...

รายงานการประชุมผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติ ของประเทศแถบเอเชียและโอเชียเนีย ครั้งที่ ๒๔ (The 24th Conference of Directors of National Libraries in Asia and Oceania : CDNL-AO Meeting 2016) ระหว่างวันที่ ๘-๑๒ มีนาคม ๒๕๕๙ ณ หอสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์ เมืองเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์

๑.  ผู้เข้าร่วมประชุม

          ชื่อ / นามสกุล             นางสุภาณี  สุขอาบใจ                                                

          ตำแหน่งปัจจุบัน           บรรณารักษ์ ระดับชำนาญการพิเศษ                       

          หน่วยงาน                  กลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ

 

๒.  หัวข้อการประชุม

          “Adding value through international cooperation”

 

๓.  วัตถุประสงค์การประชุม

          ๓.๑  เพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศและส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาห้องสมุดในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย

          ๓.๒  เพื่อสนับสนุนห้องสมุดของประเทศในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนียที่มีการพัฒนาน้อย ผ่านความร่วมมือ

๓.๓  เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ด้านห้องสมุดของประเทศในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย

 

๔. ประโยชน์ที่ได้รับ

          ๔.๑  เกิดความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดในภูมิภาคเอเชียและ

โอเชียเนีย 

          ๔.๒  มีความเข้าใจในศิลปะของการพัฒนาห้องสมุดของประเทศในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย

 

๕.  ระยะเวลา   

วันที่ ๘ - ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๙

 

๖.  สถานที่ประชุม

          หอสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์ เมืองเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์

 

๗.  หน่วยงานผู้จัด

          หอสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์

 

๘.  จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม

          ผู้เข้าประชุม จำนวน ๒๕ คน จาก ๑๗ ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย จีน หมู่เกาะคุก ฟิจิ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ ซามัว สิงคโปร์ หมู่เกาะโซโลมอน ไทย ติมอร์-เลสเต้ และ เวียดนาม (สำหรับประเทศสมาชิกที่มีการแจ้งเป็นทางการไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ คือ ประเทศบรูไนดารุสซาราม เมียนมาร์ เนปาล ศรีลังกา และตูวาลู)

๙.  กิจกรรม

วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๙

เวลา ๑๗.๓๐-๑๘.๓๐ น. - งานเลี้ยงต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุม ณ หอสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์

วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๙

เวลา ๘.๒๐ - ๘.๔๐ น.   - ลงทะเบียน

เวลา ๘.๔๐ - ๑๐.๐๐ น. - พิธีเปิดการประชุม (Opening Session) กล่าวต้อนรับ (welcome  
address) โดย Mr. Hon Peter Dunne, Minister of Internal Affairs

 

                                  - กล่าวเปิดการประชุม (Opening address) โดย Mr. Bill Macnaught ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์ ประธานการประชุม

เวลา ๑๐.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. รายงานผลการดำเนินงานของ CDNLAO                                       

          ๑. การรับรองรายงานการประชุม CDnLAO ครั้งที่ ๒๓ มติที่ประชุมรับรองรายงานการประชุม CDNLAO ครั้งที่ ๒๓ ที่ประเทศไทย

          ๒. หอสมุดแห่งชาติญี่ปุ่นในฐานะผู้ดูแลเว็บไซต์แจ้งที่ประชุมว่าจะมีการปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ หากประเทศสมาชิกใดมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น Web Facebook Twitter YouTube Instagram Blogs ขอให้แจ้งหอสมุดแห่งชาติญี่ปุ่นที่ Email: kokusai@ndl.go.jp

๓. การเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม CDNLAO ครั้งต่อไป มติที่ประชุมเห็นชอบให้หอสมุดแห่งชาติ

จีน เป็นเจ้าภาพการประชุมผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติของประเทศแถบเอเชียและโอเชียเนีย (CDNLAO) ครั้งที่ ๒๔ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐

          เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๕.๓๐ น. การเยี่ยมชมหอสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์

