...

เงินเจียง
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่
เงินเจียง
อาณาจักรล้านนามีการคิดค้นพัฒนาระบบเงินตราขึ้นเป็นของตัวเอง เรียกว่า “เงินเจียง” โดยทำจากเนื้อเงินผสมสูง ทำให้เป็นเงินตราที่มีค่าสูงสุดของอาณาจักร
คำว่า เงินเจียง เรียกตามสำเนียงพื้นเมืองทางภาคเหนือ มาจากคำว่า เชียง ซึ่งเป็นคำหน้าชื่อเมือง
.
ลักษณะเงินเจียงมีรูปทรงคล้ายเกือกม้าสองวงเชื่อมต่อกัน ตรงกลางระหว่างรอยต่อตอกด้วยสิ่วจนเกือบแยกขาดออกจากกัน เพื่อใช้สำหรับหักครึ่งเมื่อต้องมีการทอนค่าเงินลง และมีการประทับตราลงบนเงิน
โดยแบ่งออกเป็น 3 ตรา คือ
1. ชื่อเมือง เพื่อระบุแหล่งที่ผลิตขึ้น จะระบุเป็นตัวอักษรย่อ ตัวอย่างเช่น แสน = เชียงแสน / หม = เชียงใหม่ / นาน = น่าน / คอนหรือดอน = ลำปาง / แพร = แพร่ เป็นต้น
2. ตัวเลขที่ใช้บอกน้ำหนักของเงิน โดยเงินเจียงขนาดใหญ่ หนักเท่ากับ 5 บาทของล้านนา เมื่อเทียบกับเงินพดด้วงของสุโขทัยและอยุธยาแล้วจะหนักเท่ากับ 4 บาท หรือ 1 ตำลึง และแบบขนาดเล็ก หนัก 2 บาทครึ่ง 1 บาท กึ่งบาท และอันละเฟื้อง ตามระบบน้ำหนักมาตรฐานของเงินพดด้วง
3. ตราจักรประจำเมือง หรือ ตราของผู้ครองเมือง จะเป็นตราดวงกลม
.
อ้างอิง
- นวรัตน์ เลขะกุล. เงินตราล้านนาและผ้าไท. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, 2543. หน้า 25, 34-35.
- ธนาคารแห่งประเทศไทย. “เงินตราสมัยล้านนา”. เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 จาก https://www.bot.or.th/.../Northern/Pages/T-Lannacoin.aspx

(จำนวนผู้เข้าชม 396 ครั้ง)


Messenger