ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,664 รายการ

          กรมศิลปากร ได้พัฒนาและขับเคลื่อนภารกิจงานด้านมรดกวัฒนธรรมของชาติ ไม่ว่าจะเป็นงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ งานด้านภาษา เอกสารและหนังสือ งานนาฏศิลป์และดนตรี งานสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและช่างศิลป์ไทย ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องเศรษฐกิจวัฒนธรรมสร้างสรรค์บนพื้นฐานของทุนทางวัฒนธรรม รวมถึงนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการทำงาน ทั้งการให้บริการและการเผยแพร่ผลงานของกรมศิลปากรในทุกด้าน ซึ่งปัจจุบันกรมศิลปากรมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ทางวิชาการผ่านแพลทฟอร์มออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ก ยูทูบ อินสตราแกรม รวมทั้งยังได้จัดทำ LINE OFFICIAL ของกรมศิลปากร เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้มรดกศิลปวัฒนธรรม และการบริการของกรมศิลปากรได้ง่ายยิ่งขึ้น           ขอเชิญติดตามข้อมูลข่าวสารกรมศิลปากรผ่านทาง LINE OFFICIAL เพียงเพิ่มเพื่อน โดยสแกน QR CODE หรือ ค้นหา ID : @finearts หรือพิมพ์คำว่า กรมศิลปากร ในช่องค้นหาบัญชีทางการ เมื่อเพิ่มเพื่อนแล้ว จะมี “น้องรักษา” พาทุกท่านไปติดตามข้อมูลข่าวสาร และความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมทุกที่ ทุกเวลา


ชื่อเรื่อง                         มหานิปาต(เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกปาลิขุทฺทกนิกาย(คาถาพัน)อย.บ.                            170/1งหมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  66 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                         มหาเวสสันดรชาดก                                                               บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา


           วันนี้ (วันศุกร์ที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๖) เวลา ๐๘.๓๐ น. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นำคณะผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม วางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องใน "วันนวมินทรมหาราช" ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหาร และข้าราชการกระทรวงวัฒนธรรม เข้าร่วม ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เขตดุสิต กรุงเทพฯ


วัดบางขนุน บ้านตากแดด ตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี  มีศิลปะกรรมทรงคุณค่ามากมาย และพระอุโบสถที่ยังหลงเหลือฐานแอ่นโค้งทรงสำเภาแบบศิลปกรรมสมัยอยุธยา วัดบางขนุนเป็นวัดเล็กๆ ที่ซ่อนตัวอยู่ในสวนหลีกหลบสังคมมหานครเมืองใหญ่ที่ค่อยๆลุกล้ำเข้ามา ยังโชคดีที่พระท่านช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสเข้าไปศึกษาเรียนรู้ ถ้าไม่สนทนาธรรมกับพระท่านในวัดก็จะแทบไม่ทราบเลยว่ามีงานศิลปะที่เก่าแก่มากที่เก็บรักษาไว้บางชิ้นอาจเก่าไปได้ถึงช่วงอยุธยากลางถึงตอยปลายเลย นั้นหมายถึงอายุของวัดอาจมีมาก่อนประวัติที่บันทึกไว้เสียอีก เช่น หอไตรกลางน้ำเป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ภายในมีจิตรกรรมและบานประตูหน้าต่าง มีตู้พระธรรมลายรดน้ำบางใบเขียนเรื่องรามเกียรติ์ที่มีความงดงาม วัดยังมีธรรมาสน์ไม้อาจมีอายุเก่าถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง-ปลาย และธรรมมาสงามอีกสามหลัง ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติ เหลือภาพพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ และมารผจญ มีเทพชุมนุม บานประตูเขียนเป็นภาพเสี้ยวกางเครดิต : Thawatchai Ramanatta กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร


สิงโตในวัฒนธรรมจีนหากได้มีโอกาสไปเที่ยวชมตามวัดหรือศาลเจ้าจีน เรามักจะพบประติมากรรมรูปสัตว์ชนิดหนึ่งรูปร่างประหลาดเฝ้าอยู่หน้าประตูทางเข้าซึ่งชาวจีนจะเรียกสัตว์ดังกล่าวว่า สิงโต (狮, Shi) อันเป็นสัตว์ที่อยู่คู่กับวัฒนธรรมจีนมาช้านานแม้จะไม่ได้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนก็ตาม ทำให้ชวนสงสัยว่าชาวจีนได้รับอิทธิพลเกี่ยวกับสิงโตมาจากที่ไหนมีนักวิชาการเสนอแนวคิดเกี่ยวกับสิงโตไว้หลากหลาย บ้างว่าเป็นอิทธิพลของพุทธศาสนาจากอินเดีย บ้างก็เชื่อว่ามาจากการติดต่อค้าขายกับชาวเปอร์เซียผ่านเส้นทางสายไหมในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. ๓๔๑ – ๕๕๑) ซึ่งมีการนำสิงโตมาถวายเป็นบรรณาการดังปรากฏในบันทึกสมัยนั้น ชาวจีนได้ผสมผสานความเชื่อจากดินแดนต่าง ๆ เข้าด้วยกันจนเกิดเป็นลักษณะทางศิลปกรรมของสิงโตจีนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะและผิดแผกไปจากสิงโตในป่า ทั้งนี้ ชาวจีนเชื่อว่าสิงโตเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจ การปกปักษ์คุ้มครอง ความมั่งคั่ง และช่วยขับไล่สิ่งชั่วร้าย จึงมักพบประติมากรรมรูปสิงโตทำหน้าที่เป็นทวารบาลเฝ้าอยู่หน้าทางเข้า ศาสนสถาน อาคารสำคัญ หรือบ้านเรือนของชาวจีนมาช้านาน โดยนิยมสร้างเป็นรูปสิงโตตัวผู้และตัวเมียคู่กันซึ่งแตกต่างกันตรงที่ตัวผู้จะมีลูกบอลอยู่ใต้อุ้งเท้าขวา ส่วนตัวเมียจะมีลูกสิงโตอยู่ใกล้ ๆ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สื่อถึง หยิน – หยาง พลังงานสองขั้วของจักรวาลตามหลักปรัชญาจีน ไม่เพียงเท่านั้น สิงโตยังปรากฏในงานศิลปะแขนงอื่นของจีนอีกด้วย อาทิ การเชิดสิงโต หรือแม้แต่ในการผลิตเครื่องถ้วยซึ่งเริ่มนำสิงโตมาใช้ตกแต่งเครื่องลายครามตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ. ๑๙๑๑ – ๒๑๘๗) เป็นต้นมาความเชื่อและงานศิลปะเกี่ยวกับสิงโตของจีนเผยแพร่ไปยังดินแดนต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกและเอเชียอาคเนย์ผ่านการติดต่อค้าขายและการแลกเปลี่ยนของผู้คน จึงไม่น่าแปลกที่เราจะพบงานศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากสิงโตจีนในไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนมาแต่สมัยโบราณจวบจนปัจจุบัน


