...

มหานาคราชาใหญ่
"มหานาคราชาใหญ่"
สะพานพญานาคราช ณ วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง
สร้างในสมัยเจ้าฟ้าอัตวรปัญโญ เมื่อพุทธศักราช ๒๓๔๙ และซ่อมในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ในปี พ.ศ. ๒๔๔๘
จากหนังสือราชวงษปกรณ์ พงษาวดารเมืองน่าน ความว่า
• เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๖๘ ตัวปีรวายยี เดือน ๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เม็งวันอังคารไทยเบิกไจ๊ยามเที่ยงวัน ท่านซ้ำมีอาชญาเกณฑ์เอากำลัง ๕๐๐ คน ก่อสร้างยังรูปมหานาคราชาใหญ่ ๒ ตัว ยาว ๖๘ วา ตัวใหญ่แต่แผ่นดินขึ้นสูง ๔ ศอก ยอฉัวเลิกพังพานขึ้นสูง ๑๐ ศอก ฐาปนาตั้งไว้ ๒ ปางข้างหนทางที่อันขึ้นเมือนมัสการพระมหาธาตุเจ้านั้นแล้ว ก็ซ้ำได้สร้างแปงยังศาลาบาตร เรียบแวดตามกำแพงภายทางในบริเวณข่วงมหาธาตุเจ้า แลได้ก่อรูปท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ กับบริวารแลสอง แลสอง อยู่รักษาพระธาตุเจ้าทั้ง ๔ แจ่งหั้นแล เถิงเดือน ๖ เพ็งท่านก็ยาดหมายทานหั้นห้องหนึ่งก่อนแล
จากหนังสือพื้นเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิด ความว่า
•   เถิงสักราชได้ ๑๑๖๘ ตัว ปีรวายยี เดือน ๔ ออก ๑๕ ค่ำ วันอังคารไต เบิกใจ้ ยามเที่ยงวัน ท่านซ้ำมีอาชญาเกณฑ์เอากำลัง ๔๐๐ คน ก่อสร้างยังรูปมหานาคราชใหญ่สองตัวยาว ๖๘ วา ตัวใหญ่ แต่แผ่นดินขึ้น ๔ ศอก ยอหัวเลิกพังพานขึ้นสูง ๑๐ ศอก ถะปันนาตั้งไว้ ๒ พ่าง ข้างหนทางที่อันขึ้นเมือนมัสการแห่งพระมหาชินะธาตุเจ้านั้นแล ก็ซ้ำได้สร้างแปงยังศาลาบาตร แวดเลียบตามกำแพงภายทางในบริเวณข่วงพระธาตุเจ้า และได้ก่อรูปท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ กับบริวารแล ๒ แล ๒ อยู่รักษาพระธาตุเจ้าทั้ง ๔ แจ่ง แล เถิงเดือน ๖ เพ็ง ได้เบิกบายฉลองหยาดน้ำหมายทานวันนั้นแล
จากหนังสือพื้นเจ้าตนเสวยเมืองน่าน ฉบับวัดศรีพันต้น ปริวรรตโดย พระอธิการอุดร ชินวํโส กล่าวว่า
•  ศักราชได้ ๑๑๖๘ ตัว ปีรวายยี เจ้าฟ้าส้างนาค ๒ ตัวลงขันใด วัดแช่แห้งแลส้างสาลานางย้องแล เจ้าอุปราชส้างสาลาพื้นหลังเหนือแลฯ
จากพงศาวดารเมืองน่าน ฉบับวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร กล่าวว่า
• ถึงจุฬสกราชได้ ๑๑๖๘ ตัว ปีรวายยี เดือน ๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เม็งวันอังคารไทย เบิกใจ้ ยามเที่ยงวัน ท่านซ้ำมีอาชญาเกณฑ์เอากำลัง ๕๐๐ คน ก่อส้างยังรูปมหานาคราชใหญ่ ๒ ตัว ยาว ๖๘ วา ตัวใหญ่แต่แผ่นดินขึ้นสูง ๔ ศอก ยกหัวเลิกพังพานขึ้นสูง ๑๐ ศอก ถาปะนาตั้งไว้ ๒ พ่างข้างหนทางที่อันขึ้นเมือนมัสการพระมหาธาตุเจ้านั้นแล้ว ก็ซ้ำได้ส้างแปงยังศาลาบาตร เลียบแวดตามกำแพงภายทางในบริเวณข่วงมหาธาตุเจ้า แลได้ก่อรูปท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ กับบริวารและสอง และสอง อยู่รักสาพระธาตุเจ้าทั้ง ๔ แจ่งหั้นแล เถิงเดือน ๖ เพ็งท่านก็หยาดน้ำหมายทานหั้นห้องหนึ่งก่อนแล
จากตำนานพระธาตุแช่แห้ง ฉบับพระสมุหพรหม กล่าวว่า
•   จุลศักราชได้ ๑๒๖๗ ตัว (พ.ศ. ๒๔๔๘) ปีมะเส็ง ราชศรัทธาพระเจ้าน่านได้ทรง แปงวิหารหลวงแช่แห้งขึ้นใหม่ กว้าง ๗ วา ยาว ๑๗ วา ๒ ศอก สูง ๗ วา ๑ ศอก ก่ออิฐกําแพง ศาลาบาตรมุงด้วยกระเบื้องดินเป็นบริวัตถมันต ๔ ด้าน ด้านวันตกวันออกยาว ๔๐ วา ด้านใต้ด้านเหนือด้านละ ๓๘ วา มีประตูโขงออก ๔ ด้านแลสร้างใบสีแวดล้อมมหาธาตุเจ้าแล สร้างรูปสิงโตสองตัว สร้างพระวิหารพระทันใจกุ้มพระบาท สร้างรูปนาค ๒ ตัวใหญ่ ๒๐ กำ ยาว ๕๐ วา ยอหัวสูง ๓ วา ๒ ศอก สร้างถนนระหว่างนาคกว้าง ๒๐ วา ยาว ๕๐ วา สร้างท้องที่ ช่วงภูเพียงแช่แห้งแล้วก็ได้ถวายหื้อเป็นทานแก่พระสงฆ์เจ้าทั้งหลาย ภายในมีพระครูชยานันทมุนีเป็นประทานแลสงฆ์ทั้งหลายเข้ามารับเทอยทานถวายอาหารบิณฑบาตตั้งแต่วันเดือน ๗ น่าน แรม ๑ ค่ำ จิ่งเป็นปริโยสาร คณะสงฆ์มี ๑,๑๘๒ พระองค์แล รวมพระราชทรัพย์ได้บริจาคการทําบุญเสี้ยงเงิน ๔๘,๖๙๙ บาทกับ ๑๒ อัฐ เป็นครั้งต้นแล
ที่มาภาพ : โทน ซอยสิบเอ็ด เข้าถึงได้โดย https://www.facebook.com/groups/871540246741769/permalink/985764928652633/

(จำนวนผู้เข้าชม 35 ครั้ง)


Messenger