...

บัวในศิลปะไทย องค์ความรู้จากครูช่าง นายอมร ศรีพจนารถ

          คำว่า “ บัว ” หมายถึง พืชที่เกิดในน้ำจืด สามารถจัดประเภทบัวได้ ๒ ประเภท คือ ปทุมชาติ และอุบลชาติ

          “ปทุมชาติ” คือ บัวสำหรับกินฝักและเง่า (หัวบัว) เป็นอาหาร ได้แก่ บัวหลวงและบัวสัตตบงกช  สีของดอกบัวทั้งสองชนิดนี้มีทั้งสีขาวและสีแดง รูปทรงของดอกบัวทั้งสองก็แตกต่างกัน กล่าวคือ ดอกบัวหลวงรูปทรงของดอกตูมจะมีความกว้าง ๑ ส่วน สูง ๒ ส่วน และประดิษฐ์เป็นลายบัวได้มากชนิด กับเป็นบ่อเกิดของลายกระหนกครึ่งซีก (ที่เรียกว่ากระหนกสามตัว) ส่วนบัวสัตตบงกชนั้นทรงของดอกบัวตูมจะมีลักษณะป้อมเตี้ยกว่าบัวหลวง  ใช้ประดิษฐ์เป็นลายบัวกระหนก พุ่มตัวเทศและบัวปากฐาน  บัวทั้งสองชนิดนี้มีก้านเป็นหนามเล็ก ๆ พอระคายมือเล็กน้อยเมือเวลาจับต้อง  ดอกและใบชูขึ้นเหนือน้ำตลอดตั้งแต่ดอกตูบจนดอกบานและดอกโรยกลายเป็นฝัก (ภายในเป็นเมล็ดบัว)  สำหรับฝักบัวนั้นใช้รับประทานได้ทั้งเมล็ดอ่อนและเมล็ดแก่  นอกจากทรงของดอกบัวนำไปประดิษฐ์เป็นลายบัวได้หลายแบบแล้วก็ตาม แม้แต่เกสรของดอกบัวยังนำไปประดิษฐ์เป็นลายได้เช่นกัน

          “อุบลชาติ” คือ บัวสำหรับกินสาย (โดยนำเอาก้านของดอกมารับประทาน) ได้แก่ บัวสัตตบุษย์ บ้างก็เรียกชื่อว่า บัวเผื่อน บัวผัน ดอกมีสี ขาว แดง แต่ถ้าเป็นพันธ์ขนาดเล็กมักมีหลายสี เช่น ชมพู ขาบ เหลือง ม่วง เป็นต้น  มักเลี้ยงเป็นบัวประดับเพื่อความสวยงาม เพราะก้านของดอกเล็กมาก ดอกและใบมักอยู่เหนือน้ำแค่ปริ่ม ๆ น้ำเท่านั้น  ทรงของบัวสัตตบุษย์หรือบัวกินสายนี้มีลักษณะเป็นดอกผอม ๆ ยาว ๆ ใช้ประดิษฐ์เป็นลักษณะของบัวปลายเสาและลายกรวยเชิง

 

          ที่มา: https://datasipmu.finearts.go.th/academic/33

ตัวอย่างไฟล์แนบ PDF:

(จำนวนผู้เข้าชม 157 ครั้ง)


Messenger