การจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เริ่มต้นจากการที่หน่วยศิลปากรที่ 8 กรมศิลปากร (ปัจจุบันคือสำนักงานโบราณคดี ที่ 14 นครศรีธรรมราช) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลรักษาโบราณสถานในเขตภาคใต้ตอนบน ในปี พ.ศ. 2507 ดำเนินการขุดแต่งบูรณะเจดีย์ยักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างปีพ.ศ.2509 ถึง 2510ได้โบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีสถานที่เก็บรักษา นอกจากนั้นยังมีโบราณวัตถุที่ได้จากการสำรวจขุดค้นในท้องที่จังหวัดนครศรี ธรรมราช ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต รวม จังหวัด
รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการเก็บรวบรวม โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุต่างๆ อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไว้ในที่แห่งเดียวกัน และจัดตั้งแสดงตามหลักวิชาการสากล เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การศึกษา ค้นคว้าของนักเรียน นักศึกษา และบรรดาผู้สนใจ จึงอนุมัติงบประมาณให้กรมศิลปากรจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ.2513 โดยมีบริษัทพาณิชย์การไม้ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง การก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2517 ใช้งบประมาณเป็นเงิน 2,100,000 บาท ค่าจัดทำรั้วและถนน เป็นเงิน 500,000 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเป็นเงิน2,600,000 บาท (สองล้านหกแสนบาทถ้วน) สถาปนิกที่ออกแบบคือ นายเมธี คันธโร หัวหน้าแผนกก่อสร้าง กองสถาปัตยกรรม วิศวผู้คำนวณแบบก่อสร้าง คือ นายไพรัช ชุติกุล นายช่างพิเศษ กองสถาปัตยกรรม ผู้จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ คือนางจิรา จงกล ภัณฑารักษ์เอก นางสาวณัฎฐภัทร นาวิกชีวิน ภัณฑารักษ์ตรี นายเอก จารีพลการ ช่างตรี และนายอิทธิศาสตร์ วิเศษวงษา ช่างศิลปตรี กองโบราณคดี กรมศิลปากร
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา กิติวัฒนาดุลยโสภาคย์ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช นับเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในภูมิภาคแห่งที่ 6 ที่ทรงประกอบพิธีเปิด (แห่งแรกคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา)พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินี้ เป็นพิพิธภัณฑสถานประเภทศิลปะโบราณคดี
ปี พ.ศ. 2539 กรมศิลปากรได้รับงบประมาณการจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ต่อเติมในส่วนที่ 2 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 11,800,000.00 บาท ก่อสร้างโดยบริษัทดำรงก่อสร้างวิศว จำกัด แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2540 ใชัเป็นอาคารสำนักงาน อาคารเอนกประสงค์จัดแสดงนิทรรศการพิเศษและจัดกิจกรรมต่างๆ
กรมศิลปากรได้ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการใหม่ ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ.๒๕๔๘ โดยยกเลิกสำนักสถาปัตยกรรมและหัตถศิลป์ และจัดตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นอีก ๒ สำนัก แทน คือ สำนักช่างสิบหมู่ และสำนักสถาปัตยกรรม และตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (ฉบับที่ ๓ ) พ.ศ.๒๕๔๙ ปรับปรุงโครงสร้างและการบริหารของ "สำนักงานศิลปากรที่ ๑-๑๕" ซึ่งเดิมมีฐานะเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดสำนักโบราณคดีเป็น "สำนักศิลปากรที่ ๑-๑๕" ขึ้นตรงต่อกรมศิลปากร รับผิดชอบดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของกรมศิลปากรในเขตพื้นที่ส่วนภูมิภาค และเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๐ โอนย้ายสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ไปสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ.๒๕๕๐
ปัจจุบันกรมศิลปากรมีการปรับปรุงส่วนราชการใหม่ ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ.๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ได้แบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร เป็น ๒๔ สำนัก ดังนี้
กรมศิลปากร มีภารกิจเกี่ยวกับการคุ้มครอง ป้องกัน อนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์ เผยแพร่ จัดการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สืบทอดศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยและความมั่นคงของชาติ มีหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลศิลปวัฒนธรรมของชาติแขนงต่าง ๆ ได้แก่ งานด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ สถาปัตยกรรม หัตถศิลป์ นาฏดุริยางคศิลป์ ด้านเอกสาร ภาษา และหนังสือ ด้านการจัดการศึกษาศิลปวัฒนธรรม
บทบาทหน้าที่
๑. ปกป้อง คุ้มครอง อนุรักษ์ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมธำรงจารีตประเพณี พระราชพิธี และรัฐพิธีให้คงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติเพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ
๒. สืบทอด สร้างสรรค์ เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม
๓. ปรับเปลี่ยนระบบและกลไกการบริหารจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรม
๔. บริหารจัดการองค์ความรู้และพัฒนามรดกศิลปวัฒนธรรมให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยว
