กรอบแนวคิดและแนวทางการทำงานของนายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร
จำนวนผู้เข้าชม 921

เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๓๐ น.ณ โรงละครแห่งชาติ นายอนันต์ ชูโชติ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมศิลปากร มอบกรอบแนวคิดและแนวทางการทำงานให้แก่ผู้บริหาร ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าหน่วยงาน และข้าราชการในสังกัดกรมศิลปากร
เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๓๐ น.ณ โรงละครแห่งชาติ นายอนันต์ ชูโชติ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมศิลปากร มอบกรอบแนวคิดและแนวทางการทำงานให้แก่ผู้บริหาร ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าหน่วยงาน และข้าราชการในสังกัดกรมศิลปากร ดังต่อไปนี้
 
กรอบแนวคิดและแนวทางการทำงาน
 
๑. การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล
 
                    พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  ได้แถลงนโยบายคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๘
 
ประเด็นนโยบาย  ประกอบด้วย
 
ส่วนที่ ๑          การสร้างความปรองดองสมานฉันท์
 
ส่วนที่ ๒         การปฏิรูปประเทศ
 
ส่วนที่ ๓         การบริหารราชการแผ่นดิน
 
นโยบายที่ ๑     การป้องกันและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
 
นโยบายที่ ๒ การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ
 
                             ๒.๑  เร่งแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้  โดยนำยุทธศาสตร์เข้าใจ  เข้าถึง พัฒนา  มาใช้ตามแนวทางสันติวิธี ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ซึ่งเป็นพหุสังคม
 
                             ๒.๒  เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับนานาประเทศ
 
นโยบายที่ ๓  การลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ
 
                             ๓.๑  จัดระเบียบสังคม สร้างมาตรฐานด้านคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาล โดยใช้ค่านิยมหลัก ๑๒ ประการ
 
นโยบายที่ ๔ การศึกษาและเรียนรู้  การทะนุบำรุงศาสนา  ศิลปะและวัฒนธรรม 
 
รัฐบาลนำการศึกษา  ศาสนาศิลปวัฒนธรรม ความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์และความเป็นไทยมาใช้สร้างสังคมให้เข้มแข็งอย่างมีคุณภาพและคุณธรรม
 
                             ๔.๑  ทะนุบำรุงและอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ สนับสนุนให้องค์กรทางศาสนามีบทบาทในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม  ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิต  สร้างสันติสุขและความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมไทยอย่างยั่งยืนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมตามความพร้อม
 
                             ๔.๒  อนุรักฟื้นฟูและเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม  ภาษาไทยและภาษาถิ่น  ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งความหลากหลายของศิลปวัฒนธรรมไทย  เพื่อการเรียนรู้ สร้างความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์และความเป็นไทยนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์อันดีในระดับประชาชน ระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ตลอดจนเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ
 
                             ๔.๓  สนับสนุนการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านและวัฒนธรรมสากลและการสร้างงานศิลปะและวัฒนธรรมที่เป็นสากล เพื่อเตรียมเข้าสู่เสาหลักวัฒนธรรมของประชาคมอาเซียน และเพื่อการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก
 
                             ๔.๔ ปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกที่ดี  รวมทั้งการผลิตสื่อคุณธรรม เพื่อเปิดพื้นที่สาธารณะให้เยาวชนและประชาชนได้มีโอกาสแสดงออกอย่างสร้างสรรค์
 
นโยบายที่ ๕  การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน
 
นโยบายที่ ๖  การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
 
                             ๖.๑  ชักจูงให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย  สร้างสิ่งจูงใจและ      สิ่งอำนวยความสะดวกที่เกื้อกูลต่อบรรยากาศการท่องเที่ยว  ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ครอบคลุมแหล่งท่องเที่ยวอันมีลักษณะโดดเด่นร่วมกันหรือจัดเป็นกลุ่มได้  เช่น  กลุ่มธรรมชาติประวัติศาสตร์  ศิลปวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสุขภาพ
 
โยบายที่ ๗  การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน
 
นโยบายที่ ๘ การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม
 
นโยบายที่ ๙  การรักษาความมั่นคงของคุณภาพทรัพยากรและการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
 
นโยบายที่ ๑๐  การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล และการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิธรรมในภาครัฐ
 
นโยบายที่ ๑๑  การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
 
๒.  การดำเนินงานตามแนวทางและนโยบายของ นายวีระ  โรจน์พจนรัตน์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวง วัฒนธรรม
 
                    ๒.๑ ปลูกฝัง  ส่งเสริม  พัฒนาสังคมไทย  ให้เป็นสังคมที่มีความสุข  ความรัก ความสามัคคี  ปรองดอง เอื้ออาทร  บนพื้นฐานค่านิยมความเป็นไทย  ๑๒ ประการ 
 
                    ๒.๒  เสริมสร้างการนำศาสนา  ศิลปวัฒนธรรมในการสร้างสันติสุขสมานฉันท์ในทุกพื้นที่  ทั้งระดับหมู่บ้าน  ชุมชน  และประเทศชาติ
 
                    ๒.๓  การพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ เศรษฐกิจสร้างสรรค์  นำมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย   ภูมิปัญญาท้องถิ่น  มาใช้ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในด้านการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม สินค้าและบริการ
 
                    ๒.๔  พัฒนาและเปิดพื้นที่ทางวัฒนธรรมเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่  อุทยานประวัติศาสตร์  โบราณสถาน  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ   หอสมุดแห่งชาติ  หอจดหมายเหตุแห่งชาติ  โรงละครแห่งชาติ  หอศิลปะและศูนย์วัฒนธรรม  เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมชองชาติ
 
                    ๒.๕  ส่งเสริมให้มีการใช้วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับนานาชาติ  และการเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของอาเซียน
 
๓.  แนวทางการทำงานเพื่อบรรลุภารกิจของ  นายวีระ  โรจน์พจนรัตน์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
 
                   ๓.๑  ซื่อสัตย์  สุจริต  โปร่งใส    การดำเนินโครงการต่างๆ ต้องให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างกว้างขวาง  การบริหารบุคคลต้องยึดหลักคุณธรรมผสมผสานกับความรู้ความสามารถและศักยภาพของตำแหน่งต่างๆ
 
                   ๓.๒  ร่วมมือและบูรณาการกับทุกภาคส่วน  ทั้งภาครัฐและเอกชน  โดยยืดหลักวัฒนธรรมเป็นของประชาชน  เพื่อประชาชน โดยประชาชน การแสดงหาความร่วมมือจากภาคเอกชนในรูปแบบของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรหรือ CSR – Corporate  Social Responsibility
 
                    ๓.๓  ส่งเสริมบทบาทของหน่วยงานกระทรวงวัฒนธรรมที่ตั้งอยู่ส่วนภูมิภาค  ให้ทำงานร่วมกับท้องถิ่นได้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  บนพื้นฐานขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น
 
๔.  นโยบายการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกระทรวงวัฒนธรรม  ปี ๒๕๕๙ ของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
 
