...

บทความเเละองค์ความรู้ หจช.สงขลา ลำดับที่ ๐๑๖ จากสุนทรภู่ ถึง ก. แสงจันทร์ ๑๐๐ ปี นิราศเทพา และนิราศทุ่งหวัง
ก่อนจะเข้าสู่บทความแอดมิน วีรวัฒน์ ขอให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ "นิราศ" ก่อนครับ นิราศ...คือ เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่าง ๆ เป็นต้น มักแต่งเป็นกลอนหรือโคลง เช่น นิราศนรินทร์ นิราศเมืองแกลง นิราศ...มักถูกพบ เเละเก็บรักษาไว้ในเเหล่งเรียนรู้ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น ห้องสมุด หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุ นักสะสมหนังสือ นักสะสมวรรณกรรมท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น นิราศ...ถูกโต้เเย้งว่าจะเก็บไว้หอสมุดหรือหอจดหมายเหตุ นิราศ...ถ้าเป็นต้นฉบับ เป็นลายมือเขียน รับมอบมาโดยตรง จะถูกเก็บรักษาไว้ในหอจดหมายเหตุ นิราศ...ที่เป็นหนังสือ จัดพิมพ์ ทำซ้ำ สำเนา หรือพิมพ์เป็นหนังสืองานศพ จะถูกจัดเก็บในหอสมุดแห่งชาติ ฉบับพิมพ์ใหม่จะอยู่ในหมวดวรรณกรรมให้บริการในห้องหนังสือทั่วไป แต่ถ้าเป็นฉบับพิมพ์เก่า จะอยู่ใน ส่วนของหนังสือท้องถิ่น หนังสืองานศพ หนังสือหายาก นิราศ...ถ้าถูกจัดเก็บสะสมโดยบุคคลเเละถูกส่งมอบต่อ ติดมาพร้อมเอกสารจดหมายเหตุที่บุคคลนั้นมอบให้ หรือประสงค์ให้กับหอจดหมายเหตุ หรืออาจติดปะปนหนังสือราชการซึ่งผู้ปฏิบัติงานนั้นสะสมไว้ จะคัดเเยกเเละถูกเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุ ใน ประเภท หนังสือหายาก นิราศ...เป็น สารสนเทศ เพื่อการเผยแพร่ จัดเป็นสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม ไม่แตกต่างกับ นวนิยาย หรือวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ เเต่ก็สามารถใช้ข้อมูล วันเวลา สถานที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ นิราศ...ที่ถูกจัดเก็บในหอจดหมายเหตุส่วนบุคคลนิราศก็จะกลายเป็นมรดกของบุคคลนั้น ที่เอามาเก็บในหอจดหมายเหตุเพื่อแสดงอัตลักษณ์ ว่า เขาผู้นั้น เป็นคนที่ชอบสะสม หนังสือนิราศ หรือวรรณกรรมต่าง ๆ เช่น นิราศทุ่งหวัง นิราศเทพา พบได้จากการสะสมของนายจรัส จันทร์พรหมรัตน์ หัวหน้างานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาโรงเรียงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา ที่ได้เเบ่งปันข้อมูล ในทางกลับกัน ถ้านิราศนั้น คนสะสมหรืออาจารย์จรัส เป็นคนเขียนเป็นต้นฉบับ ก็กลายเป็นงานของเขา นิราศจะกลายเป็นจดหมายเหตุ ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม (CUTURAL HERITAGE) ซึ่งเอกสารจดหมายเหตุ (ARCHIVES) มาจาก เอกสารราชการ (RECORDS) + มรดกทางวัฒนธรรม (CUTURAL HERITAGE) นิราศ...ในความเห็นแอดมิน สามารถตีความได้กับการบันทึกเหตุการณ์สำคัญในขณะนั้น เพราะปรากฎ วัน เวลา สถานที่ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ต่างเพียงเเค่ใช้ลีลาการเรียบเรียง โดยใช้ร้อยกรอง เช่นกลอน โคลง เเทนการใช้ร้อยเเก้วเรียบเรียงโดยการบันทึกเหตุการณ์ นิราศ...สามารถนำข้อมูลมาเติมเต็มข้อมูลชั้นต้นทางประวัติศาสตร์ หรือเอกสารจดหมายเหตุได้ ถ้านิราศนั้นเขียนในสมัยบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์นั้นๆ เช่น นิราศทุ่งหวัง ประพันธ์โดยกระจ่าง แสงจันทร์ (ก. แสงจันทร์) ครูผู้ถวายพระอักษรพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ก็สามารถนำนิราศมาเติมเต็มเอกสารจดหมายเหตุในสมัยนั้นที่ขาดหายหรือไม่ได้กล่าวถึงในเอกสารราชการนั้นได้ นิราศ...จึงไม่เป็นเพียงเเค่วรรณกรรมที่เขียนถึงคนรัก หรือเรื่องเชิงสังวาส ดังเช่น นิราศทุ่งหวังนี้ ให้ประโยชน์ในการบันทึกเรื่องราวระหว่างการเดินทางลักษณะทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เรื่องราวท้องถิ่น ดังพระประสงค์ ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ สนจิตคิดแต่ถ้อย ระยะทาง ไม่ประสงค์ถึงนาง แน่งน้อย นักอ่านอย่าอางขนาง โอษฐ์ขนาบ นาพ่อ ผิวผิดคำถ้อย ขัดข้อง ขออภัย สรุปว่า เราจะพบนิราศเก็บรักษาในห้องสมุดมากกว่าเเหล่งอื่นใด และพบอยู่ในนักสะสมที่มีหอจดหมายเหตุส่วนบุคคล จนกว่าท่านนั้นจะส่งมอบหรือประสงค์มอบให้กับหอจดหมายเหตุเพื่อใช้เติมเติมเอกสารจดหเป็นจดหมายเหตุ หรือท่านนั้น เป็นเครือข่ายงานจดหมายเหตุกับหอจดหมายเหตุนั้น ๆ ดังที่นายวีรยุทธ พุทธธรรมรงค์ นักจดหมายเหตุ นำเสนอ บทความ เรื่อง จากสุนทรภู่ ถึง กระจ่าง แสงจันทร์ ๑๐๐ ปี นิราศเทพา และนิราศทุ่งหวัง ที่ได้ข้อมูลจากนายจรัส จันทร์พรหมรัตน์หัวหน้างานจดหมายเหตุเเละพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาโรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา (นักสะสม) เเละนายวุฒิชัย เพชรสุวรรณ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ อบจ. สงขลา เก็บข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ตามรอยการเสด็จ ซึ่งทั้งสองเป็นเครือข่ายงานจดหมายเหตุ ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ติดตามได้จากบทความนี้ใน แผ่นภาพบทความที่เเนบในอัลบั้มนี้
ก่อนจะเข้าสู่บทความแอดมิน วีรวัฒน์
ขอให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ "นิราศ" ก่อนครับ

