To Top

พิพิธภัณฑ์คัดสรร

ของดี ของเด่น ของดัง ของสำคัญและเรื่องราว ที่พิพิธภัณฑ์คัดสรรมานำเสนอ

โฉนดฉบับแรกของประเทศไทย

โฉนดฉบับแรกของประเทศไทย

โฉนดที่ดินจากการเดินสำรวจ มีพระปรมาภิไธย “สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์” ทรงถือกรรมสิทธิ์ เป็นโฉนดเลขที่ 1 เลขที่ดิน 117 ระวาง 17 ต.3 อ. ตำบลบ้านแป้ง อำเภอพระราชวัง แขวงเมืองกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื้อที่ 89-1-52 ไร่ ลงพระนามพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ในตำแหน่งผู้บัญชาการ ลงนามพระยาประชาชีพบริบาล ในตำแหน่งเจ้าพนักงานเกษตราธิการ และลงนามพระราชภพน์บริหาร ในตำแหน่งนายอำเภอ ปัจจุบัน ได้โอนให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้วเมื่อ วันที่ 8 ตุลาคม 2533

 

โฉนดที่มีเนื้อที่น้อยที่สุดในประเทศไทย

 

โฉนดที่มีเนื้อที่น้อยที่สุดในประเทศไทย

โฉนดที่ว่านั้นมีเนื้อที่ 0.1 ตารางวา ออกให้โดยสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางเขน ได้ทำการรังวัดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2550 ผู้เป็นเจ้าของคือ คุณศรีศักดิ์ ว่องส่งสาร อดีตรองผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ชายธง ตั้งอยู่ในซอยวัดไตรรัตนาราม ถนนรามอินทรา ซอย 8 เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ได้รับมรดกมาจากคุณแม่ถมรัตน์ ว่องส่งสาร โดยแบ่งออกมาจากที่ดินเดิม 100 ตารางวา ที่คุณแม่ได้มอบให้พี่สาวไป ส่วนแปลงจิ๋วมอบให้คุณศรีศักดิ์เป็นเจ้าของ

 

ระวางผ้าแก้ว

 

ระวางผ้าแก้ว

จัดสร้างโดยงบประมาณ ปี พ.ศ. 2465 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ปัจจุบันจัดแสดงภายในห้องพิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน ส่วนที่ 2 ชั้นที่ 2 อาคารสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร ระวางผ้าแก้วนี้ถือเป็นวัตถุชิ้นหนึ่งของต้นร่างแผนที่ ได้รับมอบมาจากสำนักงานที่ดินจังหวัดปทุมธานี สาขาธัญบุรีให้เก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544

 

กล้องธิโอโดไลท์

 

กล้องธิโอโดไลท์

Theodolito ยี่ห้อ Watts เป็นกล้องรุ่นแรกที่ใช้วัดมุมระดับแนวราบและแนวดิ่ง เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรังวัดและทำแผนที่ ที่ใช้งานอย่างกว้างขวางในสมัยก่อน ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในส่วนของวิวัฒนาการในการรังวัดและทำแผนที่ ภายในพิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน

 

พระคันธาราษฎร์

 

พระคันธาราษฎร์

ปัจจุบันประดิษฐานภายในพิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร พุทธลักษณะประทับยืนเงยพระพักตร์ขึ้นสู่ท้องฟ้า พระหัตถ์ขวาทำท่ากวักเหนือพระอุระ พระหัตถ์ซ้าย ทำท่าขอ จีงเรียกปางนี้ว่าปางขอฝน เนื้อองค์พระเป็นทองเหลือง สูงรวมฐานรูปบัวหงายวัดได้ 33 เซนติเมตร ฐานกว้าง 8.5 เซนติเมตร สภาพสมบูรณ์