                    ๔.๑  กรอบการดำเนินงาน  ประกอบด้วยจุดเน้นสำคัญ  ๓ จุดเน้น คือ
 
                             ๑)  วิถีถิ่น วิถีไทย  จุดเน้นสำคัญ  คือ
 
                                  -  ยิ้ม  ไหว้  สวัสดี  ขอบคุณ  ขอโทษ
 
                                  -  วินัย (เน้นวินัยจราจร) น้ำใจ ไมตรี
 
                                  -  อาหารพื้นถิ่น
 
                                  -  ประเพณี  การแสดงและดนตรีพื้นถิ่น
 
                                  -  ผ้า  การแต่งกาย
 
                                  -  ภาษาไทย  ภาษาถิ่น
 
                             ๒)  วัฒนธรรมไทย  วัฒนธรรมอาเซียน  จุดเน้นสำคัญ  คือ 
 
                                  -  ประเพณีร่วมของอาเซียน  เช่น สงกรานต์  ลอยกระทง
 
                                  -  การแสดงอาเซียน  เช่น  หุ่น โขน(รามายานะ)  หนังใหญ่
 
                                  -  ผ้า  การแต่งกาย
 
                                  -  อาหาร 
 
                                  -  ภาษา  วรรณกรรม
 
                                  -  กิจกรรมทางศาสนา  เช่น  สวดมนต์ข้ามปี  วิสาขบูชา ๒ ฝั่งโขง
 
                                  -  ประชุมสัมมนาทางวิชาการ
 
                             ๓)  มรดกไทย  มรดกโลก  จุดเน้นสำคัญ
 
                                  -  มวยไทย
 
                                  -  อาหารไทย
 
                                  -  การแสดงโขนไทย
 
                                  -  ผ้าและการแต่งกายแบบไทย
 
                                  -  การขึ้นทะเบียนมรดกโลก ให้เสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกจากบัญชีชั่วคราว จำนวน ๑ แหล่ง พิจารณาข้อมูลระหว่างเส้นทางอารยธรรมขอมกับวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
 
๔.๒  งานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครอง
 
สิริราชสมบัติ ครบ ๗๐ ปี
 
                             ๑)  บูรณะวัด  ๗๐ วัด   สืบต่อพระพุทธศาสนา
 
                             ๒)  เชิญกวี  ศิลปินด้านภาษาและวรรณกรรม ๗๐ คน ประพันธ์คำกลอนเฉลิมพระเกียรติ ๗๐ บท
 
                             ๓) จัดทำสิ่งของที่ระลึกงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๗๐ ปี ทูลเกล้าฯในนามรัฐบาล                          ๔)  รวบรวมและจัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์สมบัติยาวนาน จำนวน ๑๐ พระองค์ เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครองราชย์สมบัติ ๗๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 
                    ๔.๓  งานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  ทรงเจริญพระชนมพรรษา  ๘๔ พรรษา
 
                             ๑)  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติผ้าไทยเฉลิมพระเกียรติ
 
                             ๒)  ปลูกต้นไม้ที่เป็นไม้สำคัญ  เพื่อใช้ในงานที่เกี่ยวกับศิลปกรรม ในอุทยานประวัติศาสตร์  เช่น  ต้นสักและต้นตะเคียน
 
                             ๓)  จัดทำสิ่งของที่ระลึกงานฉลองเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลทรงเจริญ     พระชนมพรรษา  ๘๔ พรรษา  ๑๒ สิงหาคม  ๒๕๕๙  ทูลเกล้าฯ ในนามรัฐบาล
 
                             ๔)  จัดทำสิ่งของที่ระลึกงานฉลองเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลทรงพระเจริญพระชนมพรรษา  ๘๔  พรรษา  ที่ประชาชนสามารถจองและเป็นเจ้าของได้ 
 
                             ๕)  พิจารณาจัดพิมพ์หนังสือเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่มีความแตกต่างจากหนังสือเฉลิมพระเกียรติที่เคยจัดพิมพ์มา เช่น หนังสือเกี่ยวกับพระบรมราชินีในประวัติศาสตร์ชาติไทย หรือหนังสือเกี่ยวกับสตรีที่มีบทบาทในประวัติศาสตร์ชาติไทย เป็นต้น
 
๕.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมมองนโยบายการขับเคลื่อนทางวัฒนธรรมในส่วนของกรมศิลปากร
 
                             ๕.๑  เน้นการสานต่อการทำงานเดิมเป็นหลัก
 
                             ๕.๒  สานต่อนโยบายของรัฐบาลตลอดจนแผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ของกระทรวงวัฒนธรรม
 
