ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,749 รายการ
วันที่ 5 เมษายน 2567 เวลา 11.00 น. พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีส่งมอบการซ่อมทำเรือพระที่นั่งและเรือรูปสัตว์ ให้แก่กรมศิลปากร โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้รับมอบ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กองทัพเรือและกรมศิลปากรได้หล่อหลอมดวงใจเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อถวายพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยทุกคน เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร โดยดำเนินการซ่อมเรือพระราชพิธีให้มีความสวยงาม สมพระเกียรติ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ กองทัพเรือซ่อมบำรุงโครงสร้าง กรมศิลปากรดูแลงานศิลปกรรมประดับตกแต่งเรือ ขณะนี้กองทัพเรือได้ดำเนินการซ่อมบำรุงโครงสร้างเสร็จแล้ว จึงทำการส่งมอบให้กรมศิลปากรเพื่อดำเนินการประดับตกแต่งตัวเรือ ซึ่งเรือพระราชพิธีแต่ละลำมีความวิจิตรบรรจงจากการลงรักปิดทอง ประดับกระจกเกรียบกระจกสี เป็นงานที่อาศัยทักษะชั้นสูงและวิทยาศาสตร์ผสมผสานกัน การดำเนินงานของกรมศิลปากรจะเน้นรูปแบบศิลปะที่คงความเป็นของแท้ดั้งเดิม โดยมอบหมาย 2 หน่วยงานหลัก ได้แก่ สำนักช่างสิบหมู่ จะนำช่างแกะ ช่างเขียน ช่างประณีตศิลป์ เข้าทำงาน ส่วนสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจะนำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์มาดูการเตรียมผิวรองรับการประดับตกแต่ง เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายใน 30 มิถุนายน 2567 เชื่อว่าความงดงามของกระบวนเรือพระราชพิธีจะตราตรึงชาวไทยและชาวต่างชาติทั่วโลก นอกจากนี้ ระหว่างการดำเนินการซ่อมเรือพระราชพิธี สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติจะบันทึกเหตุการณ์ขั้นตอนการดำเนินการครั้งประวัติศาสตร์นี้ด้วย
อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ได้ดำเนินการ สำรวจ และซ่อมทำเรือพระที่นั่งและเรือรูปสัตว์ ตั้งแต่ธันวาคม 2566 ด้วยวิธีศิลปะภูมิปัญญาประมงพื้นบ้าน การตอกหมันเรือ ซึ่งนำด้ายดิบมาตอกเข้าไปบริเวณร่องระหว่างไม้กระดานเรือให้แน่นเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าเรือ จากนั้นจึงชันยาเรือผสมกับน้ำมันยางยาแนวในร่องและทาทั่วทั้งบริเวณนอกลำเรือเพื่อป้องกันเพรียงกินไม้ที่จะทำให้เรือผุเร็ว ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จ จึงทำการส่งมอบให้กรมศิลปากร เพื่อดำเนินการประดับตกแต่งตัวเรือ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ และเรือรูปสัตว์ ประกอบด้วย เรือเอกชัยเหินหาว เรือเอกชัยหลาวทอง เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เรือพาลีล้างทวีป เรือสุครีพครองเมือง เรือครุฑเหินเห็จ เรือครุฑเตร็จไตรจักร เรืออสุรวายุภักษ์ เรืออสุรปักษี
ภาพปูนปั้นเล่าเรื่องเวสสันตระชาดก (วิศวนตร – อวทาน)
- ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔)
- ปูนปั้น
- เดิมประดับที่ฐานลานประทักษิณ ของเจดีย์จุลประโทน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑
ภาพเล่าเรื่องบุรุษกำลังยืนพูดอยู่กับบุรุษและสตรีคู่หนึ่ง บุรุษและสตรีนั้นแสดงความสนิทสนมซึ่งอาจเป็นสามีภรรยากัน โดยตีความว่าเป็นภาพตอนพระเวสสันดร กำลังประทานพระมัทรีแก่ท้าวสักราช (พระอินทร์) ซึ่งจำแลงเป็นพราหมณ์มาทูลขอ
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40149
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th