            ชั้น ๑  เปิดบริการสำหรับผู้ใช้บริการทุกคนสามารถเข้าใช้ได้โดยไม่ต้องลงทะเบียนแต่สามารถใช้ได้ผ่าน lifeline table ที่อยู่ใกล้ประตูทางเข้าที่ผู้ใช้สามารถใช้บริการภาพถ่าย บทความในหนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของคนนิวซีแลนด์ เคาน์เตอร์บริการตอบคำถามมีรูปร่างเหมือนเรือแคนูซึ่งแสดงให้เห็นถึงการออกเดินทางค้นหาข้อมูล นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับจัดนิทรรศการ มีการจัดแผนที่โลกขนาดใหญ่สำหรับผู้เข้าเยี่ยมชมจากทุกมุมโลกจะสามารถทำเครื่องหมายประเทศของตนได้

นอกจากนี้มีพื้นที่สาธารณะเรียกว่า มุม net.work สำหรับผู้ใช้สามารถเข้ามานั่งทำงาน พักผ่อน ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ไว้บริการแต่ผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่าย ตั้งอยู่บริเวณใกล้มุมกาแฟและของที่ระลึกอีกทั้งมีการนำเสนอภาพศิลปะขนาดใหญ่เพื่อแสดงตำนานการสร้างโลกของชาวเมารี เป็นตำนานเทพเจ้าแห่งป่าและนกนำแสงไปทั่วโลก ดังนั้นเพดานของอาคารหอสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์เป็นสีดำและผนังเป็นสีขาวเฃเสมือนเป็นตัวแทนของความมืดและสว่าง

คุณลักษณะของพื้นที่สาธารณะอีกประการหนึ่งคือห้องโถงกับบอร์ดขนาดใหญ่ที่จัดแสดงศิลปะตำนานการสร้างโลกของชาวเมารี ในตำนานเทพเจ้าแห่งป่าและนกนำแสงไปทั่วโลกโดยการแยกพ่อแม่ของพวกเทพเจ้าแห่งฟากฟ้าและแผ่นดิน ดังนั้นเพดานที่หอสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์เป็นสีดำและผนังเป็นสีขาวจึงเป็นตัวแทนของความมืดและความสว่าง

 

ชั้น ๒  เป็นห้องบริการหนังสือสำหรับผู้ใช้โดย ประกอบด้วยห้องบริการหนังสือทั่วไปทุดหมวดหมู่วิชาและห้องหนังสือหายากที่มีคุณค่าทางมรดกวัฒนธรรมของชาติหนังสือที่เกี่ยวข้องกับชาวเมารี นอกจากนี้ยังจัดแบ่งหนังสือเป็นคอลเลกชันย่อย ได้แก่ คอลเลกชั่นโอเชียเนีย คอลเลกชั่นภาพ เป็นต้น

         ห้องสมุดอเล็กซานเดอร์ (Alexander Turnbull Library) เป็นห้องสมุดย่อยที่ตั้งอยู่บริเวณชั้น ๒ ของหอสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์ มีการรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าเกี่ยวกับประเทศนิวซีแลนด์และแปซิฟิกหลายประเภท ได้แก่ หนังสือต้นฉบับ ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพพิมพ์ ต้นฉบับเพลง หนังสือพิมพ์เก่า แผนที่ และเทปประวัติบุคคลสำคัญ เป็นต้น

วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๙

การบรรยายเรื่องที่เกี่ยวกับห้องสมุดของประเทศต่าง ๆ รวม ๕ ประเทศ ประกอบด้วย

สาธารณรัฐเกาหลี สิงคโปร์ คุกไอส์แลนด์ ปาปัวนิวกินี และสาธารณรัฐฟิจิ

 

Dr. Wonsun Lim, ประธานบริหารหอสมุดแห่งชาติเกาหลี บรรยายเรื่อง “Sending Books to our libraries”