                             ๕.๓  การจัดมาตรการรักษาความปลอดภัยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โบราณสถานและแหล่งมรดกโลก
 
                             ๕.๔  การพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  หอสมุดแห่งชาติ  และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ  ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนทุกกลุ่มทุกวัย
 
๖.  กรอบแนวคิดและแนวทางดำเนินงานของ  นายอนันต์  ชูโชติ  รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรมรักษาราชการแทนอธิบดีกรมศิลปากร
 
การจัดการมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติในปัจจุบัน  รัฐบาลได้มอบภารกิจดังกล่าวให้
 
กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบหลัก  ทั้งในด้านการกำหนดยุทธศาสตร์  แผนงาน  โครงการ บุคลากร  งบประมาณและวิธีการดำเนินงาน  กรมศิลปากรจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๔๕๔ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  โดยให้แยกงานช่างประณีตศิลป์ เช่น การซ่อมวัดและหล่อพระ จากกระทรวงโยธาธิการ  กับงานในกรมพิพิธภัณฑ์ กระทรวงธรรมการ  มารวมกันตั้งเป็นกรมศิลปากร แม้ว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ประกาศยุบกรมศิลปากรในปี พ.ศ. ๒๔๖๙  โดยให้โอนงานในความรับผิดชอบกรมศิลปากรไปขึ้นกับราชบัณฑิตยสภา  แต่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ รัฐบาลได้จัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง  จากนั้นเป็นต้นมากรมศิลปากรได้มีการเปลี่ยนแปลงส่วนราชการภายในหลายครั้ง ได้ย้ายสังกัดไปขึ้นกับสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงศึกษาธิการ  จนถึง พ.ศ.๒๕๔๕  ได้มีการปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่  กรมศิลปากรได้ย้ายสังกัดจากกระทรวงศึกษาธิการมาสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม จนทุกวันนี้
 
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา  กรมศิลปากรได้พัฒนาความรับผิดชอบจากจุดเริ่มต้นที่รับผิดชอบ
 
เฉพาะงานช่างและพิพิธภัณฑ์  โดยเฉพาะงานช่างในระยะเริ่มแรกจะเกี่ยวเนื่องกับการสร้างงานในพระพุทธศาสนา  และในงานที่เกี่ยวกับราชสำนักเป็นหลักใหญ่ ตั้งแต่งานซ่อมบูรณะพระราชฐาน  พระราชมณเฑียร  งานประกอบพระราชพิธีและงานพระเมรุมาศในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพซึ่งปลูกสร้างเป็นอาคารชั่วคราวบริเวณท้องสนามหลวง  มาเป็นองค์กรหลักของประเทศที่รับผิดชอบการปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม   ของชาติทั้งหมด  โดยรับผิดชอบในการอนุรักษ์ สืบทอด ศึกษา ค้นคว้า วิจัย  พัฒนา  สร้างสรรค์และเผยแพร่    ทั้งงานที่เกี่ยวข้องกับโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เอกสารโบราณ ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม ศิลปกรรมแขนงต่างๆ และงานนาฏศิลป์ดนตรี  โดยแบ่งหน่วยงานในการรับผิดชอบตามภารกิจหลัก ดังนี้
 
                   ๑)  งานด้านโบราณสถาน  โบราณวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  มีกองโบราณคดีและ   กองโบราณคดีใต้น้ำและสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  เป็นผู้รับผิดชอบ
 
                   ๒)  งานด้านภาษา  เอกสารหนังสือ มีสำนักหอสมุดแห่งชาติ  สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ เป็นผู้รับผิดชอบ
 
                 ๓)  งานด้านช่างศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ มีสำนักสถาปัตยกรรมและสำนักช่างสิบหมู่ เป็นผู้รับผิดชอบ
 
                ๔)  งานด้านนาฏศิลป์  ดุริยางคศิลป์ มีสำนักการสังคีต  เป็นผู้รับผิดชอบ
 
               ๕)  งานมรดกทางศิลปวัฒนธรรมทุกสาขาที่อยู่ในเขตพื้นที่ภูมิภาค  มีสำนักศิลปากรที่ ๑ -๑๕เป็นผู้รับผิดชอบ
 
การปฏิบัติตามภารกิจหลักของกรมศิลปากร  เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและกระทรวง
 
วัฒนธรรม  จำเป็นต้องประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบ  ทั้งสถานการณ์ภายในประเทศและภายนอกประเทศ  ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ระบบดิจิตอลได้เข้ามามีบทบาทสูงมากในสังคมปัจจุบัน นอกจากนี้ยังต้องประเมินศักยภาพของตนเองในทุกๆ ด้านทั้งด้านบุคลากร  แผนงาน/โครงการ  งบประมาณและวิธีการดำเนินงานที่จะต้องสอดคล้องกับเศรษฐกิจ  สังคม  การเมืองและเทคโนโลยีในปัจจุบัน  เพื่อที่กรมศิลปากรจะสามารถดำเนินงาน    ในการพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่  รวมทั้งจะยังคงเป็นสถาบันหลักที่สังคมในปัจจุบันยังให้การยอมรับในการอนุรักษ์และพัฒนามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติต่อไป                           
 
๖.๑ ค่านิยม
 
๑)  ซื่อสัตย์  โปร่งใส  ตรวจสอบได้
 
          ๒)  ขยัน อดทน
 
          ๓)  มุ่งมั่นทำงานอย่างเต็มที่  เต็มความสามารถ  โดยไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคใดๆ
 
          ๔)  มีความรับผิดชอบ และพร้อมที่จะรับผิดและรับชอบต่องานที่กระทำ
 
          ๕)  ผลประโยชน์แห่งชาติเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
 
๖.๒  วิสัยทัศน์
 
          กรมศิลปากรเป็นสถาบันหลักด้านการอนุรักษ์ พัฒนาและสร้างสรรค์มรดกวัฒนธรรมของชาติ เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศให้มีความเข้มแข็ง
 
๖.๓  เป้าหมาย
 
๑)  มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติทุกแขนงได้รับการปกป้องคุ้มครองและอนุรักษ์อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ  คงความเป็นแท้ดั้งเดิมให้สืบทอดต่อไปในอนาคต
 
๒)  มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ  ได้รับการพัฒนาสร้างสรรค์บนหลักความถูกต้องทางวิชาการมีคุณภาพและมาตรฐาน  สังคมและประเทศชาติได้ประโยชน์ทั้งในด้านการศึกษาเรียนรู้และด้าน  การท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้กับประเทศ
 
๓)  มีการศึกษา ค้นคว้า  วิจัย อย่างต่อเนื่อง  รวมทั้งมีการพัฒนาข้อมูลทางวิชาการและสร้างผลผลิตข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ
 
๔)  สร้างเครือข่ายทั้งที่เป็นเครือข่ายภาครัฐ  เครือข่ายภาคเอกชนและเครือข่ายภาคประชาชน  ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน เพื่อปกป้อง  คุ้มครองและเฝ้าระวังมรดกทางศิลปวัฒนธรรม  รวมทั้งให้การสนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์ในการทำงาน
 
          ๕)  บุคลากรได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะตรงตามมาตรฐานของแต่ละงาน  ตลอดจนได้รับการพัฒนาให้สามารถดำเนินงานทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐาน
 
          ๖)  ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศในการพัฒนาบุคลากรการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปกป้องคุ้มครองและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
 
๖.๔  วิธีคิดและสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาองค์กรไปสู่เป้าหมาย
 
          ๑)  พัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น  เป็นการสานต่องานเดิมหรือโครงการเดิมที่มีมาก่อน
 
          ๒)  ค้นหาสิ่งที่ยังไม่มีแล้วทำให้มีขึ้น  เป็นการคิดงานใหม่ โครงการใหม่ สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะเกิดประโยชน์กับองค์กร  สังคมและประเทศชาติ
 
          ๓)  ประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์กร   งาน/โครงการที่ทำอยู่เป็นระยะๆ โดยการเปรียบเทียบกับการทำงานในอดีตและเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นประเภทเดียวกัน  เพื่อหาจุดเด่น จุดด้อยและกิจกรรมที่เป็นเลิศ  เพื่อสร้างความเป็นเลิศให้กับองค์กร
 
๗.  แนวทางการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์
 
๗.๑  การพัฒนาบุคลากรและโครงสร้าง
 
๑) จัดทำแผนอัตรากำลังและแผนปรับปรุงโครงสร้างกรมศิลปากร (แผน ๓ ปี)
 
๒)  จัดทำแผนยุทธศาสตร์ของกรมศิลปากรให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒
 
๓)  พัฒนาคุณภาพบุคลากรในทุกสายงานให้มีทักษะและสมรรถนะตามมาตรฐาน ให้มีความเป็นมืออาชีพ และมีประสิทธิภาพในการทำงาน
 
๔)  พัฒนาบุคลากรที่เป็นนักวิชาการในทุกสายงานให้มีทักษะภาษาอังกฤษที่สามารถจะทำงานในระดับประเทศและต่างประเทศได้เป็นอย่างดี
 
๗.๒  การปกป้องคุ้มครองและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม
 
๑)  จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรมทุกแขนงให้มีความสมบูรณ์ทันสมัยและครบถ้วน
 
๒)  ปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม  ด้านโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีอย่างเข้มแข็ง  ไม่ให้มีการบุกรุกทำลาย  นำโบราณสถานที่ถูกบุกรุกกลับมาเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน
 
๓)  โบราณสถานที่เกี่ยวกับแหล่งน้ำ  เช่น  อ่างเก็บน้ำ (บาราย) คู คลองและคูเมืองให้นำมาตรการทางกฎหมายไปใช้อย่างเข้มแข็ง  ในกรณีที่มีการบุกรุกและมีการครอบครองทั้งที่ชอบและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
 
๔)  เอกสารโบราณหรือเอกสารหายาก  ทั้งในหอสมุดแห่งชาติและหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จะต้องดำเนินการอนุรักษ์และรักษาตามหลักวิชาการให้ครบถ้วนทันต่อเวลาและสถานการณ์
 
๕)  จัดตั้งเครือข่ายหรือนำเครือข่ายที่ได้จัดตั้งไว้แล้ว ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและการปกป้องดูแลรักษามรดกทางวัฒนธรรมให้มากยิ่งขึ้น
 
๖)  จัดทำเอกสารหรือจดหมายเหตุการณ์อนุรักษ์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยเฉพาะโบราณสถานที่เป็นมรดกโลกและโบราณสถานสำคัญของชาติ
 
๗)  บูรณาการทางวิชาการในทุกสาขาที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ จะไม่ทำแบบแยกส่วน ให้มองภาพรวมก่อนจะทำรายละเอียด
 
๘)  การตรวจสอบและศึกษาทางวิชาการอย่างครบถ้วน เพื่อเป็นข้อมูลการอนุรักษ์
 
๙)  จัดทำ เสนอ ปรับปรุง พรบ. กฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม
 
๗.๓ การบริหารจัดการ
 
๑)  การรักษาความปลอดภัยในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ โบราณสถานที่เป็นแหล่งมรดกโลกและโบราณสถานสำคัญ ให้มีมาตรการที่เข้มแข็งทั้งบุคลากรเทคโนโลยีและระบบดับเพลิง
 
๒)  พัฒนาการการบริการให้มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลกับผู้เข้ามาใช้บริการ

หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
 
๓)  พัฒนาระบบสืบค้นข้อมูลให้เป็นระบบดิจิตอลเพื่อประสิทธิภาพการให้บริการ
 
๔)  เอกสารโบราณหรือเอกสารหายากให้จัดทำเป็นระบบดิจิตอลวางระบบการบริหารจัดการให้สมดุลระหว่างการบริการอย่างมีประสิทธิภาพกับการปกป้องคุ้มครองและอนุรักษ์
 
๕)  งานเอกสารของหอสมุดแห่งชาติและหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ให้จัดทำบริการทางเว็บไซต์ ที่ผู้เข้ามาใช้บริการสามารถสืบค้นได้ง่าย แต่ให้กำหนดมาตรการเรื่องลิขสิทธิ์ตามมาตรฐานสากล
 
๖)  ให้มีการจัดสรรหนังสือไปยังหอสมุดแห่งชาติในทุกสาขาอย่างทั่วถึง จัดงบประมาณซื้อหนังสือทุกปี
 
๗)  วางระบบการบริการจัดการทรัพยากรหอสมุด การรับหนังสือ สิ่งพิมพ์ให้มีประสิทธิภาพรวดเร็ว พร้อมที่จะให้บริการ
 
๘)  พัฒนาด้านกายภาพหอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้สะอาดสวยงาม เป็นระเบียบ เน้นสำคัญ ในส่วนของหอสมุดแห่งชาติและหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ส่วนกลาง
 
สำนักช่างสิบหมู่
 
๙)  จัดทำแผนการพัฒนาบริเวณพื้นที่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นทั้งส่วนปฏิบัติงานและ     
 
แหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปกรรมที่เกี่ยวกับช่างสิบหมู่
 
๑๐) จัดสร้างอาคารหอประติมากรรมต้นแบบ เพื่อจัดแสดงงานต้นแบบในทุกแขนงของช่างสิบหมู่
 
สำนักสถาปัตยกรรม
 
๑๑) มาตรฐานในการออกแบบงานสถาปัตยกรรม งานอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและการตกแต่ง ทั้งในเรื่องแบบรูปรายการ ประมาณราคา ระยะเวลาและการควบคุมงาน
 
๑๒) การเป็นองค์กรหลักทางด้านสถาปัตยกรรมในการให้บริการ ให้ความร่วมมือและให้ความอนุเคราะห์กับหน่วยงานภายนอก
 
สำนักการสังคีต
 
๑๓) มาตรฐานในด้านนาฏศิลป์ดนตรีให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ
 
๑๔) บริหารจัดการโรงละครแห่งชาติ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลรวมไปถึงพัฒนาโรงละครแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง ให้เป็นโรงละครชั้นนำของประเทศและของภูมิภาค
 
๑๕) จัดเทศกาลละคร หรือเทศกาลโขน หรือเทศกาลการแสดงที่ยิ่งใหญ่ในทุก ๆ ปี

๑๖) การสื่อสารและประชาสัมพันธ์การแสดงของโรงละครแห่งชาติ ให้เป็นไปในแบบเชิงรุก ฉับไว ทันท่วงที ครอบคลุมกว้างขวางและข้อมูลถูกต้อง
 
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
 
๑๗) มาตรฐานในด้านประวัติศาสตร์ วรรณกรรมและจารีตประเพณี ให้เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการในระดับประเทศ
 
๑๘) การจัดพิมพ์หนังสือหายากหรือหนังสือสำคัญที่กรมศิลปากรได้เคยจัดพิมพ์และปัจจุบันไม่มีแล้ว
 
๑๙) การศึกษา ค้นคว้าวิจัย ทั้งในด้านการชำระและการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ต้องมีอย่างต่อเนื่องและเผยแพร่องค์ความรู้สู่สังคม
 
โบราณสถานและแหล่งโบราณคดี
 
๒๐) จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีให้ครบถ้วนสมบูรณ์เผยแพร่ข้อมูลและองค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ คนไทย


Messenger