...

ชีวิตไทยหลายรส

สุนทร  ณ รังสี.  ชีวิตไทยหลายรส.  พิมพ์ครั้งที่ ๑.  พระนคร : คลังวิทยา, ๒๕๐๙.  ๔๕๖ หน้า.

     ชีวิตไทยหลายรส เป็นการเขียนแนวสารคดีที่เอาประสบการณ์จริง  และจาการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและจากหลายที่ ซึ่งอ่านแล้วเข้าใจง่ายไม่พิถีพิถันในเรื่องการใช้ภาษา ซึ่งรวมทั้งหมด ๒๕ เรื่องด้วยกัน เช่น  ๑) เด็กวัดสามยุค  ๒) เทศกาลตรุษไทย ซึ่งถือวันขึ้น ๑ ค่ำ เป็นวันขึ้นปีใหม่  ๓) การเล่นสงกรานต์ที่ปักษ์ใต้ ชาวปักษ์ใต้เรียกว่า “ทำบุญวันว่าง”  ๔) ความมหัศจรรย์แห่งความฝัน อาจจะมีทั้งฝันแท้และฝันเทียม  ๕) นครศรีธรรมราชเมืองประวัติศาสตร์ของปักษ์ใต้ หัวเมืองที่สำคัญในอดีตมีแค่ ๒ เมือง คือ เชียงใหม่กับนครศรีธรรมราช  ๖) โบราณสถานสำคัญของนครศรีธรรมราช คือองค์พระมหาธาตุเจดีย์ที่มียอดสูง ๓๘ วา ๒ ศอก ๑ คืบ เป็นปูชนียวัตถุที่สูงใหญ่เป็นที่สองของเมืองไทยคือสูงรองจากพระปฐมเจดีย์ ๗) อาชีพทำน้ำตาลโตนดที่จังหวัดสงขลา เริ่มตั้งแต่เขตอำเภอเมืองไปจนถึงอำเภอสะทิงพระและอำเภอระโนด  ๘) มโนห์ราสัญลักษณ์ของปักษ์ใต้ เป็นการเล่นที่สืบเนื่องมาจากละครนอกแถบจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลาจะมีมาก  ๙) หนังตะลุงมรหรศพพื้นเมืองของปักษ์ใต้ จะเป็นการละเล่นที่มีคนนั่งดูเต็มหน้าโรง ซึ่งจะได้ยินเสียงโหม่งอย่างชัดเจนมาก  ๑๐) ประเพณีการแต่งงานที่ปักษ์ใต้ มีทั้งที่ชอบพอกันมาก่อนและแบบคลุมถุงชน  ๑๑) กระดูกสันหลังของชาติที่ปักษ์ใต้ จะมีการทำนากันอย่างเอาจริงเอาจัง  ๑๒) มหากวีนรินทร์ธิเบศร์ ชื่อเดิมคือ อิน เกิดที่ตำบลบางบ่อจังหวัดฉะเชิงเทรา มีความเก่งในด้านโครงนิราศนะนาวศรี หรือที่เรียกกันว่านิราศนรินทร์  ๑๓)  ยอดกวีหญิงของเมืองไทย คุณพุ่ม ยอดกวีในสมัยรัชกาลที่ ๓   ๑๔) เทียนวรรณ-นักปฏิรูปสังคมคนสำคัญของเมืองไทย  เดิมชื่อเทียนเฉย ๆ แต่รัชกาลที่ ๔ ทรงเปลี่ยนให้ใหม่ในสมัยที่ยังบวช ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เขาได้เขียนบทความเรียกร้องให้มีการปรับปรุงการบริหารบ้านเมืองขึ้น  ๑๕) เทียนวรรณ-ปรัชญาเมธีคนแรก ของเมืองไทย เขาต่อสู้ทางการเมืองด้วยหลักของนักปรัชญา  ๑๖) สตรีกับการไพเราะของกวีนิพนธ์  เรื่องที่สำคัญ ๆ ได้แก่ กำศรวลศรีปราชญ์ นิราศนรินทร์ รามเกยรติ์ พระอภัยมณี และขุนช้างขุนแผน เป็นต้น  ๑๗) แอ่วเวียงพิงค์กับขบวนกฐิน การทอดกฐินเป็นประเพณีที่สำคัญของชาวไทยมักจัดกันที่วัดอย่างเอกเกริก  ๑๘) บ้านกับศาลพระภูมิ เป็นประเพณีเรื่องที่อยู่อาศัยมาช้านานว่า ๑๙) วิทยาธรและคนธรรพ์ จะเป็นวิทยาธรได้ฝึกวิชาบำเพ็ญเพียร เป็นเทวดาพวกหนึ่งที่นับถือกันว่าเป็นผู้ชำนาญในการดนตรีและขับร้อง  ๒๐) อุทยานวรรณคดียุคกรุงสุโขทัย นับเป็นยุครุ่งเรืองวรรณคดีไทยคือหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง  ๒๑) อุทยานวรรณคดีกรุงศรีอยุธยายุคต้น เกิดลิลิตโองการแช่งน้ำในสมัยพระเจ้าอู่ทอง พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา ลิลิตยวนพ่าย ๒๒) อุทยานวรรณคดีกรุงศรีอยุธยายุคกลาง เป็นยุคทองของวรรณคดี มีคนเก่ง ๆ มากมาย เช่นพระมหาราชครู พระโหราธิบดี ศรีปราชญ์ พระศรีมโหสถ   ๒๓) อุทยานวรรณคดีกรุงศรีอยุธยายุคปลาย ยุคนี้มีวรรณคดีรวม ๑๓ เรื่อง ๒๔) อุทยานวรรณคดียุคกรุงธนบุรี เกิดวรรณคดีขึ้น ๔ เรื่อง คือ รามเกีรยติ์ ลิลิตเพชรมงกุฎ อิเหนาคำฉันท์ โครงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี  ๒๕) อุทยานวรรณคดียุคกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นยุคที่มีวรรณคดีมากมายหลายคนแต่ง เช่น เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง ดาหลังหรืออิเหนาใหญ่ บทละครเรื่องอุณรุท รามเกียรติ์ กฎหมายตราสามดวง สามก๊ก เสภาขุนช้างขุนแผน อิเหนา นิราศเมืองแกลง นิราศภูเขาทอง นิราศพระประธม นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศเมืองเพชร และรำพันพิลาป พระอภัยมณี  ฯลฯ

(จำนวนผู้เข้าชม 565 ครั้ง)