ปริวารปาลิ (ปริวารปาลิ)อย.บ. 298/10หมวดหมู่ พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ยาว 53.4 ซม. บทคัดย่อ เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคจากวัดประดู่ทรงธรรม อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปรากฏการณ์ พระอาทิตย์ทรงกลด ณ ปราสาทพิมาย ในวันที่ 8 เดือน 8 พุทธศักราช 2567
ชื่อเรื่อง ย้อนร้อยประวัติศาสตร์เมืองเก่าสุพรรณบุรี และพระเพทราชาราชวงศ์บ้านพลูหลวงผู้แต่ง วราพร พรหมใจรักษ์ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นหมวดหมู่ ประวัติศาสตร์เอเชีย โลกตะวันออกเลขหมู่ 959.338ย178สถานที่พิมพ์ สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์ ม.ป.พ.ปีที่พิมพ์ 2561ลักษณะวัสดุ 54 หน้า หัวเรื่อง พระเพทราชาภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์เมือสุพรรณบุรี
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ โดยกลุ่มภาษาและวรรณกรรม ขอเชิญผู้สนใจร่วมรับฟังการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง "แมวโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยา" ในโครงการท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืน 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ "วัดไชยวัฒนาราม วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุ วัดพระราม และพระราชวังจันทรเกษม" ของกรมศิลปากร ในวันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.30 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารเครื่องทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถสมัครเข้าร่วมรับฟังเสวนาทางวิชาการ ผ่านคิวอาร์โค้ด ฟรี! ไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามเพิ่มเติม โทร.0 3524 1587
การดำเนินงานด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์
ภายในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)
วัตถุประสงค์
๑.สำรวจ รวบรวม ศึกษาข้อมูลทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)
- การสำรวจเชิงเอกสาร
- การสำรวจระยะไกล
๒. นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา สรุปเป็นเรื่องราวของพระราชวังบวรสถานมงคลและกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทั้ง
ทางด้านประวัติความเป็นมา พัฒนาการของพื้นที่ และจัดทำเป็นรูปแบบสันนิษฐาน
๓. จัดทำให้เป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ในรูปแบบของนิทรรศการชั่วคราวใน
แหล่ง รวมถึงการมีส่วนร่วมขณะปฏิบัติงานทางโบราณคดี
๔. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เรื่องราวของพระราชวังบวรสถานมงคลและกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ตลอดการ
ดำเนินโครงการเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ รายงาน เอกสารเผยแพร่
๕. นำข้อมูลที่ได้รับมาสังเคราะห์เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสนับสนุนการจัดทำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ให้เป็น
แหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัย และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
๖. นำเสนอโบราณสถานพระราชวังบวรสถานมงคลทั้งบริเวณ ในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสม
๗. เป็นโครงการที่มุ่งนำวิทยาการแผนใหม่มาประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษา ภายใต้กรอบแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการ
พลิกฟื้นอดีตด้วยรูปแบบ และวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม
การเข้าไม้แบบโบราณ
