รู้เรื่อง "พระราชวังบวรสถานมงคล" ผ่านเอกสารจดหมายเหตุ
จำนวนผู้เข้าชม 957

        


       
       เนื่องในโอกาสที่กรมศิลปากร ได้จัดทำโครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) โบราณสถานสำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล มรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของชาติ ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โรงละครแห่งชาติ สำนักการสังคีต สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ฟากตะวันตกของสนามหลวง โดยอาคารสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่    พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ หมู่พระวิมาน พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ พระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ฯลฯ เป็นสถานที่ซึ่งยังคงปรากฏร่องรอยของโบราณสถานในสมัยแรกสร้างหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งหาได้ยากยิ่งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ กรมศิลปากรจะดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนาครอบคลุมพื้นที่เฉพาะในส่วนที่อยู่ภายใต้สังกัดของกรมศิลปากร รวมพื้นที่ประมาณ ๔๓ ไร่ โดยมีกรอบความคิดในการดำเนินงานเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟู “พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)” พื้นที่ประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประกอบด้วย อาณาบริเวณและกลุ่มสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าในพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้รับการจัดการที่เหมาะสม ทางกรมศิลปากรจะทำการสำรวจ สอบค้น และรวบรวมข้อมูลเพื่อประมวลเป็นองค์ความรู้ทางมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ฟื้นฟู และอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมในอดีต เพื่อนำมาใช้เป็นฐานในการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม รณรงค์สร้างจิตสำนึก เพื่อให้เยาวชนและประชาชนมีความรัก และตระหนักในคุณค่าของความเป็นไทย สร้างภาพลักษณ์ที่โดดเด่น ถูกต้องตามหลักวิชาการ และทันสมัย ยกระดับให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เปิดกว้าง เข้าถึงได้ง่าย และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเยาวชนและประชาชน พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียนต่อไป สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จึงได้ทำการรวบรวมรายชื่อเอกสารจดหมายเหตุ ทั้งที่เป็นภาพถ่ายและที่เป็นเอกสารลายลักษณ์ ที่มีอยู่ในสำนักหอจดหมายเหตุขึ้น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปรวมถึงผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องของประวัติศาสตร์ ได้ทำการศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง โดยสามารถนำรหัสเอกสารมายื่นที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เพื่อดูเอกสารจดหมายเหตุดังกล่าวได้โดยไม่ต้องสืบค้นเองจากบัญชีเอกสาร

รายละเอียดของเอกสารมีดังนี้

รหัสเอกสาภาพถ่ายเกี่ยวกับพระราชวังบวรสถานมงคล

รหัส                                                                                                      เรื่อง

ภ 001 หวญ1-25                                   พระบรมฉายาลักษณ์ พระปิ่นเกล้า

ผ กต 45                                                พระราชวังบวรสถานมงคล

ผ กบด 4/4-12                                       แผนผังด้านข้างพระที่นั่งอิศเรศ

(2) ผ.กสก.4/10                                     พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน

ผจ.ศธ.0701/22                                     แผนผังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เมื่อ 2470

ผจ.ศธ0701/2                                        แผนที่พระราชวังบวรตอนพระราชมณเฑียร

ผจ ศธ.0701/371                                   พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พระนคร แผนผังหมู่พระที่นั่งต่างๆ

ผจ ศธ.0701/174                                   แผนผังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีแผนผังพระที่นั่ง 4 องค์

ผจ ศธ.0701/697                                   พระราชวังบวรสถานมงคล พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

ผจ(2)สร.0201/112                                พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน

ผ.กทม./9                                              ป้อมพระสุเมรุ

(2) ภ.004 หวญ 36/3                             พระแท่นออกขุนนางโดยปกติในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า

(2) ภ.004 หวญ 36/4                             พระแท่นทรงศีลในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์

(2) ภ.004 หวญ 50/33                           พานพระภูษา รัชกาลที่ 4

(2) ภ.004 หวญ 3/1                               พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พระนคร (วังหน้า)

(2) ภ.004 หวญ 3/3                               พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พระนคร พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

(2) ภ.004 หวญ 3/7                               พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พระนคร จิตรกรรมฝาผนังในพระที่นั่ง

                                                           พุทไธสวรรย์                                                                   

(2) ภ.004 หวญ 3/2                               พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน

ภ.ผท.8/154                                          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กองทหารปืนใหญ่ด้านทิศเหนือ                                                            แลเห็นพระราชวังบวรสถานมงคล

 

เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6

ชุดเบ็ดเตล็ด

ร.5 บ.4 กรมพระราชวังบวรฯ

1-6

รหัส

เรื่อง

ร.ศ.

แผ่น

หมายเหตุ

ร.5 บ.4/1

เรื่องต่างๆ ของกรมพระราชวังบวรฯ

(11 มิ.ย. 76-24 มี.ค. 94

76-94

210

 

ร.5บ.4/2

หนังสือพระศักดาภิเดชวรฤทธิ์ทูลเกล้าถวายพระราชหัตถเลขาที่พระราชทานพระยามหามนตรี เรื่องกรมพระราชวังบวรสถานมงคล จศ. 1236รศ.112

(ธ.ค. 93-7 พ.ค.112)

93-112

26

 

ร.5 บ.4/3

ลายพระหัตถ์ถึงกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ

(6 ม.ค.93)

93

8

 

ร.5 บ.4/4

พระราชหัตถเลขาถึงกรมพระราชวังบวรสถานมงคลมีเรื่องต่างๆ

(มี.ค.98-มิ.ย.104)

 

98-104

23

 

ร.5 บ.4/5

เงินหัวเมืองชายทะเลตะวันตกซึ่งข้นพระราชวังบวร

(เม.ษ.106-เม.ย.108)

106-108

18

 

ร.5.บ4/6

เสด็จประพาสสิงคโปร์ (มลายู) ทรงเยี่ยมคุก โรงทหาร โรงโปลิศ และโรงทำสับปะรด

(ม.ท.)

ม.ท.

20

 

 

 

 

 

 

 

บัญชีเอกสารจดหมายเหตุที่เกี่ยวกับพระราชวังบวรสถานมงคล

ชุดกระทรวงศึกษาธิการ

รหัส

เรื่อง

พ.ศ.

แผ่น

หมายเหตุ

(4) ศธ 2.3.6/2

การซ่อมแซมพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย

(28 มิ.ย.2477- 14 พ.ค.2478)

2477-2478

28

 

(4) ศธ.2.3.6/80

การซ่อมสังคีตศาลาในบริเวณพิพิธภัณฑ์

 

 

 

เอกสารจดหมายเหตุที่เกี่ยวกับพระราชวังบวรสถานมงคล

จึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าศึกษาค้นคว้าได้ที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ในวันและเวลาราชการ และวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 8.30 น.-16.00 น.



Star vote. Star vote. Star vote. Star vote. Star vote.