รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศ ราชอาณาจักรกัมพูชา
จำนวนผู้เข้าชม 812

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศ ราชอาณาจักรกัมพูชา

 

๑.      ชื่อโครงการ The 2nd Workshop of Mekong Cultural Heritage

๒.     วัตถุประสงค์ เป็นตัวแทนจากประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติในเขตลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ ๒ ตามคำเชิญของ Sophia Asia Center for Research and Human Development เป็นกิจกรรมสืบเนื่องจากที่เคยได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งที่ ๑ มาแล้วระหว่างวันที่ ๑๓ – ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๗ เพื่อนำเสนอผลงานวิชาการเรื่อง “Flood : Crisis and Opportunity in the Presentation of the Values of Ayutthaya” ตามหัวข้อของการประชุม “Water Control at Cultural Heritage Sites in Southeast Asia”

๓.      กำหนดเวลา วันที่ ๘ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๘

๔.     สถานที่ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา

๕.     หน่วยงานผู้จัด Sophia Asia Center for Research and Human Development, มหาวิทยาลัยโซเฟีย ประเทศญี่ปุ่น

๖.     หน่วยงานสนับสนุน APSARA Authority

๗.    กิจกรรม การเดินทางเพื่อการร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ The 2nd Workshop of Mekong Cultural Heritage ระหว่างวันที่ ๘ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๘ มีรายละเอียดดังนี้

 

๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

เดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสู่ท่าอากาศยานเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าสู่โรงแรมที่พัก

 

๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

เดินทางสู่ ที่ทำการของ Sophia Asia Center ร่วมพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ The 2nd Workshop of Mekong Cultural Heritage

การบรรยายเปิดการประชุม เรื่อง A Particular Contribution of Sophia University – The Case of Cambodia โดย Prof. Dr. Yoshiaki Ishizawa ผู้อำนวยการ Sophia Asia Center

การบรรยายพิเศษเรื่อง Protection of Stone Heritages in South – East Asia โดย Prof. Kunikazu Ueno, Nara Woman’s University

ช่วงบ่าย ดูงานการอนุรักษ์ที่กลุ่มโบราณสถาน Rolous ประกอบด้วย ปราสาทโลเลย ปราสาทพระโค และปราสาทบากอง ดูการบูรณะอาคารประเภทอิฐ การใช้เทคนิคการสออิฐแบบโบราณในการบูรณะ และการอนุรักษ์หินและปูนปั้นด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์

 

๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘                                                                                             

ออกเดินทางไปดูการจัดการแหล่งน้ำโบราณ บารายตะวันตก ดูงานการอนุรักษ์ ปราสาทแม่บุญตะวันตก ซึ่งตั้งอยู่กลางบารายตะวันตก เป็นโครงการที่อยู่ในการดูแลของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพทิศ

ร่วมสำรวจโบราณสถาน Spean Mamai สะพานโบราณสะพานแรกบนเส้นทางจากเมืองพระนครออกไปทางทิศตะวันตกสู่ปราสาทสด๊กก๊อกธม และปราสาทเจ้าศรีวิบูล ปราสาทขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ด้านนอกเมืองพระนครบนเส้นทางทางด้านตะวันออก ไปสู่ปราสาทพระขรรค์กำปงสวาย

 

๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

การบรรยายเปิดประเด็นเรื่อง “Heritage Monuments and Rain water (Case study from Myanmar ancient cities)” โดย U Nyunt Han นักวิจัยอาวุโส SEAMEO-SPAFA

การบรรยายเรื่อง “Rehabilitation of Ancient Hydraulic System for better Water Management in Angkor World Heritage Site and Siem Reap City” โดย Dr. Hang Peou, Deputy Director General, APSARA Authority

การเสนอผลงานของผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย

Conservation Issues at Halin Pyu Ancient City (World Cultural Heritage Site)” โดย Dr. Than Htike

“Man and Water: How Ancient Myanmar Societies Managed the Hydraulic Works for their Prosperity” โดย Tin Htut Aung

“Flood: Crisis and Opportunity in the Presentation of the Values of Ayutthaya” โดย นายวสุ โปษยะนันทน์

Water Management at Vat Phou World Heritage Site” โดย Orlany Phanthavong และ Khamseng

“Effects of Rain Water and Collecting Experiences of the Consolidant products for Stone and Brick Built Materials of Cultural Heritage” โดย Nguyen Phuong Thao

“Cat Tien Archaeological Complex Site the Risks and Solutions for Preservation” โดย Nguyen Khanh Trung Kien และ Nguyen Hoang Bach Linh

ช่วงบ่ายเป็นการเสวนา ถามตอบ แสดงความคิดเห็น

 

๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

เดินทางไปดูงานการอนุรักษ์และจัดการโบราณสถาน Kbal Spean ที่พนมกุเลน และ ปราสาทบันทายศรี

การเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

 

๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

เดินทางไปดูงานที่พิพิธภัณฑ์บันเตียเมียนเจย เมืองศรีโสภณ ปราสาทบันทายฉมาร์ ปราสาทตาพรหม(บันทายฉมาร์) และบารายใหญ่ทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทบันทายฉมาร์

พิธีปิดการประชุมที่ Sophia Asia Center

 

๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

ออกเดินทางจากเมืองเสียมราฐ กลับสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย

 

๘.     ผู้แทนประเทศไทย นายวสุ โปษยะนันทน์

๙.     สรุปสาระของกิจกรรม เป็นการเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องที่เกี่ยวกับแผนการบริหารจัดการน้ำของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เป็นวิทยากรบรรยายข้อมูลทางวิชาการตามคำเชิญของผู้จัด ทั้งนี้ในการประชุมมีการบรรยายในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศในลุ่มน้ำโขง ได้แก่ เมียนมาร์ ไทย สปป.ลาว เวียดนาม และกัมพูชา นอกจากการประชุม ยังได้มีโอกาสไปดูงานการอนุรักษ์และการจัดการแหล่งมรดกโลก Angkor และแหล่งในบัญชีชั่วคราว ปราสาทบันทายฉมาร์

๑๐.  ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม กรมศิลปากรน่าจะได้มีการประสานความร่วมมือทางวิชาการกับเครือข่ายนักวิชาการในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงดังเช่นกิจกรรมในครั้งนี้ หรือในระดับอาเซี่ยนอย่างต่อเนื่องต่อไป ด้วยการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ หรือเข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความรู้ ในกลุ่มประเทศที่มีปัจจัย ปัญหาต่างๆร่วมกัน เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ

 

.....................................................ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ

                                                                                   (นายวสุ โปษยะนันทน์)