...

ห้องจัดแสดงจิตรกรรมไทยประเพณี

ห้องจัดแสดงจิตรกรรมไทยประเพณี

จัดแสดงงานศิลปะซึ่งอยู่ในยุคสมัยระหว่างอยุธยาตอนปลายจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในช่วงแรกเป็นการแสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะในงานจิตรกรรมไทยประเพณีตั้งแต่ช่วงสมัยอยุธยาตอนปลายเป็นต้นมา ซึ่งเป็นการเขียนภาพแบบ 2 มิติ และมีเนื้อหาเรื่องราวเพื่ออุทิศแก่ศาสนา รวมทั้งมีการแบ่งประเภทของสื่อที่มาใช้ในการสร้างสรรค์งานออกตามลักษณะ ได้แก่ พระบฎ ตู้พระธรรม จิตรกรรมฝาผนัง และสมุดไทย ในช่วงที่สองเป็นการจัดแสดงภาพงานจิตรกรรมแบบไทยที่เริ่มได้รับอิทธิพลจากตะวันตกในช่วงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นงานของขรัวอินโข่ง ที่มีการใช้หลักทัศนียภาพและทิวทัศน์แบบตะวันตกเข้ามาประกอบในงาน ทำให้เกิดความลึกตื้นและใกล้ไกล เกิดเป็นภาพ 3 มิติขึ้น ในช่วงที่สาม เป็นการจัดแสดงภาพพระเมรุ ซึ่งเป็นภาพชุดที่มาจากการจัดการประกวดงานศิลปะครั้งแรกในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อนำภาพที่ชนะการประกวดมาประดับตกแต่งพระเมรุมาศในปี พ.ศ. 2430 ในช่วงที่สี่ เป็นการจัดแสดงงานจิตรกรรมชุดภาพจากวรรณคดี ช่วงสุดท้ายเป็นภาพจากจิตรกรรมและงานออกแบบพัดยศโดยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการรับอิทธิพลตะวันตกในงานจิตรกรรมไทยประเพณีที่มีการพัฒนาสืบต่อกันมาในยุคหลัง

(จำนวนผู้เข้าชม 847 ครั้ง)