...

เวทมนตร์ดูแลผู้สูงวัย ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

     ชื่อเรื่อง : เวทมนตร์ดูแลผู้สูงวัย ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

     ผู้แต่ง : โฮลดิงส์, ฮะเซะโก ซีเนียร์

     สำนักพิมพ์ : นานมีบุ๊คส์

     ปีพิมพ์ : 2563

     เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-04-4785-5

     เลขเรียกหนังสือ : 616.83 ฮ944ว

     ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป

     ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป 1

 
สาระสังเขป : โลกในปัจจุบันหลายๆ ประเทศเริ่มเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงวัย ประชากรภายในประเทศมีช่วงอายุอยู่ในวัยสูงอายุเพิ่มมากขึ้นกว่าประชากรในวัยต่างๆ การดูแลผู้สูงอายุนั้นบ่อยครั้งที่สร้างความหนักใจให้แก่ทั้งผู้ดูแลและผู้สูงอายุ ทั้งตัวผู้สูงอายุเองที่รู้สึกหดหู่กับสภาพร่างกายที่ค่อยๆ ร่วงโรยตามเวลา และรู้สึกไร้ความหมายเมื่อไม่อาจทำสิ่งที่เคยทำได้เหมือนเมื่อก่อน ทั้งผู้ดูแลที่ต้องเฝ้าระวังผู้ป่วยสูงวัยตลอดเวลาในขณะที่มีภาระหน้าที่อีกมากมายที่ต้องจัดการเช่นกัน "เวทมนตร์ดูแลผู้สูงวัย ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม" จะแบ่งปันความรู้และเรื่องราวการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยสมองเสื่อม ด้วยแนวคิดการดูแลผู้สูงวัยแนวใหม่ โดยหน่วยบุกเบิกรอยยิ้มและความสบายใจ จากสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุและผู้ป่วยสมองเสื่อมกว่า 10 แห่งในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีสุดแห่งหนึ่งในโลก โดยหัวใจของแนวคิดนี้อยู่ที่ตามหารอยยิ้มงดงามที่สุดของผู้สูงอายุแต่ละคน บันทึก จดจำ แล้วแบ่งปันข้อมูล เพราะสิ่งจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุไม่ใช่เพียงการดูแลความปลอดภัยและความเป็นอยู่ แต่ยังเป็นการค้นพบความหมายของชีวิตและได้ใช้ชีวิตในแบบของตัวเอง ในช่วงวัยที่ร่างกายทำสิ่งต่างๆ ได้น้อยลง ซึ่งจะเสนอเคล็ดลับดูแลผู้ป่วยพร้อมการปฏิบัติหลายแบบ เช่น ลองฝึกคาดการณ์อันตรายจากตัวอย่างอุบัติเหตุ / เปลี่ยนมุมมองจากอุบัติการณ์สู่รอยยิ้ม / รำลึกความทรงจำช่วยเปิดใจ / การดูแลแบบสวิตซ์ออนเวลาลุกยืนและกินข้าว/ สิ่งสำคัญในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง / การสังเกตและวิธีรับมือภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น และยังมีแผนการดูแลโดยใช้รอยยิ้มและความสบายใจ กระดาษบันทึกอารมณ์ให้ได้บันทึกสังเกตการณ์ พร้อมสรุปบทเรียนจากประสบการณ์ที่ได้ประสบพบเจอ รวมไปถึงแนวทางปฏิบัติและทฤษฎีที่มีประโยชน์ต่อทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแล โดยเปลี่ยนความเครียดเป็นรอยยิ้ม เปลี่ยนภาระหนักใจเป็นความสบายใจ และเปลี่ยนสิ่งที่ทำไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำได้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของสังคมผู้สูงวัย

(จำนวนผู้เข้าชม 540 ครั้ง)