ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,749 รายการ



ชื่อเรื่อง : เจ้าเจ็ดตน กับ พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง และเมืองลำพูนไชย ผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท. สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ



เลขทะเบียน : นพ.บ.53/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 51.3 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 34 (344-352) ผูก 8หัวเรื่อง :  จตุกฺกนิบาต --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


วันศุกร์ที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. ชุดตรวจศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง กองบัญชาการกองทัพไทย (ศปม.บก.ทท.) ได้เข้าตรวจติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนคลาย การบังคับใช้บางมาตรการในการป้องกัน ระงับยับยั้งโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ พร้อมทั้งให้คำแนะนำเพิ่มเติมและเน้นย้ำการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัดต่อไป


ชื่อเรื่อง : รามเกียรติ์ เล่ม 8 ชื่อผู้แต่ง : พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2507 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา จำนวนหน้า : 388 หน้า สาระสังเขป : พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราชนิพนธ์เป็นกลอนบทละคร  ดำเนินเรื่องโดยการเล่าเรื่องติดต่อกันตั้งแต่ต้นจนจบ พระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ เล่ม 8 เริ่มจากตอน หนุมานออกรบแต่ผู้เดียว หนุมานและองคตถวายกล่องดวงใจ พระรามแผลงศรต้องทศกัณฐ์ นางสีดาขอลุยไฟเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ งานพระเมรุทศกัณฐ์ พระรามยกทัพข้ามแม่น้ำสะโตง นางมณโฑประสูติไพนาสุริยวงศ์ จนถึงตอนไพนาสุริยวงศ์คิดจะไปหาท้าวจักรวรรดิ


ว่าด้วย ตำรายาเกร็ด อักษรขอม – ไทย ภาษาบาลี – ไทย เช่น แก้คางแข็ง, แก้สะอึก, แก้สเลด, แก้แสบทั้งตัว, แก้อีดำอีแดง, แก้มัว ฯลฯ


อันตรคาถาในพระธรรมปทัฏฐกถา. พระนคร : โรงพิมพ์พานิชศุภผล, 2469.               อันตรคาถาในพระธรรมปทัฏฐกถา นี้ เป็นหนังสือคู่กับหนังสือธรรมสมบัติ หมวด 12 ของพระธรรมปาโมกข์ แจ่ม มีเนื้อหาของคาถาสำหรับเรื่องที่พระศาสดาทรงปรารภ







ชื่อเรื่อง : เวียงท่ากาน 1 ผู้แต่ง : กองโบราณคดี กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2534 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : สมาพันธ์


