ข่าวและกิจกรรม
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี
ศิลปะลพบุรี (ศิลปะแบบเขมรโบราณในประเทศไทย)
อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ หรือประมาณ ๘๐๐ ปีมาแล้ว
พบที่ปราสาทเมืองสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรองค์นี้มีพระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม พระเนตรปิดสนิท พระโอษฐ์อมยิ้ม บนมวยผมมีพระพุทธรูปปางสมาธิ หมายถึงพระอมิตาภะประดิษฐานอยู่ พระวรกายท่อนบนมีพระพุทธรูปปางสมาธิองค์เล็ก ๆ ประดับอยู่โดยรอบ แลดูคล้ายเสื้อเกราะ
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเป็นรูปเคารพของพุทธศาสนานิกายมหายาน ทรงเป็นผู้คุ้มครองโลกและสรรพสัตว์ในยุคปัจจุบัน และทรงเป็นสัญลักษณ์ของความเมตตากรุณา พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี ถือเป็นประติมากรรมแบบพิเศษที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์ ตามคติความเชื่อของชาวพุทธมหายานที่กล่าวว่า ทุกเส้นพระโลมาหรือรูขุมขนของพระองค์คือจักรวาลหนึ่งจักรวาล พระพุทธรูปองค์เล็กๆ ที่ประดับอยู่โดยรอบ หมายถึงการเปล่งประกายแห่งการรู้แจ้ง และสั่งสอนพระธรรมเพื่อการหลุดพ้น
ในประเทศไทยมีการค้นพบประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี เพียง ๕ องค์ นอกเหนือจากปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรีแล้ว ยังพบที่เมืองโบราณสระโกสินารายณ์ จังหวัดราชบุรี ๑ องค์ ปราสาทกำแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี ๑ องค์ และถ้ำคูหาสวรรค์ จังหวัดลพบุรี อีก ๒ องค์ การค้นพบรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีในดินแดนประเทศไทย เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงการแผ่ขยายอิทธิพลของพุทธศาสนานิกายมหายาน จากอาณาจักรกัมพูชาโบราณเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทยได้เป็นอย่างดี
(วันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2567)
จำนวนผู้เข้าชม 43
องค์ความรู้ : หลุมโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ กาญจนบุรี
หลุมโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณนอกกําแพงเมืองด้านทิศใต้ติดกับแม่น้ําแควน้อย ได้มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์จํานวน 4 โครง แต่ที่เห็นอยู่ในหลุมขุดค้นมีเพียง 2 โครง อีก 2 โครงไม่สามารถกําหนดอายุและเพศได้ เนื่องจากถูกรบกวนจากสัตว์ใน ดิน จึงได้นําขึ้นจากหลุมขุดค้นและนําไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า อําเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี โครงกระดูกที่หันศีรษะไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นเพศหญิง อายุประมาณ 30-35 ปี และโครงกระดูกที่หันศีรษะไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเพศหญิง มีอายุ ประมาณ 20-30 ปี ทั้งสองโครงจะฝังรวมกับภาชนะดินเผา ภาชนะสําริด เครื่องมือเหล็ก และสําริด กําไลเปลือกหอยและสําริด ลูกปัดหิน และลูกปัดแก้ว
