ประวัติและบทบาทหน้าที่
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เพื่อเป็นสถานที่ รวบรวม สงวนรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ต่อมา พ.ศ. ๒๕๑๑ –๒๕๑๒ ได้รับงบประมาณจัดซื้อครุภัณฑ์และก่อสร้างอาคาร
พ.ศ. ๒๕๑๕ ดำเนินการจัดแสดงแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๑๕
ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ กรมศิลปากรมีโครงการที่จะพัฒนาและปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานขอนแก่น จึงจัดสรรงบประมาณสนับสนุนเป็น เงิน ๓,๐๐๐,๐๐๐.- บาท เพื่อดำเนินการสร้างอาคารสำนักงาน และห้องประชุม
พ.ศ. ๒๕๓๕ กรมศิลปากรมีนโยบายที่จะพัฒนาและปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารสำนักงานและห้องประชุม เป็นเงิน ๓,๐๐๐,๐๐๐.- บาท
พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับงบประมาณ จำนวน ๙๘๕,๓๐๐.- บาท สำหรับเป็นค่าวัสดุ ครุภัณฑ์และ การจัดแสดง จึงได้ดำเนินการปรับปรุงการจัดแสดงให้เป็นไปตามรูป แบบของการ จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานประจำเมือง โดยปรับปรุงการจัดแสดงถาวรที่มีอยู่เดิมและเพิ่มเติมเนื้อหาการจัดแสดงให้ครบถ้วนตามมาตรฐานการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานเมืองเพื่อสนองนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่จะให้พิพิธภัณฑสถานเป็นศูนย์กลางการศึกษานอกระบบที่ให้ความรู้ ความเพลิดเพลินและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางด้านศิลปวัฒนธรรม หรือ อำนวยประโยชน์ต่อนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป
ปี ๒๕๔๑ ปรับปรุงและพัฒนาคลังพิพิธภัณฑ์ งบประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐.- บาท ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ ห้องประชุมและศูนย์บริการข้อมูล จำนวน ๓,๑๐๐,๐๐๐.- บาท
ปี ๒๕๕๓ โครงการปรับปรุงอาคารจัดแสดง โครงการปรับปรุงอาคารจัดแสดง(ต่อเนื่อง)โครงการปรับปรุงระบบสุขาภิบาล
ปี ๒๕๕๕ โครงการปรับปรุงอาคารจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น งบประมาณ ๔,๙๐๐,๐๐๐.-บาท
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น จึงนับเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญอีกแห่งหนึ่งในท้องถิ่นสำหรับผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาเรื่องราวทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี วิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อสืบสานมรดกทางวัฒนธรรม ให้ยังคงอยู่ต่อไป
(จำนวนผู้เข้าชม 686 ครั้ง)