...

เรือพระราชพิธี

เรือพระราชพิธี

 

บทเห่ชมเรือ

 

พระเสด็จโดยแดนชลทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
 กิ่งแก้วแพร้วพรรณรายพายอ่อนหยับจับงามงอน
นาวาแน่นเป็นขนัดล้วนรูปสัตว์แสนยากร
เรือริ้วทิวธงสลอนสาครลั่นครั้นครื้นฟอง
เรือครุฑยุดนาคหิ้วลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพายกรายพายทองร้องโห่เห่โอ้เห่มา
สรมุขมุขสี่ด้านเพียงพิมานผ่านเมฆา
ม่านกรองทองรจนาหลังคาแดงแย่งมังกร
สมรรถไชยไกรกาบแก้วแสงแวววับจับสาคร
เรียบเรียงเคียงคู่จรดังร่อนฟ้ามาแดนดิน          
สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อยงามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์ลินลาศเลือนเตือนตาชม             
เรือไชยไวว่องวิ่งรวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
เสียงเส้าเร้าระดมห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน ฯ            
คชสีห์ทีผาดเผ่นดูดังเป็นเห็นขบขัน 
ราชสีห์ทียืนยันคั่นสองคู่ดูยิ่งยง            
เรือม้าหน้ามุ่งน้ำแล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหง
เพียงม้าอาชาทรงองค์พระพายผายผันผยอง             
เรือสิงห์วิ่งเผ่นโผนโจนตามคลื่นฝืนฝาฟอง
ดูยิ่งสิงห์ลำพองเป็นแถวท่องล่องตามกัน          
นาคาหน้าดังเป็นดูเขม้นเห็นขบขัน
มังกรถอนพายพันทันแข่งหน้าวาสุกรี          
เลียงผาง่าเท้าโผนเพียงโจนไปในวารี  
นาวาหน้าอินทรีที่ปีกเหมือนเลื่อนลอยโพยม                   
ดนตรีมี่อึงอลก้องกาหลพลแห่โหม
โห่ฮึกครึกครื้นโครมโสมนัสชื่นรื่นเริงพล
กรีธาหมู่นาเวศจากนคเรศโดยสาชล
เหิมหื่นชื่นกระมลยลมัจฉาสารพันมี ฯ
   
เห่ชมเรือกระบวน ถอดได้ว่า
 
พระเจ้าอยู่หัวเสด็จพยุหยาตราชลมารค พระองค์ประทับบนเรือพระที่นั่งอันงดงามวิจิตรบรรจง กระบวนพยุหยาตรางดงามยิ่ง ลีลาการพายเรือนั้นอ่อนช้อยงดงามจับตา กระบวนพยุหยาตรานั้นมากมายแน่นขนัดเต็มท้องน้ำ เรือแต่ละลำประดิษฐ์ตกแต่งโขนเรือเป็นรูปสัตว์นานาชนิด ริ้วกระบวนเรือเคลื่อนมามองเห็นทิวธงประดับเป็นทิวแถว กระบวนเรือล่องลอยมาเสียงน้ำแตกกระจายเป็นคลื่นฟองดังไปทั่วท้องน้ำ เรือครุฑยุดนาค เป็นเรือที่มีโขนเรือทำเป็นรูปพญาครุฑกำลังเหยียบขยุ้มหิ้วพญานาคมาอย่างลำพอง เรือลอยลิ่วมาอย่างรวดเร็ว พลพายต่างวาดพายทองด้วยความพร้อมเพรียง ได้ยินเสียงร้องโห่เห่ดัง รับกับจังหวะพายของฝีพายมา เรือไกรสรมุข มีความงดงามราวกับพิมานของเทวดาล่องลอยมาจากสวรรค์ มีม่านกรองทองและหลังคาเป็นลวดลายมังกรเรือ เรือสมรรถชัยล่องลอยเคียงคู่กันมา แสงแวววับที่กราบเรือส่องสะท้อนกระทบผืนน้ำระยิบระยับตา งดงามยิ่งราวกับว่าล่องลอยมาจากสวรรค์ เรือสุวรรณหงส์ เป็นเรือพระที่นั่งที่มีโขนเรือเป็นรูปพญาหงส์ ตกแต่งด้วยพู่ห้อยประดับ เป็นเรือที่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ทรงพรรณนาไว้ว่าสง่างดงามที่สุด เดิมเรือลำนี้ชื่อว่า " เรือสุวรรณหงส์ " สร้างในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต่อมาผุพังจนใช้การไม่ได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้สถาปนาขึ้นใหม่ มีขนาดใหญ่กว่าเดิม พระราชทานนามว่า " เรือพระที่นั่งสุวรรณหงส์ " เรือชัยลอยเคียงคู่กันมารวดเร็วราวกับลม ได้ยินเสียงเส้ากระทุ้งบอกจังหวะฝีพายดังมาทางท้ายเรืออย่างพร้อมเพรียงฟังเร้าใจ เรือราชสีห์เรือคชสีห์ทะยานมาเป็นคู่ๆ ดูผาดโผนราวกับมีชีวิตจริงมองดูน่าขบขัน  เรือราชสีห์และเรือคชสีห์ที่เคียงคู่กันอยู่ ดูมีกำลังกล้าหาญเป็นอย่างยิ่ง เรือม้า ( มีโขนเรือเป็นรูปศีรษะม้า มีลักษณะก้มหน้าคล้ายม้าหมากรุก ) มีรูปลักษณ์ของโขนเรือเป็นรูปม้า ที่มีท่าทางมองมุ่งลงไปในน้ำ เรือมีลักษณะเรียวระหง ล่อลอยมาอย่างแช่มช้า งดงามราวกับม้าทรงของพระพายที่มีพละกำลังเผ่นโผนมาอย่างลำพอง เรือสิงห์( มีโขนเรือเป็นรูปสิงโต ) แล่นเผ่นโผนทะยานฝ่าคลื่นฟองมาอย่างรวดเร็วราวกับ เรือนาคา หรือเรือวาสุกรี โขนเรือเป็นรูปพญานาค ดูหน้าตาท่าทางมองเขม้นมาแล้วเหมือนมีชีวิตจริง ดูน่าขบขัน  เรือมังกร ( โขนเรือเป็นรูปมังกร ) ก็ล่องลอยมาในกระบวน พลพายพายเรืออย่างพร้อมเพรียง เรือล่องมาทันกันกันสิงห์ลำพอง กระบวนเรือล่องตามกันเป็นมาเป็นทิวแถว เรือเลียงผา มีโขนเรือเป็นรูปเลียงผากำลังยกเท้าอ้าขึ้นสูงราวกับจะกระโจนลงไปในน้ำ เรือที่มีโขนเรือเป็นรูปนกอินทรี กางปีกกว้างราวกับล่องลอยมาจากฟากฟ้ากระบวนเสด็จพยุหยาตราชลมารคเดินทางล่วงมา เสียงประโคมดนตรีดังก้อง เสียงไพร่หลแซ่ซ้องแห่โหมด้วยความโสมนัสยินดี ผู้คนสนุกสนานรื่นเริง จากนั้นก็เดินทางล่องไปต่อด้วยความรู้สึกชื่นใจ ไปยังบทชมปลา
 
 
 
 
 
การพิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์ เรื่องกาพย์เห่เรือ
๑. เนื้อหา แบ่งออกเป็น ๕ ตอน คือ
๑.๑ การชมขบวนเรือในเวลาเช้า ได้พรรณนาไว้อย่างละเอียด พิสดาร
๑.๒ การชมฝูงปลาในเวลาสายอุปมาอุปไมยอย่างแจ่มชัดและกินใจอย่างยิ่ง
๑.๓ การชมพรรณนาดอกไม้ในเวลากลางวัน สอดใส่ความรู้สึก และอารมณ์ให้ผู้อ่านคล้อยตาม
๑.๔ การชมฝูงนกในเวลาเย็น อุปมาอุปไมยแจ่มชัด เด่นชัด  
๑.๕ การคร่ำครวญถึงนาง ในเวลากลางคืน สร้างบรรยากาศเชิงอรรถรสและวังเวง
๒. รูปแบบ ลักษณะคำประพันธ์ ใช้กาพย์ห่อโคลง คือ แต่งโคลงสี่สุภาพแล้วแต่งกาพย์เลียนแบบพรรณนาเพิ่มเติม ศิลปการประพันธ์ทำให้เกิดภาพพจน์ และความรู้สึกทางสุนทรียะอันได้แก่ ความชื่นชมในสิ่งสวยงามตามธรรมชาติ ความไพเราะของดนตรี ความรู้สึกแยบคายทางอารมณ์สะเทือนใจ 
 
 
 
 
การพิจารณาคุณค่าด้านสังคม เรื่องกาพย์เห่เรือ 
๑.สะท้อนภาพชีวิตคนไทยด้านการคมนาคม แสดงการสัญจรทางน้ำให้เห็นว่าเมืองไทยมีแม่น้ำลำคลองมาก
๒.แสดงถึงขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น ประเพณีการแต่งกาย ผู้หญิงห่มผ้าสไบคลุมไหล่ เป็นต้น การไว้ทรงผมผู้หญิงนิยมไว้ ผมยาวประบ่า แล้วเก็บไรที่ถอนผมออกเป็นวงกลมการบอกเวลา นิยมใช้กลอง ฆ้องเป็นเครื่องบอกเปลี่ยนเวลา
 
 
เรือในขบวนพยุหยาตรา 
 
 
   
 
      เรือชัย
 
  
 
 
เรือนาควาสุกรี
 
 
 
 
เรือเลียงผา
 
 
 
 
  เรือศรีสุพรรณหงส์

    

  

  เรือครุฑจับนาค

  

 

 เรือไกรสรมุข

  

เรือคชสีห์

 

เรือราชสีห์

 

เรือม้า

 

เรือมังกร 

 

เรือสิงห์

    

เรืออินทรี

 

     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี   

 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เดิมเป็นอู่หรือโรงเก็บเรือพระราชพิธี อยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวังและกองทัพเรือ เมื่อคราวเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 อู่และเรือพระราชพิธีบางส่วนถูกระเบิดได้รับความเสียหาย และในปี พ.ศ. 2490 สำนักพระราชวังและกองทัพเรือได้มอบให้กรมศิลปากรทำการซ่อมแซมดูแลรักษาบรรดาเรือต่างๆ ที่ใช้ในพระราชพิธีเหล่านี้ เรือพระราชพิธีเป็นเรือที่มีประวัติสำคัญมาแต่โบราณ ที่ยังคงมีความสวยงามในฝีมือช่างอันล้ำเลิศ และทรงคุณค่าในงานศิลปกรรม ประการสำคัญ ยังสามารถนำมาใช้ในการพระราชพิธีต่างๆ สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้

 

 

         กรมศิลปากรเล็งเห็นความสำคัญ จึงได้ขึ้นทะเบียนเรือพระที่นั่งต่างๆ ไว้เป็นมรดกของชาติ พร้อมทั้งยกฐานะของอู่เก็บเรือขึ้นเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เมื่อปี พ.ศ. 2517

 

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ตั้งอยู่เลขที่ 80/1 ริมคลองบางกอกน้อย ถนนอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 เส้นทางเข้าชมพิพิธภัณฑ์มี 2 ทางคือ
1. ทางน้ำ ใช้บริการท่องเที่ยวโดยบริษัททัวร์ หรือจ้างเหมาเรือโดยสารทั่วไป
2. ทางบก ใช้เส้นทางเชิงสะพานอรุณอัมรินทร์ เส้นทางเชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฯ ด้านฝั่งธนบุรี บริเวณซอยวัดดุสิตาราม

 

ประเภทการจัดแสดง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี มีจำนวน 2 อาคาร

1.

อาคารสำนักงาน

2.

อาคารห้องจัดแสดง จัดแสดงเรือพระราชพิธี จำนวน 2 ลำ จัดแสดงโขนเรือนารายณ์ทรงสุบรรณเก่า ซึ่งเป็นต้นแบบเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ประกอบในพระราชพิธีชลมารค

โบราณวัตถุที่จัดแสดง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปเรือพระที่นั่งแบบครบมุมสวยๆ

1.เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ โขนเรือเป็นรูปหงส์ เป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง (หมายถึง เรือที่เป็นเครื่องประดับยศ เป็นเรือพระที่นั่งชั้นสูง มีโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นใดประทับเป็นแต่บางครั้ง โปรดฯ ให้เป็นเรือทรงผ้าไตรหรือผ้าทรงสะพักพระพุทธรูป หรือพานพุ่มดอกไม้) เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 และแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6

 

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปเรือพระที่นั่งแบบครบมุมสวยๆ

2.เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 กรมศิลปากรร่วมกับกองทัพเรือ และสำนักพระราชวังสร้างเรือลำนี้ใหม่ เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในมหามงคลวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเรือพระที่นั่งต่อใหม่นี้ว่า เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9

 

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปเรือพระที่นั่งแบบครบมุมสวยๆ

3.เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช โขนเรือเป็นรูปนาค 7 เศียร เป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยปรกติแล้ว เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ หรือผ้าพระกฐินในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค

 

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปเรือพระที่นั่งแบบครบมุมสวยๆ

4.รือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เป็นเรือพระที่นั่งรอง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โขนเรือจำหลักลายปิดทองรูปพญานาคเล็กๆ จำนวนมาก

 

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปเรือพระที่นั่งแบบครบมุมสวยๆ

5.เรืออสุรวายุภักษ์ จัดว่าเป็นเรือรูปสัตว์ โขนเรือสลักเป็นรูปยักษ์ กายเป็นนกสีครามปิดทองประดับกระจก

 

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปเรือกระบี่ปราบเมืองมาร

6.เรือกระบี่ปราบเมืองมาร โขนเรือสลักรูปขุนกระบี่ ปิดทองประดับกระจก ไม่พบหลักฐานที่สร้าง เรือลำนี้ถูกระเบิดได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2487 กรมศิลปากรได้สร้างขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2510

 

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปเรือครุฑเหินเห็จ

7.เรือครุฑเหินเห็จ ไม่พบหลักฐานที่สร้าง เรือลำนี้ถูกระเบิดได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2487 กรมศิลปากรจึงนำโขนเรือเดิมมาซ่อมแซมขึ้นใหม่จนถึงปัจจุบัน

 

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปเรือเอกชัยเหินหาว

8.เรือเอกชัยเหินหาว โขนเรือเขียนลวดลายเป็นรูปจระเข้หรือเหรา เรือลำนี้ได้ถูกระเบิดเสียหายในสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2487 และทำการตกแต่งซ่อมแซมตัวเรือใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2508

(จำนวนผู้เข้าชม 82640 ครั้ง)