To Top

พิพิธภัณฑ์คัดสรร

ของดี ของเด่น ของดัง ของสำคัญและเรื่องราว ที่พิพิธภัณฑ์คัดสรรมานำเสนอ

ฉลองพระองค์ชุดราตรีในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ฉลองพระองค์ชุดราตรีในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ฉลองพระองค์ชุดราตรีในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ตัดเย็บจากพระภูษาเยียรบับ ลายดอกสี่กลีบถมเกสรแดงของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ส่วนพระภูษาแบบกระโปรงตัดเย็บจากผ้าไหมซาติน ทรงในงานถวายพระกระยาหารค่ำ ณ ทำเนียบขาว กรุงวอชิงตัน ดีซี เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2528
ที่มา: นิทรรศการด้วยพลังแห่งรัก

 

ฉลองพระองค์แบบสากล

 

ฉลองพระองค์แบบสากล

ฉลองพระองค์แบบสากล ตัดเย็บจากผ้าไหมมัดหมี่ ปักประดับดิ้นทอง เลื่อม ลูกปัด และปีกแมลงทับ เขียนลายด้วยสีทอง สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงในการเสด็จฯ งานถวายพระกระยาหารค่ำ ซึ่งนายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย จัดถวาย ณ อเล็กซานเดอร์ ฮอลล์ พระราชวังเครมลิน กรุงมอสโก ในโอกาสเสด็จฯ เยือนสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเป็นทางการ แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ที่มา: นิทรรศการด้วยพลังแห่งรัก

 

ฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

 

ฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงองค์นี้ ตัดเย็บจากผ้าฝ้าย ผ้าลูกไม้ ผ้าชาวไทยภูเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) และเผ่าม้ง ทรงในโอกาสเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ ภูพิงคราชนิเวศน์ ระหว่างการเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรภาคเหนือ พ.ศ. 2517
ที่มา: นิทรรศการด้วยพลังแห่งรัก

 

โบเกตัน (boketan)

 

โบเกตัน (boketan)

ผ้าบาติกลายดอกไม้ลักษณะนี้เรียกว่า โบเกตัน (boketan) ซึ่งมาจากคำว่า บูเกต์ (bouquet) มีความหมายว่าช่อดอกไม้ โสร่งผืนนี้มาจากโรงเขียนผ้าของนาง เอ. เจ. เอฟ. ยานส์ บริเวณหัวผ้าด้านบนมีลายเซ็น “J.Jans” กำกับ นอกจากผ้าบาติกสีพาสเทลที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว นางเอ. เจ. เอฟ. ยานส์ยังเป็นคนแรกๆ ที่ริเริ่มการเซ็นลายเซ็นลงบนตัวผ้าอีก
ที่มา: นิทรรศการผ้าบาติกในพระปิยมหาราช: สายสัมพันธ์สยามและชวา

 

ผ้าบาติกลายปรามูการี

 

ผ้าบาติกลายปรามูการี

ผ้าบาติกลายปรามูการี มีลักษณะเป็นผลสละที่เชื่อมต่อกันในแนวทแยงจนเต็มผืน ซึ่งสละถือเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของเมืองยอกยาการ์ตา มาจากโรงเขียนผ้าของนางวิลเฮลมินา เฟรเดอริกา แวน ลาวิก แวน แพบสต์ ซึ่งเป็นโรงเขียนผ้าบาติกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินเยือนเมื่อปี พ.ศ. 2439 และ พ.ศ. 2444
ที่มา: นิทรรศการผ้าบาติกในพระปิยมหาราช: สายสัมพันธ์สยามและชวา