ประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองจะนะ ตอนที่ ๔ ยุคประวัติศาสตร์ สมัย ร.๕ จนถึงปัจจุบัน
จำนวนผู้เข้าชม 1197

ประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองจะนะ ตอนที่ ๔ ยุคประวัติศาสตร์ สมัย ร.๕  จนถึงปัจจุบัน
ตอนที่ ๔ จะนะสมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงปัจจุบัน
 เมื่อมีการปรับปรุงรูปแบบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล และยกเลิกระบบเจ้าเมือง เมืองจะนะจึงมีฐานะเป็นอำเภอเมืองจะนะ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบ้านนา และอำเภอจะนะ ตามลำดับ
อำเภอเมืองจะนะ 
พ.ศ.๒๔๓๙ มีการปรับปรุงรูปแบบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล จึงมีการปรับเปลี่ยนฐานะของเมืองจะนะจากเมืองขึ้นของเมืองสงขลามาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองสงขลา เรียกว่า “อำเภอเมืองจะนะ” โดยแต่งตั้งขุนศรีสารกรรมเป็นนายอำเภอเมืองจะนะ และย้ายที่ตั้งเมืองไปตั้งที่บ้านนาทวี ในขณะนั้นอำเภอเมืองจะนะมีบ้านเรือนจำนวน ๓,๓๑๒ หลังคาเรือน และประชากรรวม ๑๙,๐๕๖ คน (ชาย ๙,๕๖๘ คน หญิง ๙,๔๙๗ คน)
อำเภอบ้านนา
ในพ.ศ.๒๔๔๓ หลวงสาธรประสิทธิผลได้ย้ายที่ตั้งเมืองจะนะไปตั้งที่บ้านนา ในครั้งนั้นได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอเมืองจะนะเป็น “อำเภอบ้านนา”
อำเภอจะนะ
พ.ศ.๒๕๖๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เปลี่ยนชื่ออำเภอบ้านนาเป็น “อำเภอจะนะ” เนื่องจากชื่ออำเภอบ้านนา เมืองสงขลา ซ้ำกันกับอำเภอบ้านนาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้เกิดความเข้าใจผิดและไม่สะดวกแก่ทางราชการ และหลังจากนี้อำเภอจะนะก็ตั้งอยู่ที่บ้านนามาจนกระทั่งปัจจุบัน โดยแบ่งการปกครองออกเป็น ๑๔ ตำบล คือ แค ตลิ่งชัน สะพานไม้แก่น สะกอม ขุนตัดหวาย คู ป่าชิง บ้านนา คลองเปียะ ท่าหมอไทร น้ำขาว จะโหนง นาหว้า และนาทับ 
-------------------------------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูลและกราฟฟิคโดย นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ  กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา