To Top

พิพิธภัณฑ์คัดสรร

ของดี ของเด่น ของดัง ของสำคัญและเรื่องราว ที่พิพิธภัณฑ์คัดสรรมานำเสนอ

ดาบญี่ปุ่นผสมงานช่างศิลปกรรมไทย

ดาบญี่ปุ่นผสมงานช่างศิลปกรรมไทย

อายุราวพุทธศตวรรษที่ 23 - 24
ใบดาบทำขึ้นโดยฝีมือช่างชาวญี่ปุ่น สันนิษฐานว่า ใบดาบนี้นำเข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งถือกันว่าเป็นสุดยอดอาวุธที่มีคม แข็งแรง และมีราคา จึงมีครอบครองเฉพาะในกลุ่มชนชั้นนำ ใบดาบนี้ได้รับการดัดแปลงที่กั่นดาบด้านในให้มีความเพรียวบาง และเบาลง รวมทั้งมีการตกแต่งฝักและด้ามดาบด้วยศิลปกรรมช่างไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

 

ดาบญี่ปุ่นผสมงานช่างศิลปกรรมไทย

 

ดาบญี่ปุ่นผสมงานช่างศิลปกรรมไทย

อายุราวพุทธศตวรรษที่ 23 - 24
ใบดาบทำขึ้นโดยฝีมือช่างชาวญี่ปุ่น สันนิษฐานว่า ใบดาบนี้นำเข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้รับการดัดแปลงใบดาบ และองค์ประกอบภายนอกขึ้นใหม่โดยช่างไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานและพระราชนิยม แต่ยังคงกระบังดาบตามแบบฝีมือช่างญี่ปุ่นเดิมไว้

 

ดาบไทยสกุลช่างอยุธยา

 

ดาบไทยสกุลช่างอยุธยา

อายุราวพุทธศตวรรษที่ 23 - 24
นิยมในสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ พบมากในพื้นที่ภาคกลาง เพื่อใช้ในการต่อสู้ และพระราชทานประกอบยศถาบรรดาศักดิ์ จึงเรียกดาบลักษณะนี้ว่า “ดาบทรงอย่างไทย” หรือ “ดาบทรงหลวงในราชการ” ด้วยความคมและแข็งแรง จึงทำให้ดาบประเภทนี้คงเหลือจากศึกสงคราม และได้รับการดัดแปลงให้เข้ากับศิลปกรรมในยุคนั้นๆ

 

เลนส์ของต้อกระจกที่ผ่าโดยเอาเลนส์ตาขุ่นออกมาทั้งก้อน (Cataract Lense)

 

เลนส์ของต้อกระจกที่ผ่าโดยเอาเลนส์ตาขุ่นออกมาทั้งก้อน (Cataract Lense)

ต้อกระจก (cataract) คือ ภาวะที่เลนส์ตาเสื่อมสภาพ เนื้อเยื่อของเลนส์ที่ใสจะขุ่นมัวมากขึ้นทำให้การมองเห็นลดลง ถ้าปล่อยทิ้งไว้เลนส์ตาจะขุ่นจนเป็นฝ้าขาว หรือที่เรียกว่า “ต้อสุก” ถ้าไม่ได้รับการรักษา จะสูญเสียการมองเห็นและอาจเกิดโรคต้อหินแทรกซ้อน จนทำให้ตาบอดในที่สุด ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการเสื่อมตามอายุ หรือเกิดจากโรคตาอื่นๆ เช่น ม่านตาอักเสบ ตาติดเชื้อ ภาวะความบกพร่องแต่กำเนิด (หรือเกิดร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน การใช้ยา สเตียรอยด์ รวมถึงการได้รับอุบัติเหตุทางตา

อาการของโรคต้อกระจก ตาจะเริ่มมัวทีละน้อย คล้ายมองผ่านกระจกฝ้า ซึ่งจะมัวทั่วไปทั้งภาพ ส่วนใหญ่อาการตามัวจะค่อยเป็นค่อยไปและจะมัวมากเวลาที่ต้องเผชิญกับแสงแดด แต่จะเห็นได้ดีขึ้นเวลาแสงสลัว ไม่รู้สึกเจ็บปวดที่ตาและศีรษะ แต่ถ้ามีอาการปวดแสดงว่ามีโรคแทรกซ้อน

การรักษาโรคต้อกระจกในอดีต แพทย์จะผ่าและนำเลนส์ที่เป็นต้อออกมาจากลูกตา ผู้ป่วยต้องนอนนิ่งๆอยู่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน เมื่อแผลหายดีแล้วแพทย์จะตัดแว่นให้ผู้ป่วย

 

ตัวอย่างสิ่งแปลกปลอมที่คีบออกจากหลอดลมผู้ป่วย (Foreign Bodies from Bronchus & Esophagus)

 

ตัวอย่างสิ่งแปลกปลอมที่คีบออกจากหลอดลมผู้ป่วย (Foreign Bodies from Bronchus & Esophagus)

สิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในตู้ไม้นี้ ศ.นพ.พร วราเวชช์ หัวหน้าภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยาท่านแรก ได้เก็บรวบรวมจากผู้ป่วย เพื่อนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ ตัวอย่างสิ่งแปลกปลอมที่พบได้แก่
- สิ่งแปลกปลอมจำพวกเมล็ดผลไม้ หรือเมล็ดพืช เช่น ถั่ว เมล็ดน้อยหน่า
- สิ่งแปลกปลอมที่มีปลายแหลม เช่น ตะปู ก้งปลา เศษลวด
- สิ่งแปลกปลอมที่มีผิวเรียบ กลม และแข็ง เช่น ฟันปลอม กรวด ลูกปัด
นอกจากนี้ ยังมีสิ่งแปลกปลอมที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเข้าไปติดอยู่ในทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ เช่น ปลากระดี่ เข็ม เบ็ด ตัวด้วง หลอดยา นกหวีด เป็นต้น