธ์ที่จะถ่ายทอดพุทธธรรมสู่เยาวชนให้เกิดกระแสธรรมสู่สังคม และร่วมสร้างสังคมไทยให้งดงาม ลดปัญหาในสังคม ๒.๔ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ แลกเปลี่ยนความรู้ในเครือข่ายของครู อาจารย์ และผู้บริหารสถานศึกษา ๓.      กำหนดเวลา ระหว่างวันที่ ๑๔-๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ ๔.      สถานที่ สังเวชนียสถานและพุทธสถานต่างๆ ในประเทศอินเดียและเนปาล ๕.      หน่วยงานที่จัด มูลนิธิคุณแม่ดร.สิริ กรินชัย ร่วมกับ คณะพระธรรมทูตไทย สายประเทศอินเดียและเนปาล ๖.      หน่วยงานสนับสนุน ประธานพระธรรมทูตไทยสายประเทศอินเดียและเนปาล รัฐบาลประเทศอินเดีย ๗.      กิจกรรม เดินทางสักการะสังเวชนียสถาน และศึกษาพุทธสถาน โดยมีการปฏิบัติธรรม ๘.      คณะผู้แทนไทย คณะครู อาจารย์ และผู้บริหารสถานศึกษา ตลอดจนประชาชนผู้สนใจโครงการ จำนวน ๖๒ คน   ๙.      สรุปสาระของกิจกรรม โครงการดังกล่าวนี้ มีสาระสำคัญให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้บรรพชาสามเณรและบวชศีลจาริณี เพื่อศึกษาธรรมะ และเรียนรู้ประวัติศาสตร์โบราณคดีในพุทธสถานที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ เพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงต่อไป การเดินทางเดินจากประเทศไทย เวลา ๒๓.๐๐ น.ของวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ ถึงประเทศอินเดีย เช้าวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๙ ในช่วงเวลาเย็นได้ทำพิธีปลงผมผู้เข้าร่วมโครงการ ณ วัดไทยพุทธคยา เพื่อทำการบรรพชาสามเณร ในวันรุ่งขึ้น ซึ่งวัดไทยพุทธคยาเป็นวัดไทยแห่งแรกในประเทศอินเดีย เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ สถาปัตยกรรมจำลองแบบมาจากอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารา กรุงเทพมหานคร และในช่วงเช้าของวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๙ ได้ทำการบรรพชาสามเณรโดยคณะพระธรรมฑูตสายประเทศอินเดียและเนปาล  และจากนั้น ข้าพเจ้าได้ร่วมเดินทางกับคณะและบรรยายข้อมูลและเรื่องราวทั้งในด้านของวัฒนธรรมอินเดีย และพุทธสถานในสถานที่ต่างๆ รายละเอียดพอสังเขป ดังนี้ วันที่ สถานที่และกิจกรรมสาระสำคัญ ๑๔ ต.ค.๕๙ เดินทางจากประเทศ ๑๕ ต.ค.๕๙ ทำพิธีปลงผู้เข้าร่วม ณ วัดไทยพุทธคยา ๑๖ ต.ค.๕๙ บรรพชาสามเณร ณ มหาโพธิเจดีย์ พุทธยา ,สัตตมหาสถาน,เขาดงคสิริ ๑๗ ต.ค.๕๙ เขาคิชกูฏ,เวฬุวัน,ตโปธารนที,นาลันทา ๑๘ ต.ค.๕๙ ไวศาลี,ปาวาลเจดีย์,วัดไทยไวศาลี ๑๙ ต.ค.๕๙ กุสินารา (สาลวโนทยาน ,มกุฏพันธนเจดีย์) ๒๐ ต.ค.๕๙ วิหาร 960 ,ลุมพินีวัน ๒๑ ต.ค.๕๙ เมืองสาวัตถี,เชตวันมหาวิหาร  ๒๒ ต.ค.๕๙ คงคานที,ธัมเมกขสถูป สารนาถ ๒๓ ต.ค.๕๙ สักการะเทวลัยเจ้าแม่กาลี เมืองกัลกัตตา ๒๔ ต.ค.๕๙ เดินทางกลับ   สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ประสูติ – สถานที่ประสูติในพุทธประวัติกล่าวถึง เมื่อพระนางสิริมหามายาจะมีพระประสูติกาล จึงขอพระราชานุญาติพระเจ้าสุทโธทนะ เสด็จกลับยังมาตุคาม คือเมืองเทวทะหะ ตามคติความเชื่อของอินเดีย ว่าสตรีใดหากจะคลอดบุตร ก็จำเป็นต้องกลับมายังบ้านเกิดของตน ระหว่างเดินทางนั้นพระองค์เกิดเจ็บพระครรภ์ ซึ่งอยู่ระหว่างการเดินทาง จึงแวะพักใต้ร่มไม้สาละ และได้ให้กำเนิดเจ้าชายสิทธัตถะ และเป็นสถานที่ซึ่งในพระไตรปิฎกและอรรถกถาหลายเล่ม กล่าวถึงการก้าวย่างพระบาทได้ ๗ ก้าว และเปล่งพระวาจา "เราเป็นเลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา" และในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จมาสถานที่แห่งนี้ และได้สร้างสถูป และแผ่นศิลาสลักเป็นรอยพระบาท เป็นพุทธานุสรณ์ ในสถานที่ประสูติ พร้อมทั้งสร้างเสาอโศกมีอักษรพราหมีจารึกมีใจความกล่าวถึง สถานที่นี้เป็นสถานที่ประสูติแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และประกาศงดภาษาแก่ประชาชนและบ้านเรือนที่อยู่ในเขตนี้ เป็นพุทธบูชา ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล มีโบราณสถานสำคัญที่สร้างในสมัยต่างๆ กลุ่มโบราณสถานหลักมีการสร้างอาคารชื่อ “มายาเทวีวิหาร” คลุมไว้ ด้านทิศใต้ของอาคารมีสระน้ำ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นสระโบกขรณีที่มีการใช้สืบเนื่องกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ตามบันทึกของหลวงจีนฟาเหียน ราว พ.ศ.๙๐๐ ปัจจุบันสถานที่ประสูติรู้จักโดยทั่วไปในชื่อ “ลุมพินีวัน” ตรัสรู้ – หลังจากที่ได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ ๖ ปี ทรงเห็นว่ามิใช่ทางอันหลุดพ้น จึงทรงเสวยอาหารตามปกติ และได้เสด็จทางทิศตะวันตก ซึ่งทรงนั่งพักใต้ต้นไทรใกล้บ้านนางสุชาดา ซึ่งนางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาส ซึ่งเป็นข้าวที่มีธัญพืชนานาชนิด ผสมกับน้ำนมวัว เมื่อพระโพธิสัตว์สิทธัตถะได้เสวยแล้วก็ได้นำถาดทองคำ ตั้งอธิฐานว่าหากจะได้ตรัสรู้แล้วนั้น ขอให้ถาดทองลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไปแล้วจมลง เมื่อนั้นก็สมตามประสงค์ จึงได้เดินข้ามเนรัญชรานทีไปยังต้นโพธิ์ บริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์ปัจจุบัน แล้วปูหญ้ากุสสะ (หญ้าตระกูลหน้าแฝก) ก่อนนั่งบำเพ็ญเพียรจนบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ สถานที่นี้ปัจจุบันเรียกว่า พุทธคยา อยู่ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย มีการสร้างโบราณสถานตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศก และมีเสาอโศกจากึกอยู่ แต่ปรักหักพังเหลือเพียงท่อนเสาเล็กน้อย ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้นั้น ปัจจุบันเป็นต้นที่ ๔ ตามการบันทึก ซึ่งนำหน่อที่อยู่ใกล้เคียงปลูก โดยดร.อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม อธิบดีกรมโบราณคดีของอินเดียในขณะนั้น ขณะเข้ามาสำรวจและศึกษา ด้านหน้าทางทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหาโพธิ์มีเจดีย์ทรงศิขระ มี ๕ ยอด สร้างทับอาคารเดิมโดยศาสนาของพราหมณ์-ฮินดู ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย สลักจากหินแกรนิตสีดำ ปิดทองทั้งองค์ ศิลปะปาละ เป็นพุทธานุสรณ์ในสถานที่ตรัสรู้ และได้มีการสร้างสถูปเจดีย์มากมาย โดยเฉพาะในพื้นที่อันเกี่ยวข้องกับสัตตมหาสถาน (สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงเสวยวิมุตติสุขหลังการตรัสรู้ ๗ สัปดาห์) ปฐมเทศนา – สถานที่ซึ่งพระพุทธองค์เสด็จมาจำพรรษาที่ ๑ หลังจากที่ทรงตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้ว เสด็จมายังเมืองพาราณสี บริเวณที่เรียกว่า ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน หรือสารนาถ อันเป็นพื้นที่สวนกวาง เขตอภัยทานของกษัตริย์แห่งแคว้นนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงอนันตลักขณสูตร มีการสร้างเจดีย์เพื่อเป็นที่ระลึกเรียกว่า “ธรรมราชิกสถูป” และมีบันทึกว่าขุดพบพระบรมสารีริกธาตุ และผู้รุกรานในสมัยก่อนนั้นได้นำไป เทลงในแม่น้ำคงคา ชาวพุทธจึงเชื่อว่าและ “ธัมเมกขสถูป”      มหาสถูปขนาดใหญ่ที่สร้างในสมัยอินเดียโบราณและสร้างเพิ่มเติมในสมัยคุปตะ ซึ่งมีการเพิ่มเติมหินทรายสลักลายพรรณพฤกษาเกี่ยวเนื่องกันรอบสถูป สถูปนี้สร้างในพื้นที่ซึ่งเป็นสถานที่เกิดพระธรรมอันสำคัญซึ่งพระพุทธเจ้าทรงโปรดแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ และได้บรรลุอรหันต์ คือ “ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร” คือพระธรรมอันเคลื่อนจักรให้หมุนไป ในด้านโบราณคดี มีการขุดค้นอย่างต่อเนื่อง และจากการขุดค้นในระยะแรก พบเสาพระเจ้าอโศกและหัวเสาซึ่งสลักเป็นรูปสิงห์หันหลังชนกัน ๔ ตัว ซึ่งมีการขัดมันเงา ซึ่งเป็นหัวเสาที่ได้รับการยกย่องว่ามีความงดงามที่สุด และได้นำมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศอินเดียจนถึงปัจจุบัน ปรินิพพาน – สาลวโนทยาน สถานที่ซึ่งมีอาคารสองหลัง อยู่ใกล้กัน อาคารศาลาประดิฐานพระพุทธรูปสลัก คือพระพุทธเจ้าปางปรินิพพาน บริเวณฐานพระพุทธรูปมีการสลักพระอานนท์แสดงอาการร่ำไห้ที่ฝ่าพระบาท พระอนุรุทธะ ในท่านั่งสมาธิเข้าฌานสมาปัตติส่งเสด็จพระพุทธเจ้า ด้านหลังอาคารดังกล่าวมีสถูปที่สร้างทับบริเวณต้นสาละคู่ที่ผลิดอกและให้ร่มเงาครั้ง พระพุทธเจ้าทรงประทับขณะปรินิพพาน พุทธสถานอันเกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติ           เขาดงคสิริ สถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยา หมายถึง ความเพียรอันทำได้ยากยิ่ง ในระยะเวลาช่วง ๖ ปี ที่ทรงบำเพ็ญเพียรของกลุ่มนักบวชที่ยังคงสืบทอดกันมา เขาดงคสิริเป็นภูเขาหินปูนลูกโดด อยู่ในแนวเทือกเขาทางตะวันตะวันออกเฉียงเหนือจากแม่น้ำเนรัญชราประมาณ ๑๖ กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ภายในถ้ำมีการสร้างพระพุทธรูปในลักษณะที่ซูบผอม เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น           บ้านนางสุชาดา สถานที่ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นหมู่บ้านและที่พักอาศัยของนางสุชาดา ปัจจุบันพบร่องรอยสถูปทรงโอคว่ำขนาดใหญ่สร้างไว้  พร้อมทั้งยังมีแนวกำแพงและอาคารที่เกี่ยวข้องให้เห็นอยู่บ้าง อยู่ในเขตรัฐพิหาร อยู่คนละฝั่งน้ำกับพุทธคยา ซึ่งขณะนี้รัฐบาลอินเดีย โดยกรมโบราณคดี กำลังวางแผนในการศึกษาต่อไป           แม่น้ำเนรัญชรา  แม่น้ำสำคัญอีกสายหนึ่ง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติในตอนที่พระพุทธเจ้าจะเดินทางเพื่อมาบำเพ็ญเพียรในการตรัสรู้ ลักษณะของแม่น้ำเนรัญชรานั้น เป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ไหลมาจากทางตอนเหนือ พื้นที่โดยทั่วไปเป็นสันทราย จากคำบอกเล่าของชาวอินเดียพบว่า แม่น้ำดังกล่าวจะมีน้ำในเฉพาะช่วงฤดูฝนและประมาณ ๓ เดือนและแห้งไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสภาพที่เป็นสันทรายจึงไม่อุ้มน้ำ           กรุงราชคฤห์ เมืองขนาดใหญ่ ที่อยู่ในเขตเทือกเขา เป็นที่ราบในหุบเขา ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่มีมีภูเขาล้อมรอบ 5 ลูก จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบญจคีรีนคร ตามแนวสันเขานั้นมีแนวกำแพงที่สร้างด้วยหินก่อเป็นสันเพิ่มขึ้นไปจากสันเขาเดิม เป็นปราการหลักของเมือง ซึ่งเมืองนี้มีศักยภาพโดดเด่นในเรื่องของเศรษฐกิจและการค้า ปัจจุบันยังเห็นร่องรอยโบราณสถาน อาทิ แนวกำแพง พุทธสถาน และรอยล้อเวียนโบราณซึ่ง ปรากฏอยู่บนแนวหินภายในเมือง ซึ่งกรุงราชคฤห์           เขาคิชกูฏ เป็นชื่อเรียกเขาที่อยู่ในกรุงราชคฤห์ ตามลักษระสัณฐานที่คล้ายกับหัวแร้ง จึงมีชื่อว่า “คิชกูฏ” เป็นสถานที่สำคัญ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้าครั้นเสด็จมาจำพรรษาแรกที่แห่งนี้ ด้วยการเสด็จมาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร และจำพรรษา ณ เขาคิชกูฏ มีโบราณสถานและถ้ำต่างๆ มามาก เช่น บนยอดเขามีกุฏิของพระพุทธเจ้า และกุฏิพระอานนท์ขนาดเล็กกว่า อยู่ใกล้กันเนื่องจากเป็นพุทธอุปัฏฐาก ถัดลงมามีถ้ำสุกรขาตา ของพระสารีบุตร เป็นต้น และใกล้ๆกันนั้นมีแนวช่องเขาที่เชื่อว่าพระเทวทัตได้กลิ้งหินลงมาหมายจะทำร้ายพระพุทธเจ้า           วัดเวฬุวนาราม (สวนไผ่เวฬุวัน) เดิมเป็นสวนไผ่และเขตอุทยานของพระราชวังพระเจ้า      พิมพิสาร กษัตริย์ผู้ครองเมือง และได้ยกที่ดินนี้ถวายให้แก่พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงทรงมาจำพรรษาในเขตอารามนี้ สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่เกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญคือวันมาฆบูชา คือวันเพ็ญ เดือน ๓ ซึ่งมีการแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ธรรมะซึ่งเป็นแก่นของศาสนาแก่พระอรหันตสาวกที่มาประชุมกัน ๑,๒๕๐ รูป โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน           ตโปธาราม หรือ ตโปธารนที เป็นบ่อน้ำร้อนมีแหล่งต้นน้ำมาจากเทือกเขาสูงในพื้นที่ เดิมเชื่อว่าเป็นสถานที่ซึ่งใช้สอยเป็นน้ำอุปโภคบริโภคของภิกษุสงฆ์ครั้งพุทธกาล และได้เข้ามาใช้พื้นที่โดยศาสนาพราหมณ์ในเวลาต่อมา และมีการแบ่งลำดับชั้นในการใช้น้ำ ทำให้ปัจจุบัน จะพบเห็นการสร้างอาคารและท่อน้ำเป็นลำดับชั้น โดยการอาบน้ำจะเรียงตามวรรณะสูง-ต่ำ ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร ซึ่งเป็นความเชื่อที่ยังคงสืบต่อมาโดยความศรัทธาและยึดมั่นของชาวอินเดียก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง           มหาวิทยาลัยนาลันทา เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของโลก สร้างในเขตพื้นที่ซึ่งเชื่อว่าเป็นมาตุคาม ของพระสารีบุตร ผู้เป็นเลิศในด้านของปัญญาและความรู้ มหาลัยแห่งนี้มีอายุยาวนาน พบโบราณสถานและร่องรอยของพระพุทธรูปตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณ เรื่อยมา โดยเฉพาะสมัยปาละ ซึ่งมีสถูปและพระพุทธรูปซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างจากหินแกรนิตสีดำ เสมือนกับพระพุทธเมตตา ในมหาโพธิเจดีย์ รัฐพิหาร มหาวิทยาลัยนาลันทาล่มสลายลงเมื่อครั้งถูกกองทัพของราชวงศ์โมกุลเข้ามากวาดต้อนพระสงฆ์จนต้องย้ายไปทางแถบเทือกเขาตะวันตก           กูฏาคาร ไวศาลี  เป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงมาจำพรรษาและโปรดกษัตริย์ลิจฉวี ผู้ครองนครเวศาลีหรือไวศาลี โดยเน้นอย่างยิ่งเรื่องสามัคคีธรรม ในระยะต่อมาจักปรากฏวรรณกรรม