...

ที่วางคัมภีร์ล้านนา
ชั้นแก้ว : ที่วางคัมภีร์ล้านนา
ศิลปะ ล้านนา
ขนาด กว้าง ๕๘.๔ เซนติเมตร สูง ๗๘.๘ เซนติเมตร
ทำด้วยไม้ลงรักปิดทอง ประดับกระจกสี ตัวขั้นแก้วแกะสลักเป็นรูปเทพประนมอยู่ ๒ ข้าง
พุทธสถาน จังหวัดเชียงใหม่ มอบให้ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องเครื่องสักการะในพระพุทธศาสนา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
. “ที่วางคัมภีร์ หรือ ชั้นแก้ว” เป็น อุปกรณ์วางคัมภีร์ใบลานประเภทหนึ่ง (ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมเรียกว่าขั้นกะเยีย) 
. มีลักษณะคล้ายแผงขั้นบันได ใช้จัดเก็บวางคัมภีร์เพื่อเตรียมใช้งาน ไม่ใช่เพื่อการอ่าน โดยห่อผ้าหรือกล่องคัมภีร์จะวางอยู่บนโครงสร้างไม้ที่ยื่นออกมารับน้ำหนัก มีจำนวนขั้นเป็นเลขคี่ ซึ่งเชื่อมโยงกับการสร้างบันไดตามคติโบราณว่า “เลขคู่บันไดผี เลขคี่บันไดคน”  
. ชั้นแก้ววางคัมภีร์ได้ตั้งแต่ ๓ – ๙ มัด และนิยมตกแต่งส่วนยอดและส่วนฐานด้วยการแกะสลักลวดลายหรือประดับด้วยกระจกสีเพื่อความงดงาม
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
ที่มา : 
1. มณี พยอมยงค์ และศิริรัตน์ อาศนะ. (๒๕๓๘). เครื่องสักการะในล้านนาไทย. กรุงเทพฯ: ธนาคารไทยทนุ.
2. ประทับใจ สิกขา. (๒๕๕๓). การศึกษาเปรียบเทียบศิลปะไม้แกะสลักแถบลุ่มน้ำโขงของไทย และสปป.ลาว. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
3. กากะเยีย ขั้นกะเยีย...ผสานศิลป์ถิ่นอีสาน. (๒๕๕๘, ๗ กุมภาพันธ์). Tipitaka (DTP). ค้นเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๔, จาก https://www.mps-center.in.th/manuscripts/blog/34









(จำนวนผู้เข้าชม 768 ครั้ง)