          หอสมุดแห่งชาติเกาหลีมีการดำเนินการในเรื่องบริจาคหนังสือและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับทางภาษีของผู้บริจาค เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการบริจาคหนังสือภายในประเทศ มีการกำหนดใช้ใน พรบ.หอสมุดแห่งชาติเกาหลี มาตรา 9 ที่ว่าด้วยเรื่อง Donation of money, etc ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการบริจาคหนังสือและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คือ การบริจาคหนังสือ 30 ล้านเล่ม หรือน้อยกว่าจะได้รับยกเว้นภาษี 15% หรือถ้าบริจาคหนังสือมากกว่า 30 ล้านเล่ม ได้รับการยกเว้นภาษี 25% มีการกระจายทรัพยากรสารสนเทศของประเทศอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ และเป็นการกระตุ้นให้บริจาคหนังสืออย่างแพร่หลาย

Ms. Ai Cheng Tay รองประธานฝ่ายบริหารคณะกรรมการหอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ บรรยายเรื่อง

“International collaboration in the region and how to contribute” สรุปประเด็นสำคัญดังนี้

สหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุด (IFLA) เป็นองค์กรระหว่างประเทศทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการดูแลรักษาผลประโยชน์ด้านต่าง ๆ ของห้องสมุดทุกภูมิภาคทั่วโลก สำหรับห้องสมุดในภูมิภาคเอเชียเป็นสมาชิกสหพันธ์ระหว่างประเทศฯ จำนวน ๑๘๒ แห่งใน ๓๔ ประเทศ และห้องสมุดในภูมิภาคโอเชียเนีย จำนวน ๘๒ แห่ง ใน ๕ ประเทศ มีการดำเนินกิจกรรมสนับสนุนงานห้องสมุดในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย ดังนี้

๑)      Signatures for Lyon Declaration (Importance of Libraries in Developing

Countries) เป็นการลงนามตามประกาศลียงเกี่ยวกับความสำคัญของห้องสมุดในประเทศกำลังพัฒนา

๒)  การเสนอข้อเปลี่ยนแปลงเรื่องลิขสิทธิ์เกี่ยวกับการบริการข้อมูลของห้องสมุดในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนียในพระราชบัญญัติทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO)

๓)  การประชุมเครือข่ายห้องสมุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

๔)  การอภิปรายเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลของตัวแทนห้องสมุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

๕)  การนำเข้าข้อมูลใน UN 2030 SDGs IFLA toolkit       

๖)  การบริจาคหนังสือให้ห้องสมุดในประเทศเมียนมาร์ จำนวน ๕๐,๐๐๐ จัดโดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศสิงคโปร์ หอสมุดแห่งชาติเมียนมาร์ และสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศเมียนมาร์

๗. การประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ ๑๙ ของสมาคมเอกสารโบราณว่าด้วยสื่อโสตทัศนวัสดุแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

๘. การให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาห้องสมุดในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ ห้องสมุดเคลื่อนที่ มุมหนังสือเด็ก และ การจัดการอบรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษ

ประเทศสาธารณรัฐฟิจิ (Ms. Merewalesi Vueti) ประเทศปาปัวนิวกินี (Mr. Kakaito Kasi) ประเทศคุกไอส์แลนด์ (Ms. Odile Urirau) บรรยาย เรื่อง “National Library Services in the South Pacific”

 

Ms. Merewalesi Vueti ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติฟิจิ บรรยายเรื่อง “School libraries destroyed” สรุปประเด็นสำคัญดังนี้

          ห้องสมุดโรงเรียนที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ทิศเหนือ ทิศตะวันออก รวมทั้งห้องสมุดบางแห่งที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองหลวงของประเทศ ต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากอุทกภัย วาตภัย สร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก ตามสถิติรายงานพบว่า ห้องสมุดระดับก่อนประถมศึกษาเสียหาย จำนวน ๒๖ แห่ง ห้องสมุดโรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน ๗๑ แห่ง และห้องสมุดโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑๗ แห่ง ซึ่งทุกแห่งมีความเสียหายประมาณ ๗๕ เปอร์เซ็นต์

Mr. Kakaito Kasi อธิบดีกรมหอสมุดแห่งชาติและเอกสารโบราณปาปัวนิวกินี บรรยายเรื่อง “PNG delivering quality library services to its people through international corporation” สรุปประเด็นสำคัญดังนี้

