ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,756 รายการ

ชื่อผู้แต่ง          สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์. ชื่อเรื่อง           เรียงความเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       อมรินทร์การพิมพ์. ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๓ จำนวนหน้า      ๑๒๔ หน้า รายละเอียด                     เรียงความเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ นี้ จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในอภิลักขิตมหามงคลสมัยที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๔๘ พรรษา โดยจัดพิมพ์เรียงความที่ชนะการประกวดเรียงความเฉลิมพระเกียรติฯ สำนวนของเด็กหญิงสุวรรณี ปัตตนาภรณ์ และ สำนวนของ นายชัยนันทน์ นันทพันธ์  


    ชื่อผู้แต่ง          วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ชื่อเรื่อง           วิศวกรรมสาร ( ปีที่ ๓๑ ฉบับที่ ๔  สิงหาคม ตุลาคม ธันวาคม  ๒๕๒๑) ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๑ จำนวนหน้า      ๖๔  หน้า รายละเอียด                    จัดพิมพ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ทางวิชาการในด้านวิศวกรรมศาสตร์ เป็นสื่อกลางในการแสดงความคิดเห็น และเผยแพร่ข่าวสารทางวิศวกรรมศาสตร์ ประกอบด้วย บทความภาษาอังกฤษ ๔ บทความ ได้แก่ A Beam – Rotational Spring Model for Inelastic Analysis of Steel Frames. Optimization of Refrigerant Evaporator เป็นต้น พร้อมภาพประกอบ กราฟและตาราง


เลขทะเบียน : นพ.บ.378/1คห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 34 หน้า ; 5 x 54 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 143  (26-39) ผูก 1ค (2566)หัวเรื่อง : จีรธารกถา --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.518/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 4.5 x 50 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 173  (254-258) ผูก 5 (2566)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง                         ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฺธกถา ขุทฺทกนิกายฏฺธกกา (ธมฺมฺปทขั้นปลาย)อย.บ.                            241/6หมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  60 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง                         พระธรรมเทศนา                                                                       บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา


ชื่อเรื่อง                  สพ.บ. 425/1ก มาเลยฺยสุตฺต (พระมาลัย) สพ.บ.                    425/1กประเภทวัสดุมีเดีย      คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                 พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ             36 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 59 ซม.หัวเรื่อง                   พุทธศาสนา                            พระมาลัย                     บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี



องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “น้ำตกกระทิง” จันทบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติมากมาย ทั้งน้ำตก ทะเล หาดทราย เข้าหน้าฝนแล้ว น้ำตกจะมีน้ำมากเหมาะแก่การเล่นน้ำพักผ่อน นอกจากน้ำตกพลิ้ว จะเป็นน้ำตกที่สวยงามของจังหวัดจันทบุรีแล้ว ยังมีน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งที่น่าท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ นั่นคือ น้ำตกกระทิง น้ำตกกระทิง เป็นน้ำตกอยู่ในเทือกเขาสอยดาวใต้ อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ อำเภอเขาคิชฌกูฏ ห่างจากตัวเมืองจันท์ 30 กิโลเมตร จากถนนหลักจะมีทางแยกเข้าไปน้ำตก ไม่ว่าจะเป็นฤดูกาลใด จะเห็นกระแสน้ำตกกระทิงทิ้งตัว ลงมาจากหน้าผาสูง เป็นสายน้ำสีขาว รอบๆสายน้ำปกคลุมด้วยหมู่ไม้น้อยใหญ่ที่ร่มรื่น น้ำตกกระทิง มีน้ำตกรวมกันถึง 13 ชั้น สวยทุกชั้น มีแอ่งน้ำที่ใสสะอาด เล่นน้ำได้ด้วย อยู่ห่างที่ทำการเพียง 100 เมตรเท่านั้น ชั้นที่คนนิยมแวะเล่นน้ำมากที่สุดคือชั้นที่ 3 เพราะอยู่ไม่ไกลจากที่ทำการ ไม่ต้องปีนป่าย ไม่เหนื่อยมาก น้ำไม่แรง และมีแอ่งน้ำให้เล่นน้ำ เหมาะกับการมาพักผ่อน ตรงบริเวณชั้น 3 ยังมีสะพานไม้ให้เราได้แวะถ่ายรูปเล่นด้วย จากชั้นที่ 5 ขึ้นไป จะเป็นชั้นน้ำตกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เพิ่มความสวยงามของ ธรรมชาติ ตั้งแต่ชั้นที่ 11 – 13 จะเป็น น้ำตกชั้นเตี้ยๆ แต่น้ำแรง ระหว่างทางไปน้ำตกแต่ละชั้นจะได้รับความเพลิดเพลินกับสภาพธรรมชาติของป่าดิบที่อุดมสมบูรณ์รอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นไม้ดอก ไม้ใบ ไม้ใหญ่ยืนต้นหรือละเมาะไม้ มวลหมู่ผีเสื้อหลายหลากสีบินโฉบดอกไม้ เป็นที่เจริญตาเจริญใจ เมื่อมาถึงน้ำตกชั้นที่ 13 จงภูมิใจว่าได้มาถึงชั้นสูงสุดของน้ำตกกระทิงแล้ว ชั้นที่ 13 เป็นชั้นเล็กๆ ท่ามกลาง ป่าร่มรื่น มีแอ่งน้ำตื้นๆให้เล่นน้ำ ป่าในชั้นนี้ชื้นมากจนมีมอส เฟิร์น ขึ้นเต็มไปหมด จากนี้ขึ้นไปจะเป็นลำธารเล็กๆที่ไหลออกมาจากป่าลึก อ้างอิง : ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ. 2533. มัทธิว เจ. (2542, เมษายน). “เที่ยวป่าจันท์.” Trips Magazine. ปีที่ 3 ฉบับที่ 30 : หน้า 81 - 83. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี



ชื่อเรื่อง: ธงชาติสยาม ผู้แต่ง: สำนักงานโฆษณาการ ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๘๐สถานที่พิมพ์: พระนครสำนักพิมพ์: โรงพิมพ์อักษรนิติ บางขุนพรหมจำนวนหน้า: ๑๐๒ หน้า เนื้อหา: "ธงชาติสยาม" สำนักงานโฆษณาการ ได้รวบรวมและจัดพิมพ์ขึ้น "ธง" เป็นเครื่องหมายที่ประดิษฐ์ขึ้นของมนุษย์อันแสดงถึงความเป็นชาติของ      ดินแดน โดยเนื้อหาว่าด้วย กำเนิดธงชาติ ความสำคัญของธงชาติ การใช้ผ้าทำธง สิ่งที่ควรปฏิบัติเกี่ยวกับการชักธงชาติ ธงประจำตัว ธงชาติประเทศอื่นๆ      ธงสยาม ธงไตรรงค์ รวมทั้งพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๔๗๙ กล่าวถึง ลักษณะของธง ได้แก่ ธงชาติ ธงหมายพระอิสริยยศ ธงทหารเรือ ธงราชการทั่วไป ธงหมายตำแหน่งทั่วไป นอกจากนี้ยังมีกฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๔๗๙ คำร้องขออนุญาตชักธงชาติต่างประเทศ พร้อมทั้งมีภาพประกอบสีของธงชาติแบบต่างๆ ปรากฎอยู่ส่วนท้ายของเล่ม เช่น ธงราชนาวี ธงฉาน ธงจอมพลเรือ ธงเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง ธงประเทศที่มีสัญญาทางพระราชไมตรีกับสยามประเทศ เป็นต้น    เลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๗๔๐เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๑๓หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ (ไฟล์ดิจิทัลเพื่อการอนุรักษ์เท่านั้น)



         อานม้าประดับวงศ์          เครื่องรองนั่งบนหลังม้าทำจากไม้ เป็นแท่นวงรีและแอ่นโค้ง ด้านบนทาสีแดง เจาะช่องตรงกลางตามแนวยาวสำหรับวางผ้าบุนวม และด้านข้างเจาะช่องสี่เหลี่ยมขนาดเล็กสำหรับผูกสายโกลน มีเชิงยื่นออกมาเป็นขามุมมนด้านละสองข้าง ติดห่วงกลมทำจากโลหะใช้คล้องสายเหาและเครื่องผูก พนักรอบนอกประดับมุก ทำจากชิ้นเปลือกมุกขนาดเล็กต่อกันปูพื้นจนเต็ม ขอบรอบนอกทำจากโลหะตีลายวงกลมเรียงต่อกัน พนักด้านหลังค่อนข้างเตี้ยตกแต่งด้วยโลหะเส้นแบนทำเป็นลวดลายก้านขด ส่วนพนักด้านหน้าสูงมีความโค้งเว้าปลายงอน ใช้คล้องวางเก็บสายบังเหียน ตกแต่งด้วยโลหะเส้นแบนผูกลายใบโพธิ์ ภายในผูกเป็นลายก้านขด          ฝีมือพระยาเพ็ชรพิชัย (ทองจีน) บิดาเจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦๅชัย (พร จารุจินดา) ทำให้บุตรของท่านเนื่องในวันเกียรติยศฯ เมื่อใช้ประกอบการแสดงขี่ม้ารำทวนถวายทอดพระเนตรหน้าพลับพลาในงานพระเมรุสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พ.ศ.๒๔๒๔ โดยกรมศิลปากรรับมอบจากคุณหญิงชอุ่ม สุรบดินทร์ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๘          คำว่า “สวรรคต” หมายถึง การเสด็จสู่สวรรค์ นับเป็นการสิ้นสุดภารกิจบนโลกมนุษย์ ดังนั้นการแสดงมหรสพสมโภชงานออกพระเมรุ จึงไม่ได้ถือเป็นเรื่องโศกเศร้า ใช้สำหรับการแสดงความอาลัย ความกตัญญูกตเวที และสนองพระมหากรุณาธิคุณ ให้ฝูงชนที่มาช่วยงานได้ชมมหรสพเป็นการผ่อนคลาย ฉากงานมหรสพสมโภชในวรรณคดีจึงมีความโศกเศร้าปนกับความยินดี          เมื่ออัญเชิญพระโกศมายังพระเมรุมาศ มหรสพแต่ละประเภทจะเริ่มการแสดงทันที ดังบทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ ระบุไว้ว่า          “...ครั้นพระศพชักมาถึงหน้าเมรุ ก็โห่ฉาวกราวเขนขึ้นอึงมี่ ต่างเล่นเต้นรำทำท่วงที เสียงฆ้องกลองตีทุกโรงงาน...”           ในช่วงแรกเริ่มการจัดแสดงมหรสพเข้าร่วม มีเฉพาะ “มหรสพหลวง” ต่อมาจึงได้มีการละเล่นพื้นบ้าน การละเล่นตามชาติพันธ์ และศิลปะป้องกันตัวเข้าไปด้วย เปลี่ยนแปลงรูปแบบตามความนิยมของยุคสมัยและพระราชประสงค์ อาทิ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้นำ “รำโคมญวน” เข้ามาแสดงในมหรสพออกพระเมรุด้วย          ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การจัดชกมวยได้รับความนิยมอย่างมาก จึงโปรดเกล้าฯ จัดมหรสพประเภทป้องกันตัว อาทิ การรำง้าวประลอง รำทวน ชกมวย และกระบี่กระบอง ถวายทอดพระเนตรในการพระศพ          จากจดหมายเหตุราชกิจรายวัน ภาคที่ ๑๑ กล่าวถึง งานพระเมรุสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ว่ามีการจัดแสดงมหรสพ ประกอบด้วย โขน หุ่น งิ้ว หนัง มวย ตีพลอง รำง้าว รำทวน และรำโคมสิงห์โตมังกร สำหรับทอดพระเนตรหมุนเวียนกันหน้าพลับพลาที่ประทับ          “ขี่ม้ารำทวน” เป็นการแสดงประเภทรำอาวุธ ปรากฎในวรรณกรรมเรื่อง อิเหนา และราชาธิราช ซึ่งต้องใช้ความชำนาญในการควบคุมม้าและร่ายรำอาวุธยาว สำหรับ “อวดฝีมือ” โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยตั้งแต่คราวฝึกซ้อมก่อนเริ่มแสดงในงานพระเมรุสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และเสด็จออกพลับพลาทอดพระเนตรการแสดงมหรสพประเภทนี้อยู่บ่อยครั้ง          “ วันที่ ๔๕๐๖ วัน ๗ ๕ฯ ๔ ค่ำ ปีมะโรงโทศก จุลศักราช ๑๒๔๒ บ่าย ๕ โมงเศษ เสด็จออกพลับพลา ทรงโปรยสลากมะนาวแล้วโปรดให้ทิ้งทาน เวลาค่ำทรงจุดดอกไม้ การมหรศพมีเหมือนทุกวัน... อนึ่งผู้ซึ่งรำทวนในงานคราวนี้ คือ นายสนิทหุ้มแพร นายเสน่ห์หุ้มแพร นายเล่ห์อาวุธหุ้มแพ นายสรรพวิไชยหุ้มแพร นายชิตหุ้มแพร นายฉันหุ้มแพร นายรองชิต นายรองสรรพวิไชย นายรองพิจิตร นายพินมหาดเล็กบุตรพระยาศรีสรราช ‘นายพรมหาดเล็กบุตรพระยารัตนโกษา’ นายเชยมหาดเล็กบุตรเจ้าพระยาพลเทพ นายบุญมากมหาดเล็กบุตรพระนรินทรราชเสนี หม่อมกลมในพระองค์เจ้าชิตเชื้อพงศ์...”          ปรากฏนามของ “นายพรมหาดเล็กบุตรพระยารัตนโกษา (พระยาเพ็ชรพิชัย) ” ที่ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ต่อมาคือ เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦๅชัย ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก อุปราชมณฑลพายัพ องคมนตรีในรัชกาลที่ ๖ และได้รับพระราชทานนามสกุล “จารุจินดา”           อานม้าประดับวงศ์นี้ เป็นหนึ่งในชุดเครื่องม้าโบราณที่ได้รับจากคุณหญิงชอุ่ม สุรบดินทร์ ภายหลังจากเจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦๅชัยถึงแก่อสัญกรรม นับเป็นงานประณีตศิลป์เทคนิคการประดับมุกที่ต้องอาศัยความชำนาญของช่างฝีมือ เป็นโบราณวัตถุที่มีความงดงามและบ่งบอกคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ได้อย่างดี     อ้างอิง จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาคที่ ๑๑ กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๗๘ สมศรี เอี่ยมธรรม, บรรณาธิการ. “เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์”. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๕ นิชรา ทองเย็น. มหรสพและการละเล่นในงานพระเมรุ จากจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ ๑-๕. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๕๕ ธนโชติ เกียรตินภัทร. ฉากงานพระเมรุมาศและพระเมรุในวรรณคดีไทย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น: ภาพสะท้อนพระราชพิธี พระบรมศพก่อนสมัยรัชกาลที่ ๖. ดำรงวิชาการ. ๑๗ ๑(มกราคม-มิถุนายน ๒๕๖๑). นนทพร อยู่มั่งมี. มหรสพในงานพระเมรุสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. ศิลปวัฒนธรรม. ๓๘ ๑๒ (ตุลาคม ๒๕๖๐). สำเนาสัญญาบัตร. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓ หน้า ๑๙๗ ชมรมสายสกุลจารุจินดา. ประวัติบรรพบุรุษ. เข้าถึงเมื่อ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๖, เข้าถึงได้จาก. http://charuchinda.com/ind.../history/94-2018-04-07-04-55-53


ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิคัดเลือกเป็นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน เงินนอกงบประมาณ (กองทุนโบราณคดี) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖


โครงสร้างบุคลากรโรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี


         วันนี้ในอดีต : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปิดงาน “พระนครคีรี-เพชรบุรี”          วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เวลา 14.05 น. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 หรือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระอิสริยยศเดิมก่อนที่พระองค์ทรงดำรงพระยศในปัจจุบัน เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาทรงเปิดงาน “พระนครคีรี-เพชรบุรี” ณ บริเวณเขาวัง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี          ย้อนรอยเรื่องราว : งานพระนครคีรี - เมืองเพชร          งาน “พระนครคีรี - เมืองเพชร” เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2529 โดยมี นายเชาว์วัศ สุดลาภา ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ในขณะนั้นได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนชาวเพชรบุรี ริเริ่มให้มีการจัดงาน “พระนครคีรี - เมืองเพชร” ขึ้นเป็นครั้งแรก           แรกเริ่มเดิมทีงาน “พระนครคีรี - เมืองเพชร” ใช้ชื่องานว่า "งานพระนครคีรี เทิดทูนราชจักรีวงศ์"  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ผู้โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “พระนครคีรี” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ผู้โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง“พระรามราชนิเวศน์” (วังบ้านปืน) และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผู้โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน” เพื่อเป็นที่ประทับแปรพระราชฐาน ซึ่งปัจจุบันพระราชวังทั้ง 3 แห่งนี้ นับเป็นโบราณสถานที่มีคุณค่าทางศิลปะและประวัติศาสตร์ เป็นมรดกแห่งความภาคภูมิใจของประชาชนชาวจังหวัดเพชรบุรี และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญยิ่งของจังหวัดเพชรบุรี          โดยงาน “พระนครคีรี เมืองเพชร” หรือที่ชาวเพชรบุรีเรียกว่า “งานหน้าเขา” ได้กลายเป็นงานประเพณีของชาวเมืองเพชรบุรีที่จัดสมโภชพระนครคีรีในช่วงวันศุกร์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี รวม 10 วัน 10 คืน มาอย่างต่อเนื่องทุกปี ยกเว้นการจัดงานครั้งที่ 10 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2539 ได้งดเว้นไป 1 ปี          ทั้งนี้ในปี 2551 สมัยนายสยุมพร ลิ่มไทย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี การจัดงานพระนครคีรีได้เลื่อนกำหนดมาจัดในช่วงเดือนเมษายน เนื่องจากเดือนกุมภาพันธุ์ยังเป็นช่วงที่คนไทยยังอยู่ในอาการเศร้าโศกจากการที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์สิ้นพระชนม์ ต่อมาในปี 2552 นายชาย พานิชพรพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีคนต่อมา ได้สานต่อการจัดงาน “พระนครคีรี - เมืองเพชร” ครั้งที่ 23 โดยจัดในช่วงเดือนเมษายน เนื่องจากต้องการให้เป็นเทศกาลต่อเนื่องกับสงกรานต์           งาน “พระนครคีรี - เมืองเพชร” ถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดเพชรบุรี โดยมีการจัดแสดงและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น นิทรรศการประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองเพชรบุรี การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน การแสดงศิลปวัฒนธรรมสกุลช่างเมืองเพชร การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านวัวเทียมเกวียน สาธิตการปรุงอาหารคาว หวาน นอกจากนี้ยังมีการแสดงแสง เสียง ที่บริเวณพระนครคีรี มีการประดับประดาคบไฟ โคมไฟ และดวงไฟตามจุดต่าง ๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของงานที่มีมาตั้งแต่ครั้งแรกอย่างหนึ่ง          โดยงาน “พระนครคีรี - เมืองเพชร” เป็นที่ได้รับความสนใจของชาวเพชรบุรีและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้ยังคงมีการจัดงานต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน รูปแบบและกิจกรรมมีการพัฒนาและปรับปรุงอยู่เสมอตามกาลเวลา แต่ยังคงความดั้งเดิมเอาไว้ และในปีพุทธศักราช 2567 งาน “พระนครคีรี - เมืองเพชร” ซึ่งเป็นครั้งที่ 37 จะจัดขึ้นในวันที่ 14 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2567 (กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลง) ขอเชิญชมและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานประเพณีที่สำคัญของชาวเมืองเพชรบุรี ในงาน “พระนครคีรี – เมืองเพชร” ไปด้วยกัน      เอกสารและหลักฐานการค้นคว้า       1. ธีวรา วิโนทกะ, “พัฒนาการของการแสดงในงานพระนครคีรี”,ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,  ( บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565)       2. ย้อนอดีตแรกเริ่ม งานพระนครคีรี –เมืองเพชร. เพชรภูมิ       3. petchnews magazine. “150 ปี พระนครคีรี เมืองเพชร”. ภาพ       โอภาส ชาญมงคล ช่างภาพอาวุโส จังหวัดเพชรบุรี