...

กลุ่มโบราณสถานเขาพระบาทใหญ่ พ.ศ.2563
รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดี กลุ่มโบราณสถานเขาพระบาทใหญ่ พ.ศ.2563 #แจกไฟล์PDFฟรี
.
---อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยขอเผยแพร่รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดี "โครงการขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ กลุ่มโบราณสถานเขาพระบาทใหญ่" สามารถดาวน์โหลดเพื่ออ่านหรือใช้ในการศึกษาตามลิ้งก์ที่แนบนี้ >>> https://drive.google.com/.../10l0fRTLev.../view...
.
---กรมศิลปากร โดยอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้ดำเนินงานโครงการขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์กลุ่มโบราณสถานเขาพระบาทใหญ่ ปีงบประมาณ พ.ศ.2563 เป็นการขุดแต่งทางโบราณคดีเพื่อศึกษาโบราณสถาน จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย โบราณสถานวัดเขาพระบาทใหญ่ (ต.ต.45) โบราณสถานวัดกุฏิชี (ต.ต.46) โบราณสถานร้าง ต.ต.47 และโบราณสถานร้าง ต.ต.48 อีกทั้งยังได้ทำการขุดค้นทางโบราณคดีขนาด 2x2 เมตร จำนวน 3  หลุม (โบราณสถานแห่งละ 1 หลุม ยกเว้นโบราณสถานร้าง ต.ต.47)
.  
---ผลจากการดำเนินงานทางโบราณคดี พบว่า กลุ่มโบราณสถานบนเขาพระบาทใหญ่ทั้ง 4 แห่ง น่าจะมีการใช้งานอยู่ในช่วงสมัยสุโขทัยช่วงปลาย (ตั้งแต่รัชสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไทลงมา)  ราวพุทธศตวรรษที่ 20 – 22 โดยโบราณสถานวัดเขาพระบาทใหญ่ (ต.ต. 45) ประกอบไปด้วยเนิน โบราณสถาน 2 แห่ง คือเนินโบราณสถานหลักที่มีการก่อสร้างวิหารและฐานประดิษฐานรอย พระพุทธบาทอยู่ด้านบนเนิน และทิศตะวันตกของเนินโบราณสถานหลักพบเป็นอาคารก่อหิน และ ลานหินปูพื้น สันนิษฐานว่าคงเป็นบริเวณเขตสังฆาวาส โบราณสถานวัดกุฏิชี(ต.ต. 46) ประกอบด้วย โบราณสถานหลักของวัดเป็นอาคารก่อหินที่ตั้งอยู่กลางเนินเขา และกลุ่มหินที่เรียงเป็นแนวอยู่รอบ ๆ ปลายเนิน ล้อมรอบโบราณสถานหลักของเนินเขา มีจำนวนทั้งสิ้น 12 จุด ส่วนโบราณสถานร้าง  ต.ต. 47 เป็นแนวหินที่เรียงกันเป็นกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าภายในอัดดินถมดิน และโบราณสถานร้าง ต.ต. 48 พบเป็นวิหาร และเจดีย์ก่ออิฐอยู่ด้านบนเนินที่เกิดจากการเรียงหินเป็นคันขอบ นอกจากนี้ยังพบ หลักฐานทางโบราณคดีอีกหลากหลายประเภท ทั้งชิ้นส่วนภาชนะดินเผา ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีน รวมถึง หลักฐานที่เกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรม เช่น ตะปูเหล็ก กระเบื้องดินเผา อิฐ ศิลาแลง หิน และยังพบ หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและศาสนา เช่น ชิ้นส่วนพระพุทธรูปปูนปั้น แผ่นหินสลักภาพ พระพุทธรูป ตะคันดินเผา และใบเสมาหินมีจารึก เป็นต้น
---อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินการขุดแต่ง และศึกษาในโครงการนี้เป็นเพียงรายงานเบื้องต้นที่ นำเสนอหลักฐานต่าง ๆ จากการดำเนินงานภาคสนาม อีกทั้งยังเป็นการวิเคราะห์ตีความในเบื้องต้น เท่านั้น จึงยังมีประเด็นที่ยังขาดหายไป หากมีการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ หรือมีการศึกษา เพิ่มเติม อาจทำให้จะได้ข้อสันนิษฐานใหม่ที่สนับสนุนหรือขัดแย้งกับการวิเคราะห์และแปลความใน การศึกษาครั้งนี้ด้วย ซึ่งกรมศิลปากรหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โบราณสถานของเมืองสุโขทัยต่อไป

(จำนวนผู้เข้าชม 774 ครั้ง)