ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,756 รายการ
กองโบราณคดี โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี ร่วมกับมูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา จัดโครงการเรียนรู้ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทย ครั้งที่ 2 หัวข้อ “จากโบราณคดีบนความขัดแย้งสู่องค์ความรู้ก่อนประวัติศาสตร์ไทย” เปิดรับสมัครอาสาผู้มีวิชาชีพครู จำกัดจำนวนเพียง 30 ท่าน เข้าร่วมโครงการเรียนรู้ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทย ระหว่างวันที่ 4-5 พฤศจิกายน 2566 ณ จังหวัดกาญจนบุรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และได้รับเกียรติบัตรจากกรมศิลปากร
โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อนำอาสาเรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเชิงโบราณคดีแห่งความขัดแย้ง (Conflict Archaeology) จากสงครามโลก ครั้งที่ 2 อันนำมาซึ่งการค้นพบและการศึกษาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistoric Archaeology) ในประเทศไทย ถ่ายทอดองค์ความรู้โดยคณะวิทยากรจากกรมศิลปากร อาทิ คุณสุภมาศ ดวงสกุล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี, ดร.ภัทรวรรณ พงศ์ศิลป์ กองโบราณคดี และคุณศุภภัสสร หิรัญเตียรณสกุล สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในเพจเฟสบุ๊ก มูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา (https://www.facebook.com/Suthiratfoundation)
วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี
เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” ซึ่งมีความหมายว่า “พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน” ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น “วันปิยมหาราช”
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 พระนามเดิมว่า “สมเด็จ เจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์” เมื่อพระชนม์ 9 พรรษาได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ ต่อมาอีก 4 ปี ได้เลื่อนเป็น “กรมขุนพินิตประชานาถ”
เสด็จขึ้นครองราชย์ มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 16 ปี ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ พระมหาอุปราช
เมื่อมีพระชนมายุใกล้บรรลุนิติภาวะได้ทรงผนวชเป็นภิกษุ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2416 และลาผนวช เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2416 แล้วโปรดให้มีกสารราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2416 เพื่อแสดงให้ประชาชนและชาวต่างชาติทราบว่าพระองค์ทรงรับผิดชอบในการปกครองบ้านเมืองด้วยพระองค์เองแล้ว
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ได้แก่ การเลิกทาส การปฏิรูประเบียบบริหารราชการ การศึกษา การศาล การคมนาคม การสุขาภิบาล ฯลฯ
การเลิกทาส พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ให้มีการเลิกทาสให้เป็นไทตั้งแต่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ ด้วยทรงไม่ต้องการให้มีการกดขี่เหยียดหยามคนไทยด้วยกันเอง และทรงเห็นว่าการมีทาสเป็นสิ่งที่ล้าสมัย ไม่เหมาะกับประเทศที่เจริญแล้ว พระองค์ได้ทำการปรึกษาราชการแผ่นดินในหลายฝ่ายเพื่อหาวิธีไม่ให้มีเหตุกระทบกระเทือนต่อตัวทาสและเจ้าของทาส ดังนั้นในปี พ.ศ. 2416 พระองค์ได้ทรงตราพระราชบัญญัติทาส ห้ามคนที่เกิดในรัชกาลปัจจุบันเป็นทาส และต่อมาพระองค์ทรงตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2417 ด้วยพระวิริยะอุตสาหะทำให้ทรงประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการปลดปล่อยทาสให้เป็นไทโดยไม่ต้องสูญเสียเลือดเนื้อแม้แต่หยดเดียว
นอกจากนี้ การเสด็จประพาสต้น ก็เป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะดูแลทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิด ดังนั้น จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการเสด็จพระราชดำเนินเป็นการลับทางรถไฟหรือไม่ก็ทางเรือ ทรงแต่งพระองค์อย่างสามัญชน เพื่อทอดพระเนตรชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 สิริรวมพระชนมายุได้ 58 พรรษา ครองราชสมบัตินานถึง 42 ปี นับเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ ด้วยทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่พระปรีชาสามารถ และเป็นที่รักยิ่งของพสกนิกรไทย สมกับพระราชสมัญญา "พระปิยมหาราช” ซึ่งแปลความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน”
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง ชีวประวัติและปฏิปทาหลวงปู่จันทร์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพ ฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์บำรุงนุกุลกิจ
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๒
จำนวนหน้า ๒๗๓ หน้า
หมายเหตุ จัดพิมพ์ในงานเสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานเพลิงศพพระเทพสิทธาจารย์ (เขมิยเถระ จันทร์
สุวรรณมาโจ)
รายละเอียด หนังสือที่ระลึกงานศพท่านเจ้าคุณปู่พระเทพสิทธาจารย์ (เขนิโย จันทร์ สุวรรณมาโจ) วัดศรีเทพประดิษฐาราม จ. นครพนม เนื้อหาสาระของหนังสือเป็นการรวมเรื่องจากหนังสือหลายเรื่อง เช่น ชีวประวัติและปฏิปทาหลวงปู่บุญญาธิการหลวงปู่ ชีวประวัติย่อ พระธรรมเทพเทศนาสั่งสอนประชนชนหลวงปู่และโอวาท.