ที่เกี่ยวข้องและมีมูลเหตุจากเมืองนี้ คือ สามัคคีเภทคำฉันท์ และมีอารามที่สำคัญในเมืองนี้ซึ่งเป็นสถานที่จำพรรษา คือกูฏาคาร วัดป่ามหาวัน ซึ่งมีสถูปขนาดใหญ่และเสาอโศกรูปสิงห์หมอบ ซึ่งเป็นเสาพระเจ้าอโศกที่สมบูรณ์สุดในประเทศอินเดียเท่าที่มีการค้นพบในขณะนี้ สิงห์หันหน้าเข้าหาสถูปและมุ่งหน้าไปทางตะวันตก โดยสันนิษฐานโดยนักโบราณคดีอินเดียว่า หันหน้าไปสู่เมืองกุสินารา สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน กูฏาคารนี้ เป็นสถานที่ซึ่งมีการอุปสมบทภิกษุณีรูปแรกเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา คือ พระนางปชาบดีโคตรมี และมีบทพระสูตรทำน้ำพระพุทธมนต์เกิดขึ้น โดยพระพุทธองค์ทรงมอบให้พระอานนท์นำน้ำจากสระโบกขรณีภายในอาราม และเจริญบทดังกล่าว นำไปประพรมให้แก่ชาวเมือง เพื่อป้องกันภัย และสร้างขวัญกำลังใจให้ช้าวบ้านในเมืองต่อไป           ปาวาลเจดีย์ สถานที่ซึ่งอยู่ในเมืองไวศาลี มีฐานสถูปสมัยอินเดียโบราณ สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบผอบมีอักษรพราหมีสลักอยู่ ว่าบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และในอรรถกถาได้บรรยายถึงว่าสถานที่ดังกล่าว เป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ปลงอายุสังขาร จากการอาราธนาของพระยาสรัสวตีมาร ซึ่งขอให้เสด็จดับขันธปรินิพพาน ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสกับพญามารว่า ในกาลเบื้องหน้าอีก ๓ เดือนจะทรงปรินิพพาน           มกุฏพันธนเจดีย์  สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสารีระของพระพุทธเจ้า ซึ่งอยู่ห่างจากสาลวโนทยานมาทางใต้ประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นสถานที่ซึ่งกษัตริย์มัลละและพระพุทธสาวกมาน้อมสักการะเป็นครั้งสุดท้าย ปัจจุบันมีสถูปก่ออิฐขนาดใหญ่สร้างอยู่           เชตวันมหาวิหาร เป็นอารามที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวายโดยการซื้อที่ดินจากทองคำที่ตนมีจาก เจ้าเชต ซึ่งเป็นเจ้าของสวนนี้ และเป็นที่มาของชื่ออารามแห่งนี้ เชตวันมหาวิหารนี้ อยู่ในเมืองสาวัตถี นครที่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษานานที่สุด ถึง ๑๙ พรรษา พบว่าพระไตรปิฎกและพระสูตรต่างๆ จะกล่าวถึงเมืองนี้อยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะ มงคลสูตร ซึ่งเป็นหลักธรรมที่สำคัญอีกพระสูตรหนึ่ง กล่าวถึงมงคลที่ควรถือปฏิบัติ ๓๘ ประการ หรือพุทธประวัติตอนต่างๆ อาทิ พระพุทธประวัติตอนปาลิไลยก์ พระพุทธประวัติตอนโปรดนางจิญมาณวิกา เป็นต้น ภายในวัตเชตวัน มีการสร้างโบราณสถานมากมาย ประกอบด้วย กุฏิของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นประธานของอาราม กุฏิของพระสาวกองค์สำคัญ อาทิ พระอานนท์ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระสีวะลี นอกจากนั้นยังพบการสร้างสังฆสภาซึ่งเป็นที่ประชุมและลงมติของสงฆ์ในเรื่องต่างๆ ซึ่งกลางอาคารจะมีบ่อที่ก่อด้วยอิฐในการหย่อนฎีกาที่ทำการลงมติหรือชำระความแล้ว ซึ่งเป็นนัยยะว่าจะไม่มีการนำมารื้อฟื้นหรือพูดอีกนอกจากในที่ประชุมครั้งนั้น เมืองสาวัตถีเป็นเมืองที่รุ่งเรืองและมีอาณาเขตกว้างขวาง เป็นที่อยู่ของเศรษฐีหลายตระกูล อาทิ บ้านอนาถบินฑิกเศรษฐี บ้านบิดาขององคุลิมาร เป็นต้น           คงคานที