...

บทความและองค์ความรู้ หจช.สงขลา ลำดับที่ ๐๐๒ เรื่อง จดหมายเหตุว่าด้วย โรคติดต่อร้ายแรง ไข้มาลาเรีย ตอนที่ ๑ "ยุงร้ายกว่าเสือ"
บทความความความรู้จากงานจดหมายเหตุ จาก หจช. สงขลา ลำดับที่ ๐๐๒
ปัจจุบันสถานการณ์ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ๒๐๑๙ หรือ (โควิค-๑๙) ที่แพร่ระบาดหนักในประเทศจีน และอีกหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ได้สร้างความเสียหายต่อชีวิต และเศรษฐกิจในวงกว้าง รวมถึงกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลก
 
หากย้อนไปในอดีตจากข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุพบว่าเหตุการณ์แพร่ระบาดของโรคได้เกิดขึ้นหลายครั้งในประเทศไทย ตัวอย่างเช่นดังบทความที่นำเสนอนี้
 
บทความความรู้จากงานจดหมายเหตุจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา
ลำดับที่ ๐๐๒ เรื่อง จดหมายเหตุว่าด้วย โรคติดต่อร้ายแรง ไข้มาลาเรีย ตอนที่ ๑ "ยุงร้ายกว่าเสือ"
 
ไข้มาลาเรีย สิ่งที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าไข้ป่าหรือไข้จับสั่น เป็นโรคที่แพร่ระบาดในพื้นที่ชนบทและพื้นที่ป่าเขา เป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ไข้มาลาเรียเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ ๑ ของประเทศ โดยคาดว่าจะมีผู้เสียชีวิต กว่า ๕๐,๐๐๐ คนหรือเท่ากับ ๓๕๑.๑ ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน ด้วยความร้ายแรงของไข้มาลาเรียซึ่งมียุงเป็นพาหะนำโรค ทำให้สมัยนั้นมีคำเปรียบเปรยที่ว่า "ยุงร้ายกว่าเสือ"
 
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นปีแรกที่มีการดำเนินงานควบคุมไข้มาลาเรีย จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงเหลือ ๓๐,๐๐๐ คน และต่อมาหลังจากได้มีการดำเนินงานควบคุมมาลาเรียทั่วประเทศ จำนวนผู้เสียชีวิตได้ลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๒๑ พบว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้มาลาเรียลดลงเหลือเพียง ๔,๐๐๐ คนต่อปี หรือเท่ากับ ๙.๗ ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน
 
เพื่อให้การเผยแพร่ความรู้เข้าถึงประชาชนมากที่สุด กองมาลาเรียจึงมีการประชาสัมพันธ์ผ่านรายการมาลาเรียเพื่อประชาชน ออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ในภูมิภาคต่าง ๆ มีการอ่านบทความที่เกี่ยวกับไข้มาลาเรีย และขอให้ประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมมือกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้การดำเนินงานป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไข้มาลาเรียมีประสิทธิภาพมากที่สุด
 
ซึ่งปรากฎในเอกสารจดหมายเหตุ ที่กล่าวถึงรายการมาลาเรียเพื่อประชาชน ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดนครราชสีมา ครั้งที่ ๖/๒๔ วันอาทิตย์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔
หน่วยมาลาเรียที่ ๕ นครราชสีมา
ในเอกสารชุด ศูนย์มาลาเรียเขต ๔ สงขลา
ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา
 
นอกจากนี้ในบทความยังกล่าวถึง
สาเหตุการแพร่ระบาด
การควบคุมไข้มาลาเรีย
 
รายละเอียดสามารถมาศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
ถนนกาญจนวนิช ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ๙๐๑๑๐
โทร. ๐ ๗๔๒๑ ๒๕๖๒, ๐ ๗๔๒๑ ๒๔๗๙
โทรสาร ๐ ๗๔๒๑ ๒๑๘๒
E-mail : national.archives.songkhla@gmail.com
Website : http://www.finearts.go.th/songkhlaarchives/
ตัวอย่างไฟล์แนบ PDF:

(จำนวนผู้เข้าชม 443 ครั้ง)