ประเทศปาปัวนิวกินีตั้งอยู่ในภูมิภาคแปซิฟิก ด้วยสภาพของประเทศจะเผชิญกับภัยธรรมชาติอยู่บ่อยครั้งทำให้ห้องสมุดของประเทศได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติมีความเสียหายของทรัพยากร อุปกรณ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ห้องสมุดยังไม่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย รัฐบาลให้ความสำคัญในการจัดสรร

งบประมาณห้องสมุดเป็นลำดับรอง เมื่อเทียบกับหน่วยงานทางการศึกษาอื่น ๆ ดังนั้นรัฐบาลได้มีการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการห้องสมุดในด้านต่าง ๆ ไว้ ได้แก่ นโยบายด้านทรัพยากรสารสนเทศและระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย รวมทั้งการสร้างนวัตกรรมของห้องสมุดใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น

Ms. Odile Urirau รักษาการผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติคุกไอส์แลนด์ บรรยายเรื่อง National Library Collaboration with MoCD (MoCD : Ministry of Culture Development) สรุปประเด็นสำคัญดังนี้

หอสมุดแห่งชาติคุกไอส์แลนด์ สังกัด กระทรวงพัฒนาวัฒนธรรม จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ และเปิดบริการในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ในขณะนั้นมีหนังสือบริการประมาณ ๑๐,๐๐๐ เล่ม ประกอบด้วย หนังสือวิชาการทั่วไป หนังสืออ้างอิง หนังสือสำหรับเด็ก หนังสือเกี่ยวกับภูมิภาคแปซิฟิก รายงานประจำปี สิ่งพิมพ์รัฐบาล และหนังสือหายาก

          หอสมุดแห่งชาติคุกไอส์แลนด์ได้กำหนดกลยุทธ์เพื่อพัฒนาหอสมุดแห่งชาติไว้ ๒ เรื่อง คือ

๑.  หอสมุดแห่งชาติจะจัดเก็บ รวบรวม รักษาทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทเพื่อให้

ประชาชนทุกหมู่เกาะสามารถเข้าถึงได้รวดเร็วในเวลาเดียวกัน

๒.  จัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติที่รวบรวมรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศไว้อย่างครบถ้วน ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

ปัญหาที่พบและความต้องการความช่วยเหลือจากห้องสมุดอื่น ๆ

๑.      สำนักพิมพ์ไม่ส่งสิ่งพิมพ์ตามกฎหมายให้หอสมุดสมุดแห่งชาติ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้สำนักพิมพ์ส่งสิ่งพิมพ์ไว้นานเกินไป

๒.      รัฐบาลไม่ค่อยให้ความสนใจในเรื่องการปรับแก้กฎหมายการส่งสิ่งพิมพ์

๓.      หอสมุดแห่งชาติประสบปัญหาเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำให้

ทรัพยากรสารสนเทศมีเชื้อราเป็นการเพิ่มภาระงานในการดูแลรักษารวมทั้งขาดงบประมาณในการแก้ปัญหาเหล่านี้

สิ่งที่ได้รับ/ข้อเสนอแนะ

          ได้รับทราบข้อมูลความเคลื่อนไหวด้านการพัฒนาความก้าวหน้ารวมทั้งปัญหาของหอสมุดแห่งชาติในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนียด้านต่าง ๆ ได้แก่ การรับทรัพยากรสารสนเทศตามกฎหมาย เครือข่ายความร่วมมือด้านการบริจาค แลกเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศ รวมทั้งปัญหาด้านการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศให้คงสภาพ สามารถนำมาเป็นข้อคิดเพื่อเป็นแนวทางพัฒนางานต่อไป

          หอสมุดแห่งชาติสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ และพิพิธภัณฑ์ในด้านการจัดเก็บรวมรวมและอนุรักษ์หนังสือหายากและเอกสารต้นฉบับในกลุ่มประเทศเอเชียและโอเชียเนีย

 

 

 

 

 

(จำนวนผู้เข้าชม 851 ครั้ง)


Messenger