เป็นแม่น้ำที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยเฉพาะจุดที่ไหลผ่านเมืองพาราณสี ตามคัมภีร์กล่าวว่า พระแม่คงคาไหลมาจากมวยผมของพระศิวะเพื่อมาล้างบาปและส่งดวงวิญญาณสู่สวรรค์ จึงเป็นที่มาของพิธีกรรมต่างๆ มากมายที่เมืองพาราณสีซึ่งยังคงคติความเชื่อสืบทอดกันมากว่า ๓,๐๐๐ ปี อาทิ การอาบน้ำในคงคา เพราะเชื่อว่าจะล้างบาปและสิ่งชั่วร้ายออกจากร่างกายและจิตวิญญาณได้ การอารตี หรือการบูชาด้วยไฟและบทโศลก ซึ่งในเวลาเย็น ผู้คนมากมายจะมารวมกันที่ท่าทศวเมศ เพื่อร่วมพิธีบูชาโดยพราหมณ์ ๕ คนจะเป็นผู้ดำเนินพิธี ซึ่งนอกจากนี้ริมแม่น้ำคงคายังเป็นสถานที่เผาร่างของผู้ตาย และส่งวิญญาณไปอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า โดยมีสายน้ำคงคาเป็นตัวกลาง เมืองพาราณสีจึงเป็นเมืองที่ยังปรากฏร่อยรอยความเชื่อและพิธีกรรม หรือนักบวชที่สืบทอดความคิดของลัทธิตนอยู่อย่างเคร่งครัด ด้วยความศรัทธา จึงอาจจะกล่าวได้ว่า อินเดียเมื่อ ๓,๐๐๐ ปีก่อนดำเนินให้เห็นอยู่ ณ เมืองพาราณสี ในปัจจุบัน ๑๐.  ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม -


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          ธรรมเทศนา                                    ชาดก                                    นิทานคติธรรมประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    58 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534


เลขทะเบียน : นพ.บ.30/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  34 หน้า  ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 16 (175-181) ผูก 6หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาธมฺม --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.54/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  48 หน้า ; 4.8 x 58 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 35 (353-358) ผูก 4หัวเรื่อง :  วิธูรบัณฑิต --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง : ตำนานพระแก้วมรกต และตำนานพระพุทธสิหิงค์ ผู้แต่ง : วิจิตรวาทการ, พลตรี หลวง ปีที่พิมพ์ : 2513 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : มงคลการพิมพ์


ชื่อเรื่อง : ตามใจท่าน ชื่อผู้แต่ง : เช็กสเปียร์, วิลเลี่ยม ปีที่พิมพ์ : 2508 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา จำนวนหน้า : 316 หน้า สาระสังเขป : เรื่องตามใจท่าน เป็นบทละครของวิลเลียม เชกสเปียร์ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลและประพันธ์เป็นกาพย์ภาษาไทย เรื่องตามใจท่าน มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า As you like it  เป็นเรื่องราวของ 3 พี่น้อง คือ ออลิเวอร์ ยาคส์ และออร์ลันโด  ออร์ลันโดถูกเลี้ยงไว้อย่างคนบ้านนอกไม่ได้เรียนหนังสือ วันหนึ่งมีการแข่งขันมวยปล้ำออร์ลันโดได้เอาชนะคู่แข่งที่เป็นนักมวยปล้ำของผู้ครองนครได้ทำให้รอสะสินด์ บุตรสาวของพระเชษฐาผู้ครองนคร ตกหลุมรักออร์ลันโด  จึงถูกเนรเทศโดยมีเซเลียซึ่งเป็นธิดาของผู้ครองนครตามไปด้วย รอสะลินด์ปลอมตัวเป็นชาย  ออร์ลันโดได้พบกับผู้ครองนครคนเก่าและได้เป็นคนรับใช้พอมีเวลาว่างก็ออกมาหารอสะลินด์ ต่อมาไม่นานออลิเวอร์ได้พบรักกับเซเลีย และรอสะลินด์ก็แสดงตัวจริงทำให้หนุ่มสาว ๒ คู่ได้ครองคู่กันอย่างมีความสุข