...

จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๒ จุลศักราช ๑๑๗๑ - ๑๑๗๔
  • ย้อนกลับ
  • จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๒ จุลศักราช ๑๑๗๑ - ๑๑๗๔
     หนังสือ “จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๒ จุลศักราช ๑๑๗๑ - ๑๑๗๔” นี้ คณะอนุกรรมการพิจารณา ต้นฉบับจดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ ในคณะกรรมการชําระประวัติศาสตร์ไทย กรมศิลปากร ได้นําต้นฉบับ ที่เคยพิมพ์เผยแพร่แล้วตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๑๓, ๒๕๑๔ และ ๒๕๒๘ มารวมพิมพ์เป็นเล่มเดียวกัน โดยการ ดําเนินการเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๓ คณะอนุกรรมการฯ ได้คัดเลือกจดหมายเหตุสําคัญช่วงจุลศักราช ๑๑๗๑ - ๑๑๗๓ มาจัดพิมพ์เป็นครั้งแรก ต่อมาในพุทธศักราช ๒๕๑๔ ได้คัดเลือกจดหมายเหตุ จุลศักราช ๑๑๗๓ ที่ยังไม่เคยจัดพิมพ์มาพิมพ์อีก และในพุทธศักราช ๒๕๒๔ ได้คัดเลือกจดหมายเหตุ จุลศักราช ๑๑๗๑ - ๑๑๗๔ มาจัดพิมพ์เพิ่มเติมเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนินมาทรงเปิดพิพิธภัณฑ์และหอสมุดพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม
     เนื้อหาในจดหมายเหตุดังกล่าว สะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นชาติไทยที่สมบูรณ์ด้วย ศิลปวัฒนธรรมอย่างพร้อมสรรพ อาทิ บัญชีเกณฑ์เครื่องทําพระเมรุพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช หน้าที่ของมหาดเล็กมีธรรมเนียมปฏิบัติที่ดีงาม มีขั้นตอนการปฏิบัติแต่ละอย่างแตกต่างกัน ไปตามสถานะของแต่ละคน และประวัติความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศจีน ที่ปรากฏในพระราชสาส์นกรุงปักกิ่งตอบบรรณาการ พระราชสาส์นมีไปมากับกรุงปักกิ่ง เป็นต้น ซึ่งกองหอสมุดแห่งชาติ โดยงานบริการหนังสือภาษาโบราณในขณะนั้น ได้จัดทําคําอธิบายศัพท์ เพื่อให้ผู้สนใจศึกษาประวัติ ความเป็นมาที่เกิดขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้เข้าใจอย่างกระจ่างชัด ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้นําเนื้อหาจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๒ ที่เคยจัดพิมพ์แล้ว ทั้ง ๓ เล่ม มาจัดเรียงลําดับวัน เดือน ปี ที่ปรากฏในเอกสารตั้งแต่จุลศักราช ๑๑๗๑ - ๑๑๔ รวม ๗๔ รายการ โดยตรวจสอบเนื้อหาทั้งหมดกับต้นฉบับหนังสือสมุดไทยอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งปรับปรุงตัวสะกดให้ตรงกับ อักขรวิธีปัจจุบัน โดยยึดการใช้อักขรวิธีตามราชบัณฑิตยสภา ยกเว้นที่เป็นคําศัพท์เฉพาะ นอกจากนั้นยังได้ จัดทําคําอธิบายศัพท์ที่อนุกรรมการฯ เห็นว่าเป็นคําศัพท์ยากและมีสาระสําคัญทางประวัติศาสตร์ไว้ในท้าย จดหมายเหตุแต่ละเรื่อง กรมศิลปากรหวังว่าหนังสือ “จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๒ จุลศักราช ๑๑๗๑ - ๑๑๗๕” จะอํานวย ประโยชน์อย่างกว้างขวางแก่ผู้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ไทย พร้อมทั้งเป็นอนุสรณียวัตถุให้น้อมรําลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ประธานกรรมการชําระประวัติศาสตร์ไทย และที่ปรึกษาอนุกรรมการ พิจารณาต้นฉบับจดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้มีคุณูปการต่อวงการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสืบไป

(จำนวนผู้เข้าชม 1130 ครั้ง)