...

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (พ.ศ. 2406 - 2490)

        ชื่อผลงาน: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (พ.ศ. 2406 - 2490)

        ศิลปิน: ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (พศ. 2435 - 2505)

        เทคนิค: ประติมากรรมสำริด (ถอดพิมพ์จากประติมากรรมสำริดที่ตำหนักปลายเนิน)

        ขนาด: สูง 42 ซม.

        ปีที่ปั้น: พุทธศักราช 2466

        รายละเอียดเพิ่มเติม: ผลงานประติมากรรมรูปเหมือนบุคคลชิ้นแรกๆ โดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ขณะเริ่มเข้ารับราชการในตำแหน่งช่างปั้น ประจำกรมศิลปากร ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ซึ่ง ณ ขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ผู้มีความเชี่ยวชาญในงานศิลปะไทยหลายแขนงจนได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นผู้กำกับดูแลกิจการด้านศิลปกรรมของแผ่นดิน และในระยะเวลาต่อมาทรงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอุปนายกราชบัณฑิตยสภา แผนกศิลปากรสถาน พระองค์ทรงประทับเป็นแบบให้ศาสตราจารย์ศิลป์ ปั้นรูปเหมือนพระองค์ เพื่อพิสูจน์ทักษะฝีมือในทางประติมากรรมของศาสตราจารย์ศิลป์ ความเจนจัดทางประติมากรรมของศาสตราจารย์ศิลป์ ปรากฏให้เห็นผ่านความเที่ยงตรงในการถ่ายทอดลักษณะทางกายวิภาคผ่านผลงานประติมากรรม

 

        Title: HRH Prince Narisara Nuvadtivongs (1863 - 1947)

        Artist: C. Feroci or Silpa Bhirasri (1892 - 1962)

        Technique: bronze sculpture

        Size: 42 cm. (H.)

        Year: 1923

        Detail: A sculptural portrait of HRH Prince Narisara Nuvadtivongs is considered as an artist’s earliest work in Siam, sculpted by Corrado Feroci or Silpa Bhirasri, an Italian sculptor whom was chosen by Siamese court in the reign of His Majesty King Vijiravudh (Rama VI), to worked as an official sculptor for the Fine Arts Department. During that time HRH Prince Narisara Nuvadtivongs is regarded as a senior member of the royal family who had expertise on many fields of traditional Thai arts and craftsmanship such as architecture, painting and drawing etc.., who later adopted a rank as the vice president of The Council of the Royal Academy, Department of Fine Arts (“Silpakorn Sathan” in Thai name). Prince Naris decided to help Feroci on proving his artistic skill to the eyes of His Majesty and other courtesans, by being a model for this sculptural portrait. This piece of sculpture is considered as an important piece which guaranteed artist’s skill on sculpture which reflected through an accuracy of anatomical expression.

เครดิตภาพถ่าย: [กลุ่มเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร] ประติมากรรมสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2563 เรื่อง “ศิลปวิทยาการจากสาส์นสมเด็จ” โดย สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดแสดงระหว่างวันที่ 19 สิงหาคม ถึง 19 พฤศจิกายน 2563 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

Photo credit: [PR section, The Fine Arts Department] sculptural portrait of HRH Prince Narisara Nuvadtivongs, displayed in an exhibition on a special occasion of Thai Heritage Conservation Day 2020, entitled “San Somdet: correspondence between Prince Narisara Nuvadtivongs & Prince Damrong Rajanubhab” by Office of National Museums, exhibited at National Museum Bangkok from August 19 – November 19, 2020.

(จำนวนผู้เข้าชม 1284 ครั้ง)