๕. จัดการศึกษาเฉพาะด้านศิลปวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์ สืบทอดและพัฒนาอย่างยั่งยืน
ลักษณะงานของกรมศิลปากร
ประกอบด้วยงานวิชาการและงานด้านทักษะที่ต้องอาศัยการเรียนรู้สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง ในการดำเนินงานด้านมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ มีทั้งงานที่ต้องดำเนินการเองและงานที่ภาคเอกชน องค์กรต่าง ๆ หรือหน่วยงานรัฐอื่นร่วมดำเนินการ และมีนโยบายให้ความร่วมมือกับต่างประเทศทั้งในรูปแบบของรัฐต่อรัฐ รัฐต่อองค์กรเอกชนของต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ถนนราชดำเนิน ตรงข้าม วัดสวนหลวง ตำบลในเมือง เป็นอาคารทรงไทย 2 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2514 และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเปิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2517 บริเวณโดยรอบ พิพิธ ภัณฑสถานฯ ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ ภายในอาคารจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบในจังหวัด นครศรีธรรมราช และจังหวัดใกล้เคียง โบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ศิลปะสมัยทวาร วดีจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เครื่องถ้วยจีน เครื่องถ้วยอันนัม (ญวณ) เครื่องสังคโลก เงินตรา สมัยต่าง ๆ ศิลปพื้นบ้านภาคใต้ หนังตะลุง มโหรสพพื้นบ้านภาคใต้ เครื่องมือเครื่องใช้ใน การดำรงชีวิตของคนภาคใต้ ได้แก่ เครื่องมือในการทำนา เครื่องทอผ้า อุปกรณ์การกรีดยาง รากไม้แก้วแกะสลักเป็นรูปสัตว์กว่าร้อยชนิดอยู่รวมกันเป็นฝีมือของ นายอ่ำ ศรีสัมพุทธ ซึ่ง ได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทงานแกะสลักของจังหวัดในงานเดือนสิบ และมรดกดีเด่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ พนักกันยา เรือพระที่นั่งทำด้วยแผ่นเงินขนาดใหญ่ถมทองอย่างสวยงามถือว่าเป็นถมทองชิ้นเยี่ยมที่สุดและใหญ่ที่สุดใน จังหวัดนครศรีธรรมราช และยังมี หน้าบันไม้จำหลักภาพเทพรำศิลปะภาคใต้ เครื่องถม เครื่องทองเหลือง ผ้ายก เมืองนครศรีธรรมราช รถม้าโบราณ เป็นต้น
เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ –วันอาทิตย์ เว้นวันจันทร์-วันอังคาร และ วันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00–16.00 น.
ค่าเข้าชมคนไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000 โทร. 0 7534 1075, 0 7534 0419, 0 7535 6229 โทรสาร 0 7534 0419
(จำนวนผู้เข้าชม 499 ครั้ง)
การจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เริ่มต้นจากการที่หน่วยศิลปากรที่ 8 กรมศิลปากร (ปัจจุบันคือสำนักงานโบราณคดี ที่ 14 นครศรีธรรมราช) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลรักษาโบราณสถานในเขตภาคใต้ตอนบน ในปี พ.ศ. 2507 ดำเนินการขุดแต่งบูรณะเจดีย์ยักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างปีพ.ศ.2509 ถึง 2510ได้โบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีสถานที่เก็บรักษา นอกจากนั้นยังมีโบราณวัตถุที่ได้จากการสำรวจขุดค้นในท้องที่จังหวัดนครศรี ธรรมราช ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต รวม จังหวัด
รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการเก็บรวบรวม โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุต่างๆ อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไว้ในที่แห่งเดียวกัน และจัดตั้งแสดงตามหลักวิชาการสากล เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การศึกษา ค้นคว้าของนักเรียน นักศึกษา และบรรดาผู้สนใจ จึงอนุมัติงบประมาณให้กรมศิลปากรจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ.2513 โดยมีบริษัทพาณิชย์การไม้ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง การก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2517 ใช้งบประมาณเป็นเงิน 2,100,000 บาท ค่าจัดทำรั้วและถนน เป็นเงิน 500,000 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเป็นเงิน2,600,000 บาท (สองล้านหกแสนบาทถ้วน) สถาปนิกที่ออกแบบคือ นายเมธี คันธโร หัวหน้าแผนกก่อสร้าง กองสถาปัตยกรรม วิศวผู้คำนวณแบบก่อสร้าง คือ นายไพรัช ชุติกุล นายช่างพิเศษ กองสถาปัตยกรรม ผู้จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ คือนางจิรา จงกล ภัณฑารักษ์เอก นางสาวณัฎฐภัทร นาวิกชีวิน ภัณฑารักษ์ตรี นายเอก จารีพลการ ช่างตรี และนายอิทธิศาสตร์ วิเศษวงษา ช่างศิลปตรี กองโบราณคดี กรมศิลปากร
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา กิติวัฒนาดุลยโสภาคย์ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช นับเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในภูมิภาคแห่งที่ 6 ที่ทรงประกอบพิธีเปิด (แห่งแรกคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา)พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินี้ เป็นพิพิธภัณฑสถานประเภทศิลปะโบราณคดี
ปี พ.ศ. 2539 กรมศิลปากรได้รับงบประมาณการจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ต่อเติมในส่วนที่ 2 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 11,800,000.00 บาท ก่อสร้างโดยบริษัทดำรงก่อสร้างวิศว จำกัด แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2540 ใชัเป็นอาคารสำนักงาน อาคารเอนกประสงค์จัดแสดงนิทรรศการพิเศษและจัดกิจกรรมต่างๆ
(จำนวนผู้เข้าชม 419 ครั้ง)