...

หัดธรรม เสียงธรรมสตรี สมัย ร.๕


     
     ชื่อเรื่อง :
หัดธรรม เสียงธรรมสตรี สมัย ร.๕

     ผู้เขียน : ธรรมกถิกาจารย์

     สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา

     ปีพิมพ์ : ๒๕๖๑

     เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : ๙๗๘-๖๑๖-๐๓-๐๙๕๖-๖

     เลขเรียกหนังสือ : ๒๙๔.๓๐๗๖ ธ๓๒๑ห

     ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป

     ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป ๑



สาระสังเขป :
"หัดธรรม เสียงธรรมสตรี สมัย ร.๕" เป็นการนำมาเรียบเรียงจัดพิมพ์ใหม่ จากเดิมต้นฉบับหนังสือเรื่อง "หัดพูดธัมมะ สำหรับเปนบทเรียนพูด เรียนถาม" ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ร.ศ. ๑๒๓ โดยเริ่มต้นด้วยธรรมะระดับพื้นๆ เช่น ทาน ศีล สมาธ ปัญญา เมตตา และกรุณา จากนั้นจะก้าวสู่ธรรมขั้นสูง ที่เขียนโดยฆราวาส มีวิธีการเรียบเรียงที่แตกต่างจากพระภิกษุส่วนใหญ่ในสมัยนั้น ไม่ได้แสดงแบบธรรมเทศนาหรือเทศนาโวหาร หากแต่สื่อธรรมด้วยวิธีปุจฉา-วิสัชชนา ทำให้ชวนอ่าน ไม่เคร่งเครียดเกินไป ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ด้วยมุ่งหวังสำหรับเป็นบทเรียนพูดเรียนถามหรือเป็นแบบอย่างสำหรับฆราวาสในการซักถามและอธิบายธรรมะ โดยผ่านตัวละครทั้งหลายในเรื่องนี้ที่เป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใฝ่ธรรมที่มีการปฏิบัติแตกต่างกัน ทำให้เห็นมุมมองที่แตกต่างกันไปด้วย แต่ทุกครั้งที่สนทนาจบก็จะได้ข้อสรุปที่เห็นพ้องต้องกันและครอบคลุมหลากหลายแง่มุม ซึ่งนำเสนอหลากหลายเรื่องราวแบ่งออกเป็นบท เช่น แม่รักกับแม่อารี (พูดเรื่องศีลกับทาน) แม่ชอบนิ่งกับแม่ช่างตรอง และแม่เรียนจำ (พูดเรื่องบาปและที่เกิดของบาป) ครูกับแม่รู้จริง (พูดเรื่องเห็นจริงรู้จริง) แม่หยุดใจพูดกับแม่ทำไป (ด้วยเรื่องสิ่งไม่เที่ยงเห็นสิ่งเที่ยงได้) เป็นต้น แม้หนังสือต้นฉบับเดิมจะเขียนมายาวนานกว่าร้อยปีแล้ว หากแต่เนื้อหาเรื่องราวที่นำเสนอนั้นยังคงสามารถนำมาศึกษาปรับใช้กับปัจจุบันได้เพราะเป็นหนังสืออธิบายธรรมตั้งแต่พื้นฐานจนถึงระดับสูงที่ชาวพุทธในปัจจุบันควรให้ความสนใจและนำไปศึกษาปฏิบัติ     

(จำนวนผู้เข้าชม 572 ครั้ง)