...

หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ จัดกิจกรรม "๑๒๑ ปี ครูบาเจ้าศรีวิชัยกับเมืองเชียงใหม่" ภายใต้การดำเนินงานโครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต (ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค) ประจำปี ๒๕๖๖
วันเสาร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๖ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ จัดกิจกรรม "๑๒๑ ปี ครูบาเจ้าศรีวิชัยกับเมืองเชียงใหม่" ภายใต้การดำเนินงานโครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต (ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค) ประจำปี ๒๕๖๖ โดยมีนายชินณวุฒิ วิลยาลัย ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมฯ
 
การเสวนา เรื่อง ๑๒๑ ปี ครูบาเจ้าศรีวิชัยกับเมืองเชียงใหม่ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.
- บทบาทของครูบาเจ้าศรีวิชัยกับการสร้างศาสนสถานในเมืองเชียงใหม่ และกู่อัฐิของครูบาเจ้าศรีวิชัยในเมืองเชียงใหม่
วิทยากรโดย ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ นักประวัติศาสตร์ศิลปะและนักเขียน
- การต้องอธิกรณ์ของครูบาเจ้าศรีวิชัย
วิทยากรโดย พระปลัดจรินทร์ ธมมวโร เจ้าอาวาสวัดศรีดอนไชย
การเสวนา เรื่อง ครูบาเจ้าศรีวิชัยกับหลักฐานด้านลายลักษณ์อักษร จารึก และคัมภีร์ใบลาน
- คัมภีร์ใบลาน พับสา และเอกสารตัวเขียนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับครูุบาเจ้าศรีวิชัย
วิทยากรโดย ดร.ดิเรก อินจันทร์ นักวิชาการวัฒนธรรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
- จารึกบนแผ่นไม้ แผ่นหิน และแผ่นปูนของครูบาเจ้าศรืวิชัย
วิทยากรโดย อาจารย์ภูเดช แสนสา อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปศาสตร์การท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยพิษณุโลก และเจ้าของพิพิธภัณฑ์หอศาสตราแสนเมืองฮอม จังหวัดแพร่
 
การศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และศาสนสถานในเมืองเชียงใหม่ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. 
- วัดหมื่นสาร : สักการะกู่อัฐิของครูบาเจ้าศรีวิชัย ชมรูปเหมือนของครูบาเจ้าศรีวิชัย ออกแบบปั้นโดยศิลปินแห่งชาติ (ศาสตรเมธี นนทิวรรธ์ จันทะผลิน)
- วัดอุปคุต : ภาพวาดครูบาเจ้าศรีวิชัยในสมัยที่ถูกอธิกรณ์ที่วัดศรีดอนไชย 
- วัดศรีดอนไชย : สถานที่กักกันของครูบาเจ้าศรีวิชัย ขณะถูกอธิกรณ์ย้ายมาจากลำพูน
วิทยากรโดย
- พระปลัดจรินทร์ ธมมวโร เจ้าอาวาสวัดศรีดอนไชย
- ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ นักประวัติศาสตร์ศิลปะและนักเขียน
- อาจารย์ภูเดช แสนสา อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปศาสตร์การท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยพิษณุโลก และเจ้าของพิพิธภัณฑ์หอศาสตราแสนเมืองฮอม จังหวัดแพร่
- ดร.ดิเรก อินจันทร์ นักวิชาการวัฒนธรรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
 

(จำนวนผู้เข้าชม 169 ครั้ง)


Messenger