เอกสารจดหมายเหตุ กับการสำรวจทางโบราณคดีใต้น้ำ : กรณี"เรือล่มที่เกาะมัน"   เอกสารจดหมายเหตุ เป็นเอกสารสำคัญระดับปฐมภูมิ ที่น่าเชื่อถือได้จนสามารถใช้เป็นหลักฐานในฐานะ"พยาน"ได้เป็นอย่างดี   ใน พ.ศ.2546 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี ได้รับมอบเอกสารสำคัญ พร้อมกับกรมศิลปากรได้ขอใช้อาคารโบราณสถาน"ศาลารัฐบาลมณฑลจันทบุรี"จากจังหวัดจันทบุรี ให้เป็นสำนักงานหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี   เอกสารสำคัญดังกล่าวจำนวนกว่าล้านหน้าได้รับการประเมินตามมาตรฐานงานจดหมายเหตุแล้วมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์สมควรได้รับการคัดเลือกเป็น"เอกสารจดหมายเหตุ" อายุของเอกสารชุดนี้เริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ.2449 ถึง พ.ศ.2522   ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานต่อเนื่องกัน ดังนั้นเหตุการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์จึงได้รับการบันทึกไว้ ยกตัวอย่างเอกสารเรื่อง"เรือล่มที่เกาะมัน" เป็นเรื่องราวที่เชื่อมโยงกับแหล่งขุดค้นใต้น้ำของกองโบราณคดีใต้น้ำ ที่ต้องการศึกษาค้นคว้า เพราะเกี่ยวข้องกับเรือเมล์ที่จมอยู่บริเวณหน้าเกาะมันนอก*จังหวัดระยอง   จากเอกสารจดหมายเหตุระบุว่า ใน พ.ศ.2464 มีเรือกลไฟของบริษัทฝรั่งเศสชื่อ "แฟรนซิสกาเนียร์" หรือมีชื่อเรียกของลูกเรือว่า"เรือสิงห์โตเฮง /ชิงตงเฮง/โมโฮ"ซึ่งเป็นเรือเมล์บรรทุกคนและสินค้า ขึ้นล่องทางชายทะเลตะวันออก ระหว่างกรุงเทพฯถึงเกาะกง(เมืองปัจจันตคีรีเขตต์)เขตแดนของฝรั่งเศส   ระหว่างขากลับถึงบริเวณเกาะมัน จังหวัดระยอง เกิดพายุและคลื่นใหญ่ในทะเล ผู้ประสบภัย(พ่อครัวทำอาหารบนเรือ)เล่าว่า...เรือเมล์เที่ยวนี้เพียบมากกว่าทุกเที่ยว ...มีสินค้าเยอะมาก...บรรทุกอ้อยถึง4,000 ลำ...เรือเมล์แล่นพ้นจากเขาแหลมสิงห์ก็ถูกคลื่นและพายุบ้าง...เรือก็ตะแคงซ้ายมือบ้างแล้ว แต่ยังแล่นได้ต่อ... ...ห่างไกลจากเขาแหลมสิงห์มาก ที่ตรงนั้นจะเรียกว่าอะไรนั้นไม่รู้จักให้เกิดพายุจัดคลื่นใหญ่ เรือได้ตะแคง...   ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้สั่งการให้นายอำเภอแหลมสิงห์ สอบสวนเหตุการณ์ที่เรืออับปาง มีรายงานว่า...เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2464 เรือแฟรนซิสกาเนียร์ ได้ออกจากปากน้ำจันทบุรี เวลาประมาณเที่ยงคืน ครั้นเวลา 2 ก.ท.(ตี 2 :ผู้เขียน)เรือจมเพราะเหตุบรรทุกสินค้าเพียบ เมื่อเรือเดินไปถึงหน้าเกาะมันได้ถูกคลื่นแลลมจัด น้ำเข้าตอนท้ายไม่สามารถจะสูบเอาน้ำออกให้หมดได้ เรือจึงอับปางลงในเวลาประมาณ 40 นาที ไม่ได้โดนโสโครกอย่างใด... ซึ่งตรงกับคำให้การของพยานหลายคนที่รอดตายได้ให้ปากคำกับตำรวจที่ดำเนินการสอบสวนในเรื่องนี้   จากเหตุการณ์เรือล่มในครั้งนี้ มีผู้โดยสารมากับเรือประมาณ 55 คน พบผู้ที่พ้นภัยแห่งเรืออับปาง 20 คน... ...เมื่อเวลาผ่านไปเป็นร้อยปี กระแสข่าวลือเรื่องเรือลำนี้จากปากของชาวบ้านระแวกนั้นกลายเป็น"เรือผีสิง"และขอให้กองโบราณคดีใต้น้ำไปช่วยตรวจสอบ   จึงเป็นที่มาของการสืบเสาะหาข้อเท็จจริงจากเอกสารจดหมายเหตุของนักโบราณคดีใต้น้ำ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการกู้คืนของเรือดังกล่าวเพื่อการอนุรักษ์ต่อไป   ส่วนข้อสันนิษฐานถึงขนาดของเรือ ไม่มีระบุในเอกสาร และไม่มีรูปภาพ แต่เรือลำนี้เฉพาะกัปตันและคนงานที่อยู่เรือมีถึง 33 คน   ******************* *เกาะมัน มี 3 เกาะ ได้แก่ เกาะมันนอก เกาะมันใน และเกาะมันกลาง   ผู้เขียน สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี   เอกสารอ้างอิง -หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี.(13)มท2.3.1/145 เอกสารกระทรวงมหาดไทยชุดมณฑลจันทบุรี.เรื่องเรือล่มที่เกาะมัน จังหวัดระยอง(พ.ศ2464) -หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี.(13)มท2.3.1/146 เอกสารกระทรวงมหาดไทยชุดมณฑลจันทบุรี.เรื่องเรือเมล์แฟรนซีศกาเบียร์ของบริษัทฝรั่งเศสล่มที่น่าเกาะมัน เขตร์จังหวัดระยอง(พ.ศ2464)



ผู้แต่ง : ลิลิตตำรานพรัตน์ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 4 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2512 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางรักษ์ราชหิรัญ (ชิญ หังสสูต)               หนังสือตำรานพรัตน์นี้ เป็นตำราแก้ว 9 ประการ ประกอบด้วย เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย แสดงกำเนิดและลักษณะของนพรัตน์ ลักษณะบางประการอันให้คุณและโทษแก่เจ้าของตามคติซึ่งเชื่อกันมาแต่โบราณ และกล่าวกันถึงค่าของรันตเหล่านี้ด้วย


Messenger