นิราศ...คือ เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่าง ๆ เป็นต้น มักแต่งเป็นกลอนหรือโคลง เช่น นิราศนรินทร์ นิราศเมืองแกลง

นิราศ...มักถูกพบ เเละเก็บรักษาไว้ในเเหล่งเรียนรู้ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น ห้องสมุด หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุ นักสะสมหนังสือ นักสะสมวรรณกรรมท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น

นิราศ...ถูกโต้เเย้งว่าจะเก็บไว้หอสมุดหรือหอจดหมายเหตุ

นิราศ...ถ้าเป็นต้นฉบับ เป็นลายมือเขียน รับมอบมาโดยตรง จะถูกเก็บรักษาไว้ในหอจดหมายเหตุ

นิราศ...ที่เป็นหนังสือ จัดพิมพ์ ทำซ้ำ สำเนา หรือพิมพ์เป็นหนังสืองานศพ จะถูกจัดเก็บในหอสมุดแห่งชาติ ฉบับพิมพ์ใหม่จะอยู่ในหมวดวรรณกรรมให้บริการในห้องหนังสือทั่วไป แต่ถ้าเป็นฉบับพิมพ์เก่า จะอยู่ใน ส่วนของหนังสือท้องถิ่น หนังสืองานศพ หนังสือหายาก

นิราศ...ถ้าถูกจัดเก็บสะสมโดยบุคคลเเละถูกส่งมอบต่อ ติดมาพร้อมเอกสารจดหมายเหตุที่บุคคลนั้นมอบให้ หรือประสงค์ให้กับหอจดหมายเหตุ
หรืออาจติดปะปนหนังสือราชการซึ่งผู้ปฏิบัติงานนั้นสะสมไว้ จะคัดเเยกเเละถูกเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุ ใน ประเภท หนังสือหายาก

นิราศ...เป็น สารสนเทศ เพื่อการเผยแพร่ จัดเป็นสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม ไม่แตกต่างกับ นวนิยาย หรือวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ เเต่ก็สามารถใช้ข้อมูล วันเวลา สถานที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้

นิราศ...ที่ถูกจัดเก็บในหอจดหมายเหตุส่วนบุคคลนิราศก็จะกลายเป็นมรดกของบุคคลนั้น ที่เอามาเก็บในหอจดหมายเหตุเพื่อแสดงอัตลักษณ์ ว่า เขาผู้นั้น เป็นคนที่ชอบสะสม หนังสือนิราศ หรือวรรณกรรมต่าง ๆ เช่น นิราศทุ่งหวัง นิราศเทพา พบได้จากการสะสมของนายจรัส จันทร์พรหมรัตน์ หัวหน้างานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาโรงเรียงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา ที่ได้เเบ่งปันข้อมูล

ในทางกลับกัน ถ้านิราศนั้น คนสะสมหรืออาจารย์จรัส เป็นคนเขียนเป็นต้นฉบับ ก็กลายเป็นงานของเขา นิราศจะกลายเป็นจดหมายเหตุ ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม (CUTURAL HERITAGE)

ซึ่งเอกสารจดหมายเหตุ (ARCHIVES) มาจาก เอกสารราชการ (RECORDS) + มรดกทางวัฒนธรรม (CUTURAL HERITAGE)

นิราศ...ในความเห็นแอดมิน สามารถตีความได้กับการบันทึกเหตุการณ์สำคัญในขณะนั้น เพราะปรากฎ วัน เวลา สถานที่ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ต่างเพียงเเค่ใช้ลีลาการเรียบเรียง โดยใช้ร้อยกรอง เช่นกลอน โคลง เเทนการใช้ร้อยเเก้วเรียบเรียงโดยการบันทึกเหตุการณ์

นิราศ...สามารถนำข้อมูลมาเติมเต็มข้อมูลชั้นต้นทางประวัติศาสตร์ หรือเอกสารจดหมายเหตุได้ ถ้านิราศนั้นเขียนในสมัยบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์นั้นๆ เช่น นิราศทุ่งหวัง ประพันธ์โดยกระจ่าง แสงจันทร์ (ก. แสงจันทร์) ครูผู้ถวายพระอักษรพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ก็สามารถนำนิราศมาเติมเต็มเอกสารจดหมายเหตุในสมัยนั้นที่ขาดหายหรือไม่ได้กล่าวถึงในเอกสารราชการนั้นได้

นิราศ...จึงไม่เป็นเพียงเเค่วรรณกรรมที่เขียนถึงคนรัก หรือเรื่องเชิงสังวาส
ดังเช่น นิราศทุ่งหวังนี้ ให้ประโยชน์ในการบันทึกเรื่องราวระหว่างการเดินทางลักษณะทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เรื่องราวท้องถิ่น

ดังพระประสงค์ ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์

สนจิตคิดแต่ถ้อย ระยะทาง
ไม่ประสงค์ถึงนาง แน่งน้อย
นักอ่านอย่าอางขนาง โอษฐ์ขนาบ นาพ่อ
ผิวผิดคำถ้อย ขัดข้อง ขออภัย

สรุปว่า เราจะพบนิราศเก็บรักษาในห้องสมุดมากกว่าเเหล่งอื่นใด และพบอยู่ในนักสะสมที่มีหอจดหมายเหตุส่วนบุคคล จนกว่าท่านนั้นจะส่งมอบหรือประสงค์มอบให้กับหอจดหมายเหตุเพื่อใช้เติมเติมเอกสารจดหเป็นจดหมายเหตุ หรือท่านนั้น เป็นเครือข่ายงานจดหมายเหตุกับหอจดหมายเหตุนั้น ๆ

ดังที่นายวีรยุทธ พุทธธรรมรงค์ นักจดหมายเหตุ
นำเสนอ บทความ เรื่อง จากสุนทรภู่ ถึง กระจ่าง แสงจันทร์ ๑๐๐ ปี นิราศเทพา และนิราศทุ่งหวัง
ที่ได้ข้อมูลจากนายจรัส จันทร์พรหมรัตน์หัวหน้างานจดหมายเหตุเเละพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาโรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา (นักสะสม) เเละนายวุฒิชัย เพชรสุวรรณ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ อบจ. สงขลา เก็บข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ตามรอยการเสด็จ ซึ่งทั้งสองเป็นเครือข่ายงานจดหมายเหตุ ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา

ติดตามได้จากบทความนี้ใน แผ่นภาพบทความที่เเนบในอัลบั้มนี้ 
ตัวอย่างไฟล์แนบ PDF:

(จำนวนผู้เข้าชม 454 ครั้ง)