พระที่นั่งบุษบกเกริน (จาลอง)กลุ่มวิชาการด้านช่างศิลปะไทย สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ๒๕๕๓
วันอังคารที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๓ นางชุติมา จันทร์เทศ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา พร้อมด้วยนายชำนาญ กฤษณสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน ลงพื้นที่ตรวจสอบความคืบหน้าโครงการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานสะพานขอม ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ รับผิดชอบโครงการโดยอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา
เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๑ นายสุพจน์ พรหมมาโนช ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ เข้าตรวจการจ้างงานบูรณะอาคารศรีวิทยา(แบคแทลล์)โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม ณ โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่
เว็ปไซต์หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา : www.finearts.go.th/songkhlaarchives
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ สงขลา เป้นศูนย์กลางการให้บริการเอกสารจดหมายเหตุ ที่มีการให้บริการ จัดการและดำเนินงานที่ได้มาตรฐาน ทันสมัย และเชื่อมโยงข้อมูลการให้ บริการด้านจดหมายเหตุกับหอจดหมายเหตุอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ สงขลา มีภารกิจหลักในการรับมอบ แสวงหา ประเมินคุณค่าเพื่อการจัดเก็บ การพัฒนา การอนุรักษ์ การเผยแพร่ และการให้บริการเอกสารจดหมายเหตุ ประเภทต่าง ๆ การบันทึกเหตุการณ์สำคัญของชาติเป็นศูนย์ข้อมูลและศูนย์ประสานงานจดหมายเหตุและปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
เครื่องดนตรีกันตรึม
กันตรึม
“กันตรึม” เป็นเพลงพื้นบ้านนิยมกันมากในจังหวัดสุรินทร์ เนื้อเพลงกันตรึมใช้ภาษาเขมรขับร้อง กันตรึมถือเป็นแม่บทของเพลงพื้นบ้าน และการละเล่นพื้นบ้านอื่นๆ ของจังหวัดสุรินทร์
ประวัติความเป็นมา
ประวัติการเล่นกันตรึมไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด ลักษณะของเพลงกันตรึมเป็นเพลงปฏิพากย์คล้ายๆ เพลงฉ่อย เพลงเรือ หรือลำตัด จะแตกต่างที่เนื้อร้องกันตรึมเป็นภาษาเขมร
ดนตรีบรรเลงประกอบ คือ กลองโทน(สก็วล) และซอ(สุกัญญา สุจฉายา ๒๕๒๕ : ๘) เหมือนกับประเทศกัมพูชา วงดนตรีกันตรึมมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของชาวสุรินทร์มาแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็นงานพิธีแบบใดๆ เช่น งานแต่งงาน งานศพ งานพิธีกรรมต่างๆ หรือใช้บรรเลงในพิธีเซ่นสรวงบูชา ทรงเจ้าเข้าผี เป็นต้น งานพิธีต่างๆ ของกลุ่มชาวไทยเขมรส่วนมากมักจะใช้วงกันตรึมบรรเลงยืนพื้นตลอดงาน
ปัจจุบันกันตรึมใช้เป็นการละเล่นเพื่อความบันเทิงโดยทั่วไป มีการสืบทอดตามแบบการละเล่นพื้นบ้านแบบรุ่นสู่รุ่น คือ เมื่อผู้เล่นกันตรึมคณะเดิมชราภาพ หรือย้ายถิ่นที่อยู่ ก็จะถ่ายทอดให้แก่ผู้สนใจเพื่อสานต่อ(สงบ บุญคล้อย ๒๕๒๒ : ๘)
วิวัฒนาการของเพลงกันตรึม
๑. ได้รับอิทธิพลมาจากเพลงปฏิพากย์ของเขมร ในประเทศกัมพูชา ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับเพลงปฏิพากย์ภาคกลางของประเทศไทยทั้งโครงสร้างของเพลง วิธีการแสดง และเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบ ได้แก่ กลองโทน ซอ และใช้การปรบมือเข้าจังหวะ เพลงปฏิพากย์ที่เล่นกันในประเทศกัมพูชาจะมีเพลงปรบเกอย เพลงอายัย เพลงอมตูก และเจรียงต่างๆ เป็นต้น (สุกัญญา สุจฉายา ๒๕๒๕ : ๘)
