...

ความเป็นมา

 

 

ภูมิหลังทวารวดี

        ก่อนที่วัฒนธรรมทวารวดีเจริญรุ่งเรืองขึ้น ณ ดินแดนประเทศไทย ปัจจุบัน พื้นที่บริเวณนี้ปรากฏหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาแล้วตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งยังไม่รู้จักการบันทึกเรื่องราวเป็นลายลักษณ์อักษร คงมีเพียงเครื่องมือเครื่องใช้ประเภทหิน และโลหะที่ทําจากสําริด เหล็ก ตลอดจนเครื่องใช้อื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ที่มีพัฒนาการ มาตามลําดับ ด้วยเหตุที่ถิ่นฐานตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าระหว่างจีนกับ อินเดีย ชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ ที่อาศัยอยู่ ณ บริเวณลุ่มน้ําในภาคกลาง ของประเทศไทย จึงได้พัฒนาตนเองผ่านการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่าง กลุ่มชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และดินแดนที่อยู่ห่างไกลออกไป เข้าสู่ความเป็นชุมชนชาวพุทธ โดยรับนับถือพระพุทธศาสนาที่เผยแผ่มา จากประเทศอินเดีย เริ่มสร้างสรรค์งานประติมากรรมและสถาปัตยกรรม เนื่องในพุทธศาสนาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ เป็นต้นมา

        หลักฐานทางโบราณคดีในประเทศไทยและอุษาคเนย์ ล้วนแสดงให้เห็น ว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งพักอารยธรรมที่สําคัญแห่งหนึ่งของ อินเดีย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ ชุมชนในภูมิภาคต่างได้รับอิทธิพล อินเดีย ทั้งด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ศาสตร์ต่าง ๆ รวมทั้งภาษาศาสตร์ และอักษรศาสตร์ อันเป็นเครื่องบ่งบอกถึงพัฒนาการ และการก้าวเข้าสู่ยุค สมัยทางประวัติศาสตร์ เฉพาะชุมชนสังคมเมืองในดินแดนประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับวิวัฒนาการของ “ศิลปะและวัฒนธรรมทวารวดี”

ทวารวดีจากจารึกและเอกสารโบราณ

         คําว่า “ทวารวดี” ปรากฏเป็นครั้งแรกเมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ในบันทึกของพระภิกษุจีนสมัยราชวงศ์ถังชื่อ เหี้ยนจัง (ยวนฉ่าง หรือพระ ถังซัมจั๋ง) ซึ่งได้บันทึกไว้เมื่อเดินทางทางบกผ่านแคว้นสมทัต ริมแม่น้ํา จิตตกอง ฝั่งเหนือ (ประเทศบังกลาเทศ) ว่ามีแคว้น “โถโลโปต” ตั้งอยู่ ทางตะวันออก ถัดจากแคว้น “ชิดหลีซาตําล้อ” (ศรีเกษตร) “เกียมลังเกี่ย” (กามลังกา) ถัดออกไปเป็นแคว้น “อี้เจี้ยน้าโป้ล้อ” (อิศานปุระ) และ “ม่อออเจียมปอ” (มหาจามปา)

ต่อมาพระภิกษุจีนชื่ออี้จิง ได้บันทึกชื่อแคว้นนี้ไว้อีกครั้ง ระหว่างต้น พุทธศตวรรษที่ ๑๓ ขณะที่ท่านเดินทางด้วยเรือไปขึ้นฝั่งที่แคว้นสมทัตใน นาม “ตุยโหโปตี้”

        นักประวัติศาสตร์ และโบราณคดีรุ่นแรก ๆ ที่ทําการศึกษาเรื่องราวของ รัฐโบราณในภูมิภาคนี้ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะหมายถึงรัฐทวารวดี ซึ่งอาจมี ที่ตั้งอยู่ ณ บริเวณภาคกลางของประเทศไทย ต่อมาภายหลังได้มีการค้นพบ หลักฐานโบราณสถาน และโบราณวัตถุเป็นจํานวนมาก รวมทั้งเหรียญเงิน ซึ่ง จารึกด้วยอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต ความว่า “ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ” หรือ “การบุณย์ของพระเจ้าศรีทวารวดี” ณ แหล่งโบราณคดีในชุมชนโบราณ ที่เมืองนครปฐม ราชบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาทและสุพรรณบุรี เป็นต้น จึง เป็นหลักฐานสําคัญที่ยืนยันว่า รัฐทวารวดีมีศูนย์กลางอยู่ ณ บริเวณลุ่มน้ํา เจ้าพระยา

(จำนวนผู้เข้าชม 345 ครั้ง)