แหล่งโบราณคดีที่เป็นหลุมฝังศพในลักษณะนี้พบหลายแห่งตามริมฝั่งแม่น้ํา แควน้อย ในเขตอําเภอไทรโยค จนถึงอําเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี อันแสดงให้เห็น ถึงกลุ่มคนในวัฒนธรรมดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ํา ก่อนที่จะมีการสร้างปราสาท เมืองสิงห์ในพุทธศตวรรษที่ 18 จากหลักฐานที่พบสันนิษฐานว่ากลุ่มคนเหล่านี้เคยอยู่ มาเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว และเคยมีการติดต่อกับชุมชนอื่นเช่นที่บ้านดอนตาเพชร อําเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เพราะหลักฐานต่าง ๆ ที่พบคล้ายคลึงกัน และมีอายุ ในช่วงปลายยุคโลหะเช่นเดียวกัน
(วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567)
จำนวนผู้เข้าชม 55
มีลักษณะเป็นฐานอาคารคล้ายห้องแถวเรียงกันอยู่ ๔ คูหา พื้นอาคารถูกบดอัดจนแน่นด้วยทรายและกรวดแม่น้ำ ก่อนที่จะปูทับด้วยศิลาแลง
จากการขุดแต่งพื้นที่โดยรอบ พบโบราณวัตถุจำพวก ตะปู ขอยึด และเศษกระเบื้องดินเผามุงหลังคาเป็นจำนวนมาก
มีผู้ตั้งข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับโบราณสถานแห่งนี้ ไว้หลากหลายแนวทาง
บางท่านว่า เป็นกุฏิสงฆ์
บางท่านว่า เป็นที่สำหรับเจริญวิปัสสนาสมาธิของพระเถระผู้ใหญ่
บางท่านว่า เป็นอาคารประดิษฐานรูปเคารพของท้าวจตุโลกบาล ทั้ง ๔
แต่ที่ฟังแล้วสมเหตุสมผลก็คือ เป็นท้องพระคลัง หรือโกดัง สำหรับเก็บรักษาข้าวของมีค่า ได้แก่ เครื่องใช้ที่ทำด้วยทองคำ ผ้าแพรพรรณชั้นดีสำหรับนุ่งห่มรูปเคารพต่างๆ เงินตรา และเครื่องสมุนไพร ซึ่งมีหลักฐานระบุว่า “พระเจ้าชัยวรมัน ที่ ๗” ได้พระราชทานมาให้แก่เมืองสิงห์ หรือ “ศรีชยสิงหบุรี” เป็นประจำทุกปี
(วันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567)
จำนวนผู้เข้าชม 125
กำแพงและประตูกำแพงด้านทิศตะวันออก เป็นกำแพงก่อด้วยแลงขึ้นมาเป็นผนังด้านนอกและทำเป็นลดชั้นที่ส่วนล่างเล็กน้อย ด้านในใช้ดินถมค่อยๆลาดลงมา เช่นกำแพงอื่นๆ ส่วนของประตูเจาะแนวกำแพง เป็นช่องแล้วใช้แลงก่อปิดทั้ง 2 ฟากข้าง ประตูได้รับการบูรณะแล้ว ลักษณะประตูด้านนอกกำแพงทำเป็นลด 2 ชั้น ด้านในก่อเป็นขั้นบันได มีร่องรอยการพังทลายของแนวกำแพงปรากฏให้เห็นเป็นการไหลตัวของดิน
การก่อสร้างใช้แลงขนาดต่างๆ กัน และดินเป็นวัสดุในการก่อสร้าง การก่อเรียงแลงไม่เป็นระบบที่แน่น
(วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม 2567)
จำนวนผู้เข้าชม 188
องค์ความรู้ : โบราณสถานหมายเลข 3
ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้วด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโบราณสถานหมายเลข ๑ อาคารหลังนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบโล่ง ลักษณะเป็นแนวของฐานโบราณสถานขนาดเล็ก ภายในเป็นห้องก่อด้วยอิฐและศิลาแลง ฐานชั้นล่างเป็นฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อด้วยศิลาแลง ถัดขึ้นมาเป็นฐานปัทม์ ๑ ชั้น ชั้นบนก่อด้วยอิฐซึ่งลักษณะการก่อสร้างเช่นนี้อาจจะเป็นการก่อสร้างทับซ้อนกันก็ได้ ที่มุมด้านนอกอาคารทุกมุมมีแผ่นหินปักไว้คล้ายกับเป็นใบเสมา และจากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๓ นี้ ได้พบพระพิมพ์โลหะที่เป็นพระพิมพ์เนื้อชินตะกั่วจำนวนมาก อาคารหลังนี้มีผู้เสนอแนวความคิดว่าน่าจะสร้างมาก่อนการสร้างปราสาท
(วันศุกร์ที่ 05 เมษายน 2567)
จำนวนผู้เข้าชม 214
(วันอังคารที่ 12 มีนาคม 2567)
จำนวนผู้เข้าชม 157
ไม่มีข้อมูล
-