สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช
สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นหน่วยงานหนึ่งใน ๑๒ สำนักงานภูมิภาคของ กรมศิลปากร สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม
ประวัติความเป็นมา
พ.ศ. ๒๔๙๙ เริ่มตั้งหน่วยศิลปากร ในครั้งนั้นตั้งเฉพาะหน่วยศิลปากรที่ ๑ ลพบุรีและหน่วยศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี สังกัดกรมศิลปากร
กระทรวงวัฒนธรรม
พ.ศ. ๒๕๐๒ จัดตั้งหน่วยศิลปากรเพิ่มขึ้นจนครบ ๘ หน่วย โดยให้ เขตภาคใต้ทั้ง ๑๔ จังหวัดขึ้นอยู่กับหน่วยศิลปากรที่ ๘
สังกัดกองโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งที่ทำการอยู่ที่จังหวัดสงขลา (คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่
๑๐๘/๒๕๐๒ ลงวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๐๒)
พ.ศ. ๒๕๐๗ ก่อตั้งหน่วยศิลปากรที่ ๘ นครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเลขานุการกรม กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งที่ทำการอยู่ ณ
จังหวัดนครศรีธรรมราช มีหน้าที่ดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติใน พื้นที่รับผิดชอบรวม ๗ จังหวัด ได้แก่ ชุมพร
ระนอง พังงา สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต กระบี่ และนครศรีธรรมราช และให้อีก ๗ จังหวัดภาคใต้ขึ้นตรงต่อหน่วยศิลปากรที่ ๙ สงขลา
ในครั้งนั้นตั้งที่ทำการสำนักงานชั่วคราวในบริเวณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร (คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่ ๒๕๖/๒๕๐๗
ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๐๗)
พ.ศ. ๒๕๑๘ หน่วยศิลปากรทั้ง ๙ หน่วยย้ายมาสังกัดสำนักงานหน่วยศิลปากร กองโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ.๒๕๓๑ หน่วยศิลปากรทั้ง ๙ หน่วยย้ายมาสังกัดฝ่ายควบคุมดูแลรักษา กองโบราณคดี (ประกาศกรมศิลปากร ลงวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๓๑)
พ.ศ. ๒๕๓๘ เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๑๑ นครศรีธรรมราช สังกัดสำนักโบราณคดีและ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่บริหารจัดการกิจการด้านโบราณคดี โบราณสถาน
โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มีพื้นที่รับผิดชอบ รวม ๔ จังหวัด คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุงและ
นครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๕๔๕ เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานศิลปากรที่ ๑๔ นครศรีธรรมราช สังกัดสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มีหน้าที่
มีหน้าที่บริหารจัดการกิจการด้านโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มีพื้นที่รับผิดชอบ
รวม ๔ จังหวัด คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุงและนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๕๔๙ เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักศิลปากรที่ ๑๔ นครศรีธรรมราช ยกฐานะขึ้นเป็นส่วนราชการส่วนกลางในภูมิภาค ขึ้นตรงต่อกรมศิลปากร
กระทรวงวัฒนธรรม โดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของกรมศิลปากรใน พื้นที่ส่วนภูมิภาค ตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม ๒๕๕๐ มีพื้นที่รับผิดชอบ ๔ จังหวัด คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุงและนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๕๖๐ เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช (ตามกฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๖๐ ลงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐) โดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของ
กรมศิลปากรใน พื้นที่ส่วนภูมิภาค มีพื้นที่รับผิดชอบ ๗ จังหวัด คือ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ และ
นครศรีธรรมราช และกำกับการปฏิบัติราชการของหน่วยงานดังนี้ คือ
- ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
- กลุ่มโบราณคดี
- กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน
- กลุ่มโบราณคดีและอนุรักษ์โบราณสถาน สาขาภูเก็ต
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชุมพร
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง
- หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช
- หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
บทบาทหน้าที่
๑. ดำเนินงานที่อยู่ในหน้าที่ของกรมในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ในการธำรงรักษาคุณค่าและเอกลักษณ์ มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติด้านโบราณคดี โบราณสถาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ภาษา วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี เอกสารหนังสือ จดหมายเหตุ นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ คีตศิลป์ สถาปัตยกรรม และศิลปกรรม
๒. กำกับ ดูแล ให้คำปรึกษา และสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รวมทั้งกฎหมายและระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง
๓. ปฏิบัติงานทางวิชาการด้านมรดกทางศิลปวัฒนธรรมทุกสาขาในเขตพื้นที่รับผิดชอบ พัฒนา สร้างสรรค์ ถ่ายทอด และเผยแพร่องค์ความรู้ ที่ได้จากมรดกทางศิลปวัฒนธรรมรวมทั้งเป็นศูนย์ข้อมูลด้านมรดกทาง ศิลปวัฒนธรรมสาขาต่างๆ
๔. ส่งเสริมและประสานการดำเนินงานทางวิชาการของหน่วยงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
๕. สร้างความรู้ ความร่วมมือ ให้คำแนะนำ ประสานกับจังหวัด หน่วยงานราชการอื่นๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน ประชาชนในการดำเนินงาน มรดกทางศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งขยายเครือข่าย การอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
๖. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับผิดชอบ
ลำดับหัวหน้าหน่วย/ผู้อำนวยการ |
|||
ลำดับ |
รายชื่อ |
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
ตำแหน่ง |
๑ |
นายประยูร ไพบูลย์สุวรรณ |
พ.ศ.๒๕๐๗ - พ.ศ.๒๕๐๘ |
หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๘ |
๒ |
นายศิริ ดวงดี |
พ.ศ.๒๕๐๙ - พ.ศ.๒๕๑๐ |
หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๘ |
๓ |
นายนิคม สุทธิรักษ์ |
พ.ศ.๒๕๑๑ - พ.ศ.๒๕๑๒ |
หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๘ |
๔ |
นายประทุม ชุ่มเพ็งพันธ์ |
พ.ศ.๒๕๑๓ - พ.ศ.๒๕๑๘ |
หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๘ |
๕ |
นายปริวาท ทรรศนสฤษดิ์ |
พ.ศ.๒๕๑๙ - ๒๔ ธันวาคม ๒๕๒๑ |
หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๘ |
๖ |
นางกัลยา จุลนวล |
๒๕ ธันวาคม ๒๕๒๑ – ๑๓ มิถุนายน ๒๕๒๔ |
หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๘ |
๗ |
นายบรรจง วงศ์วิเชียร |
๑๔ มิถุนายน ๒๕๒๔ – ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๔ |
หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๙ รักษาราชการแทน หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๘ |
๘ |
นายเขมชาติ เทพไชย |
๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๔ – ๒๓ มิถุนายน ๒๕๒๘ |
หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๘ |
๙ |
นายบรรจง วงศ์วิเชียร |
๒๔ มิถุนายน ๒๕๒๘ – มิถุนายน ๒๕๓๐ |
หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๙ รักษาราชการแทน หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๘ |
๑๐ |
นายเขมชาติ เทพไชย |
มิถุนายน ๒๕๓๐ – พ.ศ.๒๕๓๒ |
หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๘ |
๑๑ |
นายบรรจง วงศ์วิเชียร |
พ.ศ.๒๕๓๓ - พ.ศ.๒๕๓๕ |
หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๘ |
๑๒ |
นายปริวาท ทรรศนสฤษดิ์ |
พ.ศ.๒๕๓๕ – ๓๐ เมษายน ๒๕๓๗ |
หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๘ |
๑๓ |
นายบรรจง วงศ์วิเชียร |
๑ พฤษภาคม ๒๕๓๗ – ๒๕ ตุลาคม ๒๕๓๘ |
หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๘ |
๑๔ |
นายบรรจง วงศ์วิเชียร |
๒๖ ตุลาคม ๒๕๓๘ – ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๓ |
ผู้อำนวยการผู้อำนวยการสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๑๑ นครศรีธรรมราช |
๑๕ |
นายพีรพน พิสณุพงศ์ |
๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ – ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๖ |
ผู้อำนวยการผู้อำนวยการสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๑๑ นครศรีธรรมราช |
๑๖ |
นายพีรพน พิสณุพงศ์ |
๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖ – ๑๕ เมษายน ๒๕๔๗ |
ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปากรที่ ๑๔ นครศรีธรรมราช |
๑๗ |
นายบรรจง วงศ์วิเชียร |
๑๖ เมษายน ๒๕๔๗ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๙ |
ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปากรที่ ๑๔ นครศรีธรรมราช |
๑๘ |
นายบรรจง วงศ์วิเชียร |
๑ มกราคม ๒๕๕๐ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๐ |
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๔ นครศรีธรรมราช |
๑๙ |
นายสถาพร ขวัญยืน |
๑๖ มกราคม ๒๕๕๑ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ |
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๔ นครศรีธรรมราช |
๒๐ |
นางสาวแสงจันทร์ ไตรเกษม |
๒๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๕ |
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๔ นครศรีธรรมราช |
๒๑ |
นายอาณัติ บำรุงวงศ์ |
๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๕ – ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ |
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๔ นครศรีธรรมราช |
๒๒ |
นายอาณัติ บำรุงวงศ์ |
๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๑ |
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช |
๒๓ |
นางเสริมกิจ ชัยมงคล |
๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ – ๕ เมษายน ๒๕๖๗ |
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช |
(จำนวนผู้เข้าชม 429 ครั้ง)
วิสัยทัศน์
องค์กร หลักในการ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางโบราณคดีในคาบสมุทรมลายู และเป็นหน่วยงานบูรณาการความรู้หลากหลายสาขาเพื่อมุ่งพัฒนามาตรฐานในด้านการ อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในเขตภาคใต้ตอนบน
กลยุทธ์
๑.วิจัยและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรม
๒. พัฒนาระบบข้อมูลองค์ความรู้ด้านมรดกทางศิลปวัฒนธรรม
๓. บุคลากรทางด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมได้รับการพัฒนา
เป้าหมาย
๑. ศึกษาค้นคว้าประวัติมนุษย์เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านโบราณคดีสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์รัฐโบราณ และรวบรวม จำแนก วิเคราะห์ สงวนรักษาโบราณสถานโบราณวัตถุและจัดแสดงวัตถุทางวัฒนธรรม
๒. ดำเนินการ จัดหา รวบรวม ให้บริการด้านจดหมายเหตุและสงวนรักษาทรัพย์สินทางปัญญา วิทยาการ ศิลปกรรม และวัฒนธรรมของชาติในรูปของหนังสือตัวเขียน เอกสารโบราณและจารึกและสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อ โสตทัศนวัสดุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตจากในประเทศและต่างประเทศ
๓. บุคลากรทุกกลุ่มงานจัดเก็บและใช้ประโยชน์จากข้อมูลองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ
๔. คนไทยมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
๕. คนไทยสามารถรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และความภูมิใจของชาติและ ท้องถิ่น ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไว้ได้
(จำนวนผู้เข้าชม 294 ครั้ง)