...

อารยธรรมวิวัฒน์ ลพบุรี-ศรีรามเทพนคร



อารยธรรมวิวัฒน์ ลพบุรี – ศรีรามเทพนคร
Evolving Civilization : From Lopburi to Ayutthaya Periods
------------------------------------------------------------------------------------------------------

ระยะเวลา  : ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน จนถึง 30 มิถุนายน 2564 (ขยายเวลาจัดแสดงถึง 30 กันยายน 2564)
สถานที่     : พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)

                เวลา 09.00 – 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ – อังคาร)

เรื่องย่อ     สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้กำหนดจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “อารยธรรมวิวัฒน์ ลพบุรี-ศรีรามเทพนคร”
                แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปะลพบุรี (เขมรในประเทศไทย) ที่ส่งผลต่อบ้านเมืองไทยในสมัยต่อมาโดยเฉพาะศิลปะอยุธยา และยังคง
                ตกทอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์  โดยนิทรรศการนี้ได้เลือกนำโบราณวัตถุชิ้นสำคัญมาจัดแสดง คือ ชิ้นส่วนประติมากรรมพระโพธิสัตว์
               สำริดจากบ้านโตนด
อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นประติมากรรมที่จัดอยู่ในกลุ่มประโคนชัย (ศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลเขมร
                พบมากบริเวณที่ราบสูงโคราช) โดยการประกอบชิ้นส่วนประติมากรรมที่พบ ติดตั้งบนหุ่นจำลองขนาดเท่าจริงตามรูปแบบการสันนิษฐาน
                และการบูรณาการทางด้านวิชาการระหว่างนักวิชาการหลายแขนง ทั้งภัณฑารักษ์ นักวิทยาศาสตร์ นายช่างศิลปกรรม และนักวิชาการ
                ช่างศิลป์ เป็นการนำเสนอความรู้เกี่ยวกับรูปแบบของศิลปกรรมในพื้นที่ราบสูงโคราช ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผลการศึกษาในการจัดทำข้อมูล
                เพื่อการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย ที่ได้เริ่มอย่างเป็นทางการตั้งแต่พุทธศักราช 2560 เป็นต้นมา
                หนึ่งในภารกิจคือ การติดตามทวงคืนประติมากรรมในกลุ่มประโคนชัย จำนวน 18 รายการจากพิพิธภัณฑสถานในประเทศสหรัฐอเมริกา
                ประกอบกับพุทธศักราช 2564 ห้องจัดแสดงศิลปะลพบุรี ในอาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครอยู่ระหว่างการ
                ปรับปรุงการจัดแสดง ทำให้โบราณวัตถุศิลปะลพบุรีถูกจัดเก็บไม่สามารถให้คนเข้าชมได้ แต่มักมีนักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ และ
                ผู้สนใจ แสดงความประสงค์ที่จะเข้าชมโบราณวัตถุเหล่านั้นอยู่เสมอ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจึงนำโบราณวัตถุดังกล่าว
                มาจัดนิทรรศการหมุนเวียนให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้ศึกษาหาความรู้ได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมยิ่งขึ้น



(จำนวนผู้เข้าชม 1287 ครั้ง)