...

พระรามชาดก บั้นต้น (สำนวนร้อยเอ็ด) ฉบับคัดพิมพ์ พ.ศ. 2474

     

     ชื่อเรื่อง : พระรามชาดก บั้นต้น (สำนวนร้อยเอ็ด) ฉบับคัดพิมพ์ พ.ศ. 2474

     ผู้แต่ง : อาทิตย์ ดรุนัยธร

     สำนักพิมพ์ : ขอนแก่นการพิมพ์

     ปีพิมพ์ : 2563

     เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-438-491-0

     เลขเรียกหนังสือ : 294.31881 พ319

     ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป

     ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป 1

สาระสังเขป : "พระรามชาดก บั้นต้น (สำนวนร้อยเอ็ด) ฉบับคัดพิมพ์ พ.ศ. 2474" จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในโอกาสวาระครบรอบ 70 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว โดยกองทุนพระมหาชนก มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้น้อมรับพระราชกระแสรับสั่งของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า    กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีถึงความกังวลพระราชหฤทัยว่า หนังสือหายากที่เป็นหนังสือดีมีคุณค่าทางภาษาและวรรณกรรมของไทยในอดีตจะสูญหายไปตามกาลเวลานั้น โดยนำหนังสือ พระรามชาดก บั้นต้น(สำนวนร้อยเอ็ด) ฉบับคัดพิมพ์ดีด เมื่อ พ.ศ. 2474 ซึ่งไม่เคยมีการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน มากราดภาพและผลิตเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พร้อมนำเสนอรายงานการค้นคว้าเรื่อง อุปกรณ์พระรามชาดก ของ รศ. ดร.    จักรกฤษณ์ ดวงพัตรา มาตีพิมพ์รวมไว้ด้วย เนื้อหาภายในเล่มได้นำเสนอหนังสือผูกใบลาน จำนวน 20 ผูก ในรูปแบบของแผ่นซีดีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบกับหนังสือตัวเล่มที่กล่าวถึงเรื่องราวของ อุปกรณ์พระรามชาดกซึ่งเนื้อหาว่าด้วยที่มาและที่ไปของพระรามชาดกนับแต่ พ.ศ. 2471 ถึงปัจจุบัน อันเป็นประวัติวรรณคดีเฉพาะเรื่อง นอกจากนี้ยังมีภาพประกอบของหนังสือหายากพร้อมรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับพระรามชาดกไว้ให้ศึกษา          เช่น หนังสืออุปกรณ์รมเกียรติ์ ภาคหนึ่ง ตอนต้น ของเสฐียรโกเศศ และนาคะประทีป ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส 28 มีนาคม พ.ศ. 2475 / ไทยเขษม รีวิว ปีที่ 10 เล่ม 8 - 10 (วันที่ 15 ธันวามคม / 15 มกราคม / 15 กุมภาพันธ์ 2476) / อุปกรณ์รามเกียรติ์ ของ เสฐียรโกเศศ กองการสังคีต กรมศิลปากร จัดพิมพ์ พ.ศ. 2497 / พระรามชาดก (ถอดความบรรยายจากหนังสือเทศน์) อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์โท หลวงศรีอมรญาณ (ชัยศรี ศรีอมร) พ.ศ. 2507 / ปรารภ กวีนิพนธ์ เรื่อง พระรามชาดก (พ.ศ. 2558) เป็นต้น เรื่องพระรามชาดก หรือ พระลัก-พระลาม เป็นวรรณกรรมล้านช้างซึ่งรู้จักแพร่หลายทั้งในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และภาคอีสานของไทย การนำพระรามชาดก สำนวนจังหวัดร้อยเอ็ดมาตีพิมพ์ จึงถือว่าเป็นการเผยแพร่วรรณกรรมสองฝั่งโขงเรื่องนี้ให้แพร่หลายในวงกว้างขึ้น และอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่สืบต่อไป

(จำนวนผู้เข้าชม 712 ครั้ง)