ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,640 รายการ

งานเทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี 2566 ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 8-12 พฤศจิกายน 2566





สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ขอเเสดงความเสียใจต่อการจากไปของ นายจันทร์ สมนาค อาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลมรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อสมศ.) อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคชรา ด้วยวัย 74 ปี มา ณ โอกาสนี้ . นายจันทร์ สมนาค นับเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญในการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะปราสาทบ้านปราสาทแห่งนี้ให้ธำรงอยู่คู่ชาติ เเละจังหวัดศรีสะเกษ สืบไป


การดำเนินงานถากถางกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางบนตัวโบราณสถาน ปราสาทศีขรภูมิ ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ นายณรงค์ ชินนุแหน พนักงานดูแลรักษาโบราณสถาน และคณะ





          หอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชวนร่วมงานเสวนาเรื่อง จากบุพเพสันนิวาสสู่พรหมลิขิต : พลังแห่งวรรณกรรมสู่ซอฟต์พาวเวอร์ วิทยากรโดย จันทร์ยวีร์ สมปรีดา นักประพันธ์เจ้าของนามปากกา "รอมแพง" ภายในงานมีกิจกรรมสาธิตการทำขนมไทยฉบับในวัง การแสดงเครื่องเเต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์ และหนังสือแนะนำให้อ่านตามรอยวรรณกรรม  ในวันอังคาร ที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 - 16.30 น.  ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ  (*รับจำนวนจำกัดเพียง 70 ท่าน และขอปิดรับสมัครเมื่อมีผู้ลงทะเบียนครบตามจำนวน) ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าด้วยการสแกน QR Code หรือทาง https://forms.gle/Et7o37wozX9AH6537            ทั้งนี้ ผู้สนใจที่ลงทะเบียนไม่ทัน หรือไปร่วมงานไม่ได้ ยังสามารถรับชมการถ่ายทอดสดการเสวนาดังกล่าวได้ผ่านทาง Facebook Live: National Library of Thailand


          หลังจากผ่านพ้นกิจกรรมการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง อัตลักษณ์ทับหลังปราสาทพิมาย และทับหลังพบใหม่ในจังหวัดนครราชสีมาไปแล้ว เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับทับหลัง กรมศิลปากรมีไฟล์เอกสารประกอบการเสวนามาแจก ฟรี!! โดยทุกท่านสามารถดาวน์โหลดได้ผ่านQR หรือทางลิงก์ ที่นี่





แนะนำ หนังสือน่าอ่าน เรื่อง นิราศเมืองแกลง โดยสุนทรภู่ แปลโดย เสาวนีย์ นิวาศะบุตร เสาวนีย์ นิวาศะบุตร. นิราศเมืองแกลง โดย สุนทรภู่ แปลโดย เสาวนีย์ นิวาศะบุตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์, ๒๕๕๘. ๒๑๕ หน้า.                       วรรณคดีไทยเป็นสิ่งที่แสดงอารยธรรมของภาษา ประเทศที่มีวรรณคดีจำนวนมากแสดงถึงความรุ่งเรืองของประเทศนั้น กวีและนักเขียนที่ปราดเปรื่องสามารถสร้างสรรค์ผลงานซึ่งเป็นการใช้ระเบียบภาษาระดับสูงไว้เป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ กวีเอกสุนทรภู่ ได้สร้างผลงานวรรณคดีพระอภัยมณี และนิราศต่างๆ ซึ่งมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การที่อนุชนในยุคสมัยต่อมาได้มุ่งมั่นศึกษาและนำวรรณคดีของชาติออกเผยแพร่สู่ประชาชนและเยาวชน จึงเป็นคุณูปการอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการเผยแพร่สู่ต่างประเทศ ซึ่งความสนใจงานของสุนทรภู่มิได้จำกัดขอบเขตเพียงภายในประเทศเท่านั้น ยังมีนักวิชาการและผู้สนใจชาวต่างประเทศจำนวนไม่น้อยที่สนใจและศึกษาดูงานของสุนทรภู่ด้วย การที่คุณเสาวนีย์ นิวาศะบุตร ได้ศึกษาค้นคว้าและแปลนิราศเมืองแกลงของสุนทรภู่ด้วยความอุตสาหะ จึงนับว่าเป็นสิ่งที่สมควรยกย่อง        ท  895.9112   ส789น (ห้องจันทบุรี)      


Messenger