ชื่อเรื่อง สพ.ส.66 ตำรายาแผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยดำISBN/ISSN -หมวดหมู่ เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ 29; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง ตำรายาแผนโบราณ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดอู่ทอง ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ
สิงห์สำริด
แบบศิลปะ : ทวารวดี
ชนิด : สำริด
ขนาด : กว้าง 5.5 เซนติเมตร สูง 10.5 เซนติเมตร
อายุสมัย : ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 - 14 (หรือราว 1,200 - 1,300 ปีมาแล้ว)
ลักษณะ : สิงโตเป็นสัตว์สำคัญที่ปรากฏในงานศิลปะมาตั้งแต่สมัยทวารวดีจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากประเทศอินเดีย เนื่องจากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ปรากฏสัตว์ดังกล่าวอยู่ในธรรมชาติสิงโตสำริดชิ้นนี้เป็นของหาได้ยาก นอกจากจะมีขนาดเล็กและหล่อด้วยโลหะสำริดแล้ว ฝีมือในการปั้นยังแสดงถึงอารมณ์ และลักษณะที่เป็นธรรมชาติ ถือเป็นโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยมอีกชิ้นหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ประวัติ : ขุดพบที่เจดีย์หมายเลข 13 อำเภออู่ทอง
สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/uthong/360/model/24/
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/uthong
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “โบราณวัตถุล้ำค่าพุทธศรัทธาบูชาพระพุทธชินราช ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระพุทธชินราช” วิทยากร นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗
กรมศิลปากร ขอเชิญทุกท่านร่วมงาน “4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” เทศกาลท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืน ระหว่างวันที่ 9 - 17 พฤศจิกายน 2567 ตั้งแต่ 18.00 น. เป็นต้นไป พบกับการแสดงมากมายตลอด 9 คืน ภายในโบราณสถานสำคัญของอยุธยา แต่ละที่มี Highlight ดังต่อไปนี้
- วัดพระราม
10 พ.ย. 67 การแสดงโขน ตอน "นารายณ์ปราบนนทุก - พระรามข้ามสมุทร" โดยสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
11 พ.ย. 67 การแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ และ โขน ตอน "โมกขศักดิ์" โดยสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
12 พ.ย. 67 การแสดงละครนอก สังข์ทอง ตอน "เลือกคู่-หาปลา" โดย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
13 พ.ย. 67 การแสดงหุ่นกระบอก "พระอภัยมณีหนีผีเสื้อสมุทร" โดย ชูเชิดชำนาญศิลป์ จ.สมุทรสงคราม14 พ.ย. 67 การแสดงหนังใหญ่ รามเกียรติ์ ตอน "ยกรบ" วัดขนอน จ.ราชบุรี และขับร้องเพลง โดย นัน แชมป์ไมค์ทองคำ
15 พ.ย. 67 วันลอยกระทง และประกวดนางนพมาศ
16 พ.ย. 67 การแสดงโขนนั่งราว ตอน "นาคบาศ - ยกรบ" โดยสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
17 พ.ย. 67 การแสดงหนังใหญ่ โดย วัดสว่างอารมณ์ จ.สิงห์บุรี และการแสดงเพลงเรือ
- วัดราชบูรณะ
10 พ.ย. 67 การแสดงสำนักดาบพุทไธศวรรย์
13 พ.ย. 67 มวยคาดเชือก17 พ.ย. 67 การแสดงละครลิง โดย คณะประกิตศิษย์พระกาฬ
- วัดมหาธาตุ
9-17 พ.ย. 67 การสาธิตและ workshop งานช่างศิลป์ไทย โดย สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร และการแสดงดนตรี โดย กลุ่มคนรุ่นใหม่ จ.อยุธยา
15 พ.ย. 67 พิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ จันทร์วันเพ็ญ- วัดไชยวัฒนาราม
15 พ.ย. 67 วันลอยกระทง
- พระราชวังจันทรเกษม
9 พ.ย. 67 สาธิตการสักยันต์ โดย อ.ประเวศ คงเอียด และกิจกรรมดูดาว โดย สมาคมดาราศาสตร์ไทย
10 พ.ย. 2567 กิจกรรมดูดวง โดยสมาคมโหรแห่งประเทศไทย และการประชันปี่พาทย์แบบโบราณ โดย คณะกุญชรดุริยะ กับ ระนาดเมืองเหน่อ
11 พ.ย. 67 การแสดงหมากรุกคน โดย นาฏศิลป์ลพบุรี
12-14 พ.ย. 67 หนังกลางแปลง
15 พ.ย. 67 การแสดงดนตรี โดย วงสุภาภรณ์
16 พ.ย. 67 "จันทรเกษมลีลา กระจ่างฟ้าลีลาศ" โดย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร และ "เพชรในเพลง" โดย ผิงผิง สรวีย์ แชมป์รายการ The Golden Song
17 พ.ย. 67 "เสนาะเสียงสำเนียงเพชร ลำนำเพชรในเพลง" โดย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร และ "เพชรในเพลง" โดย ศิลปินเพชรในเพลง นอกจากนี้ใครที่เป็นทาสแมวห้ามพลาด วันที่ 10 พฤศจิกายน 2567 มีการประกวดแมวไทย "แมวไทยโบราณคืนถิ่นกรุงศรี" ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
การอนุญาตเข้าไปดําเนินการตามภารกิจใดใดเพื่อหาผลประโยชน์ในบริเวณโบราณสถาน
ที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว และมิใช่โบราณสถานที่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย