เจ้าของวัฒนธรรมทวารวดี
วันที่ประกาศ : 25/01/2565 00:00 น. จำนวนผู้เข้าชม 3459

         นายปอล เปลลิโยต์ (Paul Pelliot) นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาดําเนินการขุดค้นทางโบราณคดีร่วมกับสมเด็จฯ กรมพระยาดํารง ราชานุภาพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้ให้ข้อสันนิษฐานเป็นบุคคลแรกว่าเจ้าของ วัฒนธรรมทวารวดีเป็นชาวมอญ ทําให้ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (G. Cedes) ซึ่งให้ความสนใจและศึกษาเกี่ยวกับชนชาติมอญในอินโดจีน ได้ ทําการศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งค้นพบหลักฐานจารึก ภาษามอญโบราณ ที่วัดโพธิ์ (ร้าง) จังหวัดนครปฐม อันเป็นจารึกภาษามอญ ที่เก่าที่สุดเท่าที่สํารวจพบในปัจจุบัน มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ จึงมี ความมั่นใจและสรุปว่า ชนชาติมอญที่เคยมีความสําคัญทางด้านประวัติ ศาสตร์พม่านั้น น่าจะเป็นผู้เผยแผ่วัฒนธรรมอินเดียทางตอนกลางของ อุษาคเนย์ รวมถึง ศาสตราจารย์ปิแอร์ ดูปองต์ (Pierre Dupont) ภัณฑารักษ์ และนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส ผู้ทําการขุดค้นโบราณสถานสําคัญสมัย ทวารวดีที่นครปฐม ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๓ จํานวน ๓ แห่งคือ เนิน พระ วัดพระเมรุ และเจดีย์จุลประโทน ก็มีความเห็นเช่นเดียวกัน จึงนําเสนอ ผลการศึกษาค้นคว้าเป็นวิทยานิพนธ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ และตีพิมพ์เผยแพร่ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ในชื่อเรื่อง โบราณคดีมอญแห่งอาณาจักรทวารวดี (L'Archéologie Mône de Dvâravatî)

         

         นักวิชาการรุ่นหลังบางท่านให้ความเห็นว่า แม้ประชาชนชาวทวารวดี ที่ตั้งถิ่นฐานในบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย จะใช้ภาษามอญโบราณควบคู่ไปกับภาษาบาลีและสันสกฤต แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจะเป็นชนกลุ่มเดียวกับชาวมอญที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศ พม่าตอนล่างหรือไม่ เนื่องจากรัฐทวารวดีมีความเก่าแก่กว่ารัฐมอญในพม่า และมีพัฒนาการมาจากชุมชนโบราณที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณภาคกลาง ตอนล่างของประเทศไทยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยอ้างถึงคําอธิบาย ของนักภาษาศาสตร์ว่า กลุ่มภาษามอญ-เขมรที่เป็นสาขาหนึ่งของภาษา ตระกูลออสโตรเอเชียติคนั้น เป็นภาษาเก่าแก่ของชุมชนในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ จึงพบว่ามีการใช้กันอยู่ในกลุ่มชนหลายกลุ่มในภูมิภาคนี้ รวมถึง กลุ่มชนในรัฐทวารวดีด้วย อย่างไรก็ดีนักวิชาการบางท่านกลับเสนอแนวคิด อีกประเด็นหนึ่งว่า วัฒนธรรมทวารวดีอาจเป็นอารยธรรมระยะต้นของกลุ่ม ชนชาวมอญ ที่ขยายตัวเข้าไปยังตอนกลางของประเทศพม่า ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖ เรื่องของกลุ่มชนผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรมทวารวดีจึง ยังไม่เป็นที่ยุติในปัจจุบัน