ชื่อผู้แต่ง               ดร.วิไล ณ ป้อมเพชร และ พลตรีถวิล อยู่เย็น ชื่อเรื่อง                    อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ พันตรี หลวงวิศาล โยธิน (กิม ธนพุทธิ) ครั้งที่พิมพ์                - สถานที่พิมพ์            กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์               บริษัท วัชรินทร์ การพิมพ์ จำกัด ปีที่พิมพ์                  ๒๕๒๓ จำนวนหน้า            ๑๗๖ หน้า. หมายเหตุ               อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พันตรีหลวงวิศาลโยธิน (กิม ธนพุทธิ) รายละเอียด           หนังสือที่ระลึกงานเล่มนี้นำเรื่องสงครามโลกครั้งที่ ๑ ค.ศ. ๑๙๑๔ - ๑๙๑๙ โดยดร.วิไล ณ ป้อมเพชร รวม ๖ บท ประกอบด้วย บทที่ ๑  ยุโรปต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ บทที่ ๒ เหตุการณ์ที่นำไปสู่สงคราม บทที่ ๓ จุดเริ่มของสงคราม บทที่ ๔ การรบ บทที่ ๕ สู่สันติภาพและภาคผนวกเหตุการณ์สำคัญๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พร้อมทั้งลำดับเหตุการณ์สำคัญในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ที่เกี่ยวข้องกับคนไทยโดยพลตรีถวิล อยู่เย็นตลอดจนผนวก ช ผลของการส่งทหารไทยไปร่วมรบและปิดท้ายด้วยตำรายากลางบ้าน.



ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.67 ตำรายาแผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยดำISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ              55; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    ตำรายาแผนโบราณ                    ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดอู่ทอง ต.โคกคราม  อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ


         พระพุทธรูปสำริดปางแสดงธรรม (วิตรรกะมุทรา)          แบบศิลปะ : ทวารวดี           ชนิด : สำริด          อายุสมัย : ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 - 14 หรือราว 1,200 - 1,300 ปีที่ผ่านมา          ลักษณะ : พระพุทธรูปยืนแสดงปางวิตรรกะ(แสดงธรรม) ด้วยการจีบพระอังคุฐ(นิ้วหัวแม่มือ) พระดรรชี(นิ้วชี้) จรดกันเป็นวง(ธรรมจักร) พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิกโด่งใหญ่ พระโอษฐ์อมยิ้ม มีประภามณฑลเบื้องหลังพระเศียร ครองจีวรเรียบห่มคลุม พระพุทธรูปองค์นี้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลศิลปะอินเดียสมัยคุปตะและหลังคุปตะ ซึ่งเป็นศิลปะในพุทธศาสนานิกายมหายานได้เข้ามามีบทบาทต่อศิลปะทวารวดีและศิลปะอื่น ๆ ที่ร่วมสมัยกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างมาก วิตรรกมุทรา คือท่าแสดงธรรม โดยการตั้งฝ่ามือขึ้น หันฝ่ามือออกนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จรดเข้าหากันเป็นวงคล้ายรูปธรรมจักร เพื่อแสดงการเคลื่อนวงล้อแห่งธรรม ซึ่งปางแสดงธรรมนี้มีพัฒนาการมาจากปางธรรมจักมุทราของศิลปะอินเดีย          ประวัติ : เจดีย์หมายเลข 11 เมืองโบราณอู่ทอง          สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/uthong/360/model/c02/   ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/uthong


ชื่อเรื่อง                     ลำพญา นราภิรมย์ : ประวัติศาสตร์ชุมชนริมแม่น้ำนครชัยศรีนาม "ลำพญา"ครั้งที่                        -ผู้แต่ง                       อภิลักษณ์ เกษมผลกูลประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                   ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยวเลขหมู่                      959.372 ล339สถานที่พิมพ์               กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                 ศูนย์สยามทรรศ์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลปีที่พิมพ์                    2561ลักษณะวัสดุ               148 หน้า : มีภาพประกอบ ; 21 ซม.หัวเรื่อง                     ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น                              นครปฐม – ประวัติศาสตร์                              นครปฐม – ความเป็นอยู่และประเพณีภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก          รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นและชุมชนลำพญา ทั้งด้านประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าจากคนในชุมชนเพื่อเผยแพร่เรื่องราวของชุมชนลำพญาให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย



            สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยกลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ จัดนิทรรศการเรื่อง "เมนูสำรับ กับข้าวเจ้านายในราชสำนักสยาม"  จัดแสดงหนังสือ ตำรา เอกสารโบราณ ภาพประกอบ และสื่อมัลติมีเดียที่เกี่ยวกับอาหารชาววัง หรือที่เรียกอีกอย่างว่ากับข้าวเจ้านาย ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงความประณีตและวิจิตรบรรจงแบบไทย               นิทรรศการ "เมนูสำรับ กับข้าวเจ้านายในราชสำนักสยาม" จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมการบริโภคของเจ้านายในสมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ จนไปถึงพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น เครื่องคาวหวานที่ปรากฎในวรรณคดี กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ที่ทรงพรรณนาถึงพระกระยาหารไทย ซึ่งปรากฎในพระราชนิพนธ์เรื่อง ไกลบ้าน จนถึงสูตรอาหารพระราชทานจากรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบรมวงศานุวงศ์ นอกจากนี้ยังจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับตำรับอาหารของเจ้านาย และบุคคลที่เคยรับใช้ใกล้ชิดหรือมีสายสัมพันธ์กับราชสำนัก ซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิชาการปรุงอาหารและนำมารวบรวมเป็นตำราอาหารเผยแพร่ในเวลาต่อมา เช่น ตำรับสายเยาวภา ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท พระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ตำรับของหม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์ ผู้ซึ่งได้รับวิชาการปรุงอาหารจากพระวิมาดาเธอ พระองค์สายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ตำรับของหม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม ดิศกุล เป็นต้น              ภายในนิทรรศการยังจัดแสดงหนังสือเกี่ยวกับตำราอาหารชาววัง และตำราอาหารพระราชทาน เช่น ตำรากับข้าวฝรั่ง พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 ตำรากับข้าววังบางขุนพรหม ครัวสระปทุม พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราช กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี              ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ในวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 09.00 - 16.30 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 17.00 น. หยุดวันนักขัตฤกษ์ และวันหยุดตามมติคณะรัฐมนตรี ณ ห้องวชิรญาณ 2 - 3 อาคาร 2 ชั้น 1 สำนักหอสมุดแห่งชาติ เขตดุสิต กรุงเทพฯ


            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ประจำเดือน "สิงหาคม" เชิญพบกับ "นางปรัชญาปารมิตา"             โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ ได้แก่ "นางปรัชญาปารมิตา" เป็นสำริด สมัยลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๘ ขนาดยาว ๑๐.๕ เซนติเมตร กว้าง ๓ เซนติเมตร ลักษณะนางปรัชญาปารมิตาประทับยืนบนฐานรูปสี่เหลี่ยม สวมเทริดแบบขนนก พระพักตร์เหลี่ยม พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์แบะ สวมกุณฑลและกรองค้อ นุ่งผ้ายาวชักชายผ้ารูปหางปลาลงมาด้านหน้า สภาพชำรุด พระกรหักหายไปทั้งสองข้าง สันนิษฐานว่าพระกรน่าจะถือสิ่งของอยู่ด้วย พบที่ตำบลหนองแจง อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี นิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับนางปรัชญาปารมิตา สุพรรณภูมิกับอิทธิพลขอมโบราณ รัตนตรัยมหายาน และเมืองโบราณบ้านหนองแจง             ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ "นางปรัชญาปารมิตา" ได้ในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๗ เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร  ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือเฟสบุ๊ก: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี Suphanburi National Museum



           สำนักการสังคีต  กรมศิลปากร ขอเชิญชมการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์  ชุด “รามามหาบารมี” วันอาทิตย์ที่  22 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 13.00 น. ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงจังหวัดนครราชสีมา นำแสดงโดยศิลปินสำนักการสังคีต กำกับการแสดงโดยปกรณ์  พรพิสุทธิ์ อำนวยการแสดงโดย นายลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต            บัตรราคา 100 ,80 , 60 , 40 บาท เริ่มสำรองที่นั่งได้ตั้งแต่วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา เวลา 09.30 - 15.30 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. 0 4446 6202 , 0 4446 6203 https://www.facebook.com/korattheatre