๒. วิวัฒนาการจากการใช้กลอง(สก็วล) ซึ่งเสียงตีกลองจะดัง “โจ๊ะกันตรึม ตรึม” จึงได้นำเสียงที่ดังนั้นมาตั้งเป็นชื่อวงดนตรี เรียกว่า “กันตรึม” การเล่นกันตรึมจะมีผู้ร้องทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ผู้แสดงจะร้อง และรำไปด้วย เป็นการรำให้เข้ากับจังหวะดนตรี ท่ารำไม่มีแบบแผนตายตัว
ปัจจุบันคณะกันตรึมบางคณะที่ยังเล่นอยู่ก็มีแบบการรำที่ไม่แน่นอน เนื่องจากกันตรึมไม่เน้นทางด้านการรำ แต่จะเน้นที่ความไพเราะของเสียงร้อง และความสนุกสนานของท่วงทำนองเพลงกันตรึมที่มีหลากหลายมากกว่า
เครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเล่นกันตรึม ประกอบด้วย กลองกันตรึม(สก็วล) ๒ ลูก ซอ(ตรัว) ๑ คัน ปี่อ้อ ๑ เลา ขลุ่ย ๑ เลา ฉิ่ง กรับ และฉาบ อย่างละ ๑ คู่ แต่ถ้ามีเครื่องดนตรีไม่ครบก็อาจจะอนุโลมใช้เครื่องดนตรีเพียง ๔ อย่าง คือ กลองกันตรึม ๑ ลูก ซอ ๑ คัน ฉิ่ง และฉาบ อย่างละ ๑ คู่
ในปัจจุบัน วงกันตรึมบางคณะได้นำเอาเครื่องดนตรีสากลมาใช้ เช่น กลองชุด กีตาร์ และไวโอลิน เพื่อปรับให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนไปตามความนิยมของผู้ชม
การแต่งกาย
การแต่งกายทั้งของนักดนตรีและนักร้องชายหญิงไม่มีแบบแผนกฎเกณฑ์ที่แน่นอน จะแตกต่างตามความสะดวกสบาย ทันสมัยและถูกใจผู้ชม เช่น หญิงนุ่งผ้าไหมพื้นเมือง เสื้อแขนกระบอก ห่มสไบเฉียง ชายนุ่งโจงกระเบน เสื้อคอกลมแขนสั้น ผ้าไหมคาดเอว และมีผ้าขาวม้าไหมพาดไหล่ทั้งสองข้าง โดยชายผ้าทั้งสองจะห้อยอยู่ทางด้านหลัง
ผู้เล่นและโอกาสที่ใช้เล่น
การเล่นกันตรึม ใช้ผู้เล่นประมาณ ๖ – ๘ คน ผู้ร้องเป็นชายและหญิง อาจจะมี ๑ – ๒ คู่ หรือชาย ๑ คน หญิง ๒ – ๓ คน แต่โดยทั่วไปนิยมให้มีชาย ๒ คน หญิง ๒ คน
การเล่นกันตรึมจะเล่นในโอกาสต่างๆ ทั้งในโอกาสเฉลิมฉลอง งานมงคล เช่น งานแต่งงาน งานโกนจุก งานบวชนาค เทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ และลอยกระทง เป็นต้น หรืองานอวมงคล นอกจากนี้ยังใช้เล่นในพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อพื้นบ้าน
วิธีเล่นกันตรึม
วงกันตรึมจะเล่นที่ไหน ก่อนเริ่มการแสดงจะต้องมีพิธีไหว้ครูเพื่อเป็นสิริมงคล ทั้งผู้ดูและผู้เล่น เมื่อไหว้ครูเสร็จก็จะเริ่มบรรเลงเพลง เป็นการโหมโรงเพื่อปลุกใจให้ผู้ดูรู้สึกตื่นเต้น และผู้แสดงก็จะได้เตรียมตัว จากนั้นจะเริ่มแสดง โดยเริ่มบทไหว้ครูตามธรรมเนียมโบราณดั้งเดิม วิธีการร้องจะขับร้องโต้ตอบกันระหว่างชาย หญิง มีการรำประกอบการร้อง ไม่ต้องใช้ลูกคู่ช่วยร้องรับบทเพลง
บทเพลงกันตรึม
บทเพลงกันตรึมไม่มีเนื้อร้องเป็นการเฉพาะ แต่มักคิดคำกลอนให้เหมาะสมกับงานที่เล่น หรือใช้บทร้องเก่าๆ ที่จดจำกันมามีประมาณ ๒๒๘ ทำนองเพลง ไม่มีใครสามารถจดจำได้ทั้งหมด เพราะไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีเพียงการจดจำต่อๆ กันมาเท่านั้น
การแบ่งประเภทบทเพลงกันตรึม
๑. บทเพลงชั้นสูงหรือเพลงครู เป็นบทที่มีความไพเราะ สูงศักดิ์ ทำนองเพลงอ่อนหวานกินใจ แสดงให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ เช่น เพลงสวายจุมเวื้อด ร่ำเป็อย – จองได มโหรี และเพลงเซร้ยสะเดิง เป็นต้น
๒. บทเพลงสำหรับขบวนแห่ มีทำนองครึกครื้นสนุกสนาน มีการฟ้อนรำประกอบการขับร้อง มีหลายทำนอง เช่น รำพาย ซมโปง ตร็อบตุม และเกาะเบอรมแบง เป็นต้น
๓. บทเพลงเบ็ดเตล็ดต่างๆ เป็นบทเพลงที่มีทำนองรวดเร็ว เร่งเร้า ให้ความสนุกสนาน ใช้เป็นบทขับร้องในโอกาสทั่วๆ ไป เช่น เกี้ยวพาราสี สั่งสอน สู่ขวัญ และรำพึงรำพัน
เป็นต้น ทำนองเพลงจะมีหลายทำนอง เช่น อมตูก กัจปกาซาปาดาน กันเตรยโมเวยงูดตึก กะโน้ปติงต้อง และมลบโดง เป็นต้น
๔. บทเพลงประยุกต์ เป็นบทเพลงที่ใช้ทำนองเพลงลูกทุ่งเข้ามาประยุกต์เป็นทำนองเพลงกันตรึม เช่น ดิสโก้กันตรึม สัญญาประยุกต์ และเตียแขมประยุกต์ เป็นต้น