ปกหลก หรือ ปกกะหลก
จำนวนผู้เข้าชม 2040

   ปกหลก ปกกะหลก หรือ เกราะราง ใช้สำหรับแขวนคอวัวหรือควาย เพื่อบอกเสียงสัญญาณของสัตว์เลี้ยงว่าเดินไปหากินทิศทางใด การเรียกชื่ออาจเรียกตามเสียงที่ได้ยิน “ปก-หลก” ส่วนภาคอีสานได้ยินเสียงเป็น “โปง - โปง” คือ ไม้โปง หรือไม้ขอ
       ปกหลกทำด้วยการหาไม้ไผ่ป่า หรือไม้ไผ่สีสุกที่แก่จัด เนื้อแน่นและหนา ยาวขนาดหนึ่งลำปล้อง ตัดเหลือหัวท้าย ปอกผิวไม้ไผ่ออก คว้านกระบอกด้านหนึ่งเป็นรางยาว แล้วใช้ไม้ตีเพื่อลองเสียงอยู่เสมอ หากเสียงดังไม่พอจะคว้านรูกระบอกให้ขยายขึ้น การลองเสียงปกหลก ชาวบ้านมักใช้ปล้องไม้ไผ่แช่น้ำให้เปียกแล้วตีเพื่อลองเสียง เรียกว่า “การสินน้ำ” เนื่องจากวัวควายชอบลงน้ำปกหลกจึงเปียกอยู่เสมอ ตอนกลางคืนเจ้าของมักใส่เศษหญ้าอัดในปากปกหลก เพื่อไม่ให้เกิดเสียงดังสร้างความรำคาญให้แก่ผู้คนที่นอนอยู่บนเรือน
ภาพ : พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตการาม
อ้างอิง : สนม ครุฑเมือง.๒๕๓๔.สารานุกรมของใช้พื้นบ้านไทยในอดีต.กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ จำกัด.