...

ตำรับอาหารพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนตำบลหนองบัว อำเภอเมืองกาญจนบุรี


     ชื่อเรื่อง :
ตำรับอาหารพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนตำบลหนองบัว อำเภอเมืองกาญจนบุรี

     ผู้เขียน : จุไรรัตน์ ประเสริฐสนิท

     สำนักพิมพ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

     ปีพิมพ์ : 2556

     เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-974-606-000-4

     เลขเรียกหนังสือ : 641.5 จ653ต

     ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป

     ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป 1


สาระสังเขป : ชุมชนตำบลหนองบัวเป็นชุมชนที่มีประวัติคู่เมืองกาญจนบุรีมาตั้งแต่โบราณกาล เพราะตั้งอยู่ในละแวกใกล้เคียงกันกับเมืองกาญจนบุรีเก่า ด้วยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรหลัก ทำให้ชุมชนตำบลหนองบัวกลายเป็นชุมชนตลาดที่ใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า มีพ่อค้าคนจีนล่องเรือมาจากสมุทรสงครามมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกันกับผู้หาของป่ามาขายเป็นเหตุให้มีคนจีนมาตั้งถิ่นฐานบริเวณตลาดมากขึ้นจึงเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมโดยเฉพาวัฒนธรรมด้านอาหาร ทั้งรูปแบบการประกอบอาหารและการรับประทานอาหารซึ่งยังคงอยู่ในชุมชนจนถึงปัจจุบัน " ตำรับอาหารพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนตำบลหนองบัว อำเภอเมืองกาญจนบุรี " เป็นผลงานที่เกิดจากการวิจัยแบบมีส่วนร่วมซึ่งใช้การเก็บข้อมูลด้วยการทดลองตำรับอาหารต่างๆ ร่วมกับปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น นำเสนอเรื่องราวบริบทของชุมชนตำบลหนองบัว และอาหารพื้นบ้านในชุมชนตำบลหนองบัว ตำรับอาหารพื้นบ้านของชุมชน ได้แก่ น้ำพริกกะปิมอญ แยมหยวก แกงบวน ยำเห็ดโคนเปรี้ยว ยำหัวปลี สะเดา-น้ำปลาหวาน แกงป่าไก่ไทยมะเขือขื่น หน่อไม้ต้มกะปิ หมูพะโล้หน่อไม้แห้ง ทอดมันกัวปลี แกงเลียงหัวปลี แกงส้มหน่อไม้ดอง แกงส้มมะรุม แกงส้มตะคึก ข้าวต้มเห็ดโคน หมี่ผัด ขนมเบื้องไข่ เมี่ยงคำ ขนมตาล ลอดช่องไทย บัวลอยญวณ ข้าวเม่าคลุก ข้าวเหนียวเหลือง-หน้าปลาแห้ง ขนมกะลอจี๊ ขนมบ้าบิ่น ข้าวต้มมัด กล้วยตาก เห็ดโคนเปรี้ยว หน่อไม้ดอง หน่อไม้แห้ง พร้อมทั้งมีรายละเอียดสูตรเครื่องปรุง วิธีทำ รสชาติ และเคล็ดลับแต่ละเมนูให้ด้วย นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการศึกษาและพัฒนาตำรับอาหารในชุมชนตำบลหนองบัว ภาพกิจกรรม ผู้รู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารที่ร่วมให้ข้อมูล ผู้สาธิตการประกอบอาหารพื้นบ้านชุมชนตำบลหนองบัว หนังสือเล่มนี้จึงนับว่ามีความสมบูรณ์และทรงคุณค่าเหมาะสมสำหรับใช้เป็นข้อมูลในการศึกษา ค้นคว้าและสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารพื้นบ้านได้เป็นอย่างดี สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์จริงแก่ประชาชนและชุมชนเพื่อความกินดีอยู่ดี และความรักภาคภูมิใจในชุมชนของตนสืบต่อไป

(จำนวนผู้เข้าชม 1731 ครั้ง)