วัดพระธาตุหาญเทาว์ บ้านธาตุหาญเทาว์ ตำบลบ้านขาม อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู
วัดพระธาตุหาญเทาว์ บ้านธาตุหาญเทาว์ ตำบลบ้านขาม อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู


ที่ตั้ง              วัดธาตุหาญเทาว์  บ้านธาตุหาญเทาว์  ตำบลบ้านขาม  อำเภอเมือง
 
                   จังหวัดหนองบัวลำภู
 
พิกัดแผนที่       แผนที่ระวาง  5443  II  มาตราส่วน  1: 50,000
 
                   พิมพ์ครั้งที่ 1 -RTSD  ลำดับชุด  L  7017
 
                   พิกัดกริด  48  QTE  291961
 
                   เส้นรุ้ง  ๑๗  องศา  ๐๓  ลิปดา  ๐๑  ฟิลิปดา  เหนือ
 
                   เส้นแวง  ๑๐๒  องศา  ๒๗  ลิปดา  ๑๐  ฟิลิปดา  ตะวันออก
 
 
 
สิ่งสำคัญที่ขึ้นทะเบียน
 
                   ๑.พระธาตุเจดีย์แปดเหลี่ยม
 
                   ๒.ซากโบราณสถานอิฐ
 
 
 
ประวัติสังเขป
 
                   วัดสร้างเมื่อประมาณ  พ.ศ.๒๓๒๘  เดิมเป็นวัดฝ่ายธรรมยุต  แต่ขาดผู้ดูแลรักษา  จึงกลายเป็นวัดร้าง  ต่อมาพระมหาสุตัน  สุตาโณ  ได้บูรณะและสร้างเป็นวัดขึ้นใหม่ฝ่ายมหานิกาย  ตั้งชื่อว่าวัดธาตุหาญเทาว์  เมื่อประมาณ  พ.ศ.๒๔๖๐
 
 
 
ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม
 
                   ธาตุ ( เจดีย์ )  ก่ออิฐถือปูน  ฐานแปดเหลี่ยม  ถัดขึ้นมาเป็นชั้นบัวคว่ำ – บัวหงายชันสูง  ท้องกระดานเป็นกระดูกงู  ชั้นบัวนี้เป็นทรงแปดเหลี่ยมล้อกันกับชั้นฐาน  ส่วนเรือนธาตุเป็นทรงกรวยแปดเหลี่ยมปลายคอดต่อเชื่อมกับส่วนยอดพระธาตุ  ซึ่งมีรูปทรงกรวยแปดเหลี่ยมเช่นเดียวกับทรงเรือนธาตุ  ทั้งองค์พระธาตุฉาบปูนทาสีเหลืองอ่อน  ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นนูนต่ำลายดอกไม้  ลายกนก  และรูปพวงมาลัย  ลายปูนปั้นทาสีขาว 
 
 
 
อายุสมัย          ราวปี พ.ศ.๒๔๖๐
 
 
 
ประเภทโบราณสถาน
 
                   ศาสนสถานในพุทธศาสนา
 
 
 
ลักษณะการใช้งานในปัจจุบัน
 
                   เป็นที่เคารพสักการบูชาของท้องถิ่น
 
 
 
การดำเนินงาน
 
                   ๑.ปี พ.ศ.๒๕๑๔  ทางวัดได้บูรณะซ่อมแซมกำแพงรอบองค์พระธาตุด้วยอิฐมอญฉาบปูน  และปูพื้นกระเบื้องรอบองค์พระธาตุ
 
                   ๒.ปี พ.ศ.๒๕๓๐  เจ้าอธิการบุญหนา  ตนติกโร  เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหาญเทาว์บูรณะซ่อมแซมองค์พระธาตุ
 
การขึ้นทะเบียน
 
                   ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน  ในราชกิจจานุเบกษา  เล่ม  ๑๑๖  ตอนพิเศษ  ๗ ง.  วันที่  ๒๒  มกราคม  ๒๕๔๒  พื้นที่ประมาณ  ๔  ไร่  ๒  ตารางวา                
 
 
 
ที่มาของข้อมูล
 
                   ๑.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม  ๑๑๖ ตอนพิเศษ ๗ ง.หน้า ๓ วันที่ ๒๒ มกราคม  ๒๕๔๒.
 
                   ๒.กรมการศาสนา , ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร  เล่ม  ๑๐ . กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์การศาสนา , ๒๕๓๔



(จำนวนผู้เข้าชม 2158 ครั้ง)