...

องค์ความรู้การซ่อมบูรณะงานศิลปกรรมแบบสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร (เครื่องไม้)

     

     ชื่อเรื่อง : องค์ความรู้ การซ่อมบูรณะงานศิลปกรรมแบบสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร (เครื่องไม้) 

     ผู้แต่ง : -

     สำนักพิมพ์ : สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

     ปีพิมพ์ : 2563

     เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-283-500-1

     เลขเรียกหนังสือ : 709.593 อ114

     ประเภทหนังสือ : หนังสือกรมศิลปากร

     ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป 1

สาระสังเขป : ราชรถน้อย 9783 เป็นศิลปวัตถุยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นที่กรมศิลปากรเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อกาลเวลาล่วงเลยความเสื่อมและชำรุดย่อมเกิดขึ้น กรมศิลปากรได้มอบหมายให้สำนักช่างสิบหมู่ซ่อมแซมบูรณะ จึงได้จัดทำหนังสือองค์ความรู้การซ่อมบูรณะ    งานศิลปกรรมแบบสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร (เครื่องไม้) ซึ่งสำนักช่างสิบหมู่ ได้ศึกษาความรู้เรื่องเครื่องไม้ของไทยจากรณีศึกษาการซ่อมบูรณะราชรถน้อย 9783 ในปีพุทธศักราช 2551 อันเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากการรวบรวมและเรียบเรียงขั้นตอนการปฏิบัติงานและการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานจริง รวมถึงเทคนิควิธีการที่พบ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของช่างไทยโบราณในเรื่องเครื่องไม้ของไทยที่ใช้ทักษะและกระบวนการแตกต่างจากยุคสมัยปัจจุบัน สำนักช่างสิบหมู่จึงได้รวบรวม ศึกษา และจัดทำหนังสือองค์ความรู้การซ่อมบูรณะงานศิลปกรรมแบบสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร : เครื่องไม้ขึ้น โดยนำเสนอเรื่องราวประวัติ ความเป็นมา ความหมาย ความสำคัญของราชรถ ราชยาน ราชรถสำหรับงานพระราชพิธีพระบรมศพของไทยราชรถน้อย 9783 กระบวนการซ่อมบูรณะงานศิลปกรรมแบบสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร (เครื่องไม้) ราชรถน้อย 9783 เช่น การสำรวจและจัดทำแผนการดำเนินงาน พิธีบวงสรวง การถ่ายภาพเก็บข้อมูล ช่างเขียนวัดขนาดเขียนแบบรูปทรง การรื้อถอน ถอดลวดลาย และโครงสร้าง ความเสื่อมสภาพและความชำรุดเสียหาย รูปแบบวิธีการซ่อมงานเครื่องไม้ในรูปแบบต่างๆ (แกะสลักลวดลายใหม่ ชิ้นงานที่หักหายบางส่วน แกะล้างหน้าลาย ไม้เสื่อมสภาพ เพาะเสริมไม้ที่แตกหัก บิ่น ผุ เสริมความมั่นคงแข็งแรง) การเทียบประกอบ การติดตั้งบุษบก การติดประกอบลวดลาย การปิดทอง การประดับกระจก เป็นต้น และประโยชน์ ความสำคัญจากการซ่อมบูรณะงานศิลปกรรมแบบสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร นอกจากนี้ยังมีภาพประกอบสีพร้อมรายละเอียดอธิบายประกอบทำให้เกิดความเข้าใจได้อย่างชัดเจน ซึ่งการรวบรวมองค์ความรู้นี้ด้วยมุ่งหวังเพื่อเป็นการสืบสานเทคนิควิธีการดังกล่าวเอาไว้เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป    

(จำนวนผู้เข้